"บริจาคโลหิต...ช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์"


"บริจาคโลหิต...ช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์"
"บริจาคโลหิต...ช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์"

  • ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโลหิต (เลือด)

โลหิตหรือเลือด เป็นของเหลวสีแดงที่ไหลเวียนอยู่ภายในหลอดเลือดทั่วร่างกาย โดยมีหัวใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือด อวัยวะสำคัญของร่างกายที่ทำหน้าที่สร้างเม็ดเลือด ได้แก่ ไขกระดูก เช่น กระดูกหน้าอก กระดูกแขน กระดูกซี่โครง กระดูกเชิงกราน กระดูกไขสันหลัง เป็นต้น ในร่างกายมนุษย์ (ผู้ใหญ่) จะมีเลือดประมาณ 4,000 - 5,000 ซี.ซี. หรือ ปริมาณตามน้ำหนักของแต่ละคน คิดโดยประมาณคือ 80 ซี.ซี. ต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม

 

  • เม็ดเลือดที่สร้างจากไขกระดูก มี 3 ชนิด

1. เม็ดเลือดแดง

2. เม็ดเลือดขาว

3. เกล็ดเลือด

 

  • เลือดแบ่งได้ 2 ส่วน คือ

1. ส่วนของเม็ดเลือด มีประมาณ 45 เปอร์เซนต์ ของเลือดทั้งหมด

เม็ดโลหิตแดง มีหน้าที่ในการลำเลียงอ๊อกซิเจนไปให้เซลส์อวัยวะต่าง ๆ ใช้สันดาบ อาหารเป็นพลังงาน อายุการทำงานของเม็ดเลือดแดง ประมาณ 120 วัน

เม็ดเลือดขาว มีหน้าที่ป้องกันและทำลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย

เกล็ดเลือด มีหน้าที่ช่วยทำให้โลหิตแข็งตัว ตรงจุดที่มีการฉีดขาดของหลอดเลือด

2. ส่วนพลาสม่า (Plasma) เป็นส่วนของเหลวของเลือดที่ทำให้เม็ดเลือดลอยตัว มีลักษณะเป็นน้ำเหลืองมีอยู่ประมาณ 55 เปอร์เซนต์ ของเลือดทั้งหมดในร่างกาย

หน้าที่ของพลาสม่า

- ควบคุมความดัน และปริมาตรของเลือด

- ป้องกันเลือดออก

- เป็นภูมิคุ้มกันโรคติดต่อที่จะเข้าสู่ร่างกาย

ส่วนพลาสม่าประกอบด้วย

1. ส่วนน้ำ ประมาณ 92 เปอร์เซนต์

2. ส่วนโปรตีน มีประมาณ 8 เปอร์เซนต์ โปรตีนส่วนนี้จะมีความสำคัญคือ

2.1 แอลบูมิน มีหน้าที่รักษาความสมดุลของน้ำในหลอดเลือด และเนื้อเยื่อ

2.2 อินมูโนโกลบูลิน มีหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันโรคติดต่อต่าง ๆ ที่จะเข้าสู่ร่างกาย

 

  • ประภทของเลือด

เลือดของมนุษย์สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ดังนี้

1. หมู่โลหิตระบบ ABO

2. หมู่โลหิตระบบ Rh
 

1. หมู่เลือดระบบ ABO

หมู่เลือดเริ่มค้นพบใน คศ. 1900 โดย Karl Landsteiner พบหมู่โลหิต A, B, และ O ส่วนหมู่โลหิต AB พบโดย Von Decastello และ Sturli ในปี คศ. 1902

สถิติหมู่เลือด ABO ของคนไทย มีดังนี้

หมู่เลือด A 21.1 %
หมู่เลือด B 34.0 %
หมู่เลือด O 37.6 %
หมู่เลือด AB 7.3 %

2. หมู่เลือด ระบบ Rh

ปี คศ. 1939 Levine และ Stetson รายงานการค้นพบหมู่โลหิต ระบบ Rh ประกอบด้วยหมู่โลหิต 2 ชนิดคือ

2.1 หมู่เลือด ระบบ Rh บวก พบในคนไทยประมาณ 99.7 %

2.2 หมู่เลือด ระบบ Rh ลบ พบในคนไทยประมาณ 0.3 % หรือใน 100 คน จะพบเพียง 3 คนเท่านั้น

 

  • การถ่ายทอดหมู่เลือด ระบบ ABO 

หมู่ลือดของพ่อ

หมู่ลือดของแม่

หมู่ลือดของลูกที่อาจจะเป็นไปได้

O O O
O A O,A
0 B O,B
O AB A,B
A A A,O
A B O,A,B,AB
A AB A,B,AB
B B B,O
B AB A,B,AB
AB AB A,B,AB

 

  • การบริจาคโลหิต

- ปกติแล้วมนุษย์จะมีเลือดอยู่ประมาณ 4,000 - 5,000 ซี.ซี. และการบริจาคเลือดแต่ละครั้งจะบริจาคเพียง 300 

- 400 ซี.ซี. หรือ ประมาณ 6 - 7 % ของเลือดทั้งหมดในร่างกาย การบริจาคเลือดเท่ากับการกระตุ้นให้ไขกระดูกสร้างเม็ดโลหิตใหม่ ๆ ออกมาชดเชยให้มีระดับเท่าเดิม ภายใน 7 - 14 วัน

- การบริจาคเลือดสามารถบริจาคได้ทุก ๆ 3 เดือน ไม่ควรบริจาคก่อนครบกำหนด จะทำให้ร่างกายขาดเหล็ก อาจทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง

 

  • คุณสมบัติของผู้บริจาคโลหิต

- บริจาคได้ทั้งชาย และหญิง ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง

- อายุ 17 - 60 ปี

- น้ำหนัก 45 กิโลกรัม ขึ้นไป

- ฮีโมโกลบิน หญิงสูงกว่า 80% ชายกว่า 90% ของคนปกติ

- ความดันโลหิต ซีสโตริกไม่ต่ำกว่า 100 มม.ปรอท

- ไม่มีประวัติเป็นผู้เสพยาเสพติด (ชนิดฉีด)

- ต้องไม่เป็นโรคเอดส์, โรคไวรัสตับอักเสบ บี และซี

- ไม่เป็นบุคคลที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคเอดส์

- ไม่มีประวัติเป็นโรคมาเลเรียภายใน 3 ปี

- มีสุขภาพสมบูรณ์ ไม่เป็นโรคหัวใจ โรคปอด โรคไต และโรคติดต่ออื่น ๆ

 

  • ข้อควรปฎิบัติก่อนบริจาคโลหิต

- ควรนอนหลับพักผ่อนอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมง

- ไม่ควรอยู่ระหว่างรับประทานยา ประเภทปฏิชีวนะ และฉีดยา

- สตรีต้องไม่อยู่ในระหว่างมีรอบเดือน

- ควรรับประทานอาหารมาให้เรียบร้อย ก่อนมาบริจาคโลหิต แต่อาหารนั้นไม่ควรมีไขมันมาก

 

  • ขั้นตอนการบริจาคโลหิต

ขั้นตอนที่ 1 สำหรับผู้บริจาคเลือดครั้งแรก เขียนใบสมัครบริจาคเลือด

กรอกข้อความ ตามแบบใบสมัครให้ชัดเจน เช่น ชื่อ - นามสกุล, วัน เดือน ปี เกิด

สถานที่ทำงาน, สถานศึกษา, ที่อยู่ที่บ้าน เป็นต้น (กรอกข้อความตามแบบสอบ-

ถาม ลงในใบสมัครตามความเป็นจริง ลงนามผู้บริจาคโลหิต)

สำหรับผู้บริจาคเดิม ให้ยื่นบัตรประจำตัวผู้บริจาคโลหิตกับเจ้าหน้าที่ได้ทันที
 

ขั้นตอนที่ 2 ตรวจสอบความเข็มข้นของเลือด
 

ขั้นตอนที่ 3 บริจาคเลือด โดยเจ้าห้นาที่สภากาชาดไทยหรือนักเนคนิคการแพทย์

ทำหน้าที่เจาะเก็บเลือด ซึ่งเป็นผู้มีความชำนาญ และอุปกรณ์ในการเจาะเก็บเลือด

เป็นของใหม่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว และจะใช้เพียงครั้งเดียว แล้วทิ้งไม่นำมาใช้อีก

ขั้นตอนที่ 4 บริจาคเลือดเสร็จ จะมีการกินอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม เพื่อทดแทน

เลือดที่ร่างกายเสียไป

 

  •  ข้อควรปฎิบัติหลังการรับบริจาตโลหิต

- ควรนอนพักบนเตียงสักครู ห้ามลุกจากเตียงทันทีเพราะอาจทำให้เวียนศีรษะเป็นลมได้

- ควรรับประทานอาหารว่าง และเครื่องดื่มที่จัดเตรียมไว้

- หากมีอาการวิงเวียนศีรษะ หรือรู้สึกจะเป็นลม ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ทันที หรือนอนลง เพื่อป้องกันการล้มศีรษะฟาดพื้น

 

  • บัตรประจำตัวผู้บริจาคโลหิต

ผู้บริจาคโลหิตจะได้รับบัตรประจำตัวผู้บริจาคโลหิต ซึ่งภายในบัตรจะระบุรายละเอียด ดังนี้

- ชื่อ-นามสกุล พร้อมด้วยที่อยู่ของผู้บริจาคโลหิต

- เลขประจำตัวผู้บริจาคโลหิต

- หมู่โลหิต ระบบ เอบีโอ (ABO) และระบบ อาร์เอช (Rh)

- วัน เดือน ปี และจำนวนครั้งการบริจาคโลหิต

บัตรประจำตัวสีเหลือง คือบัตรประจำตัวผู้บริจาคโลหิต หมู่ A

บัตรประจำตัวสีชมพู คือบัตรประจำตัวผู้บริจาคโลหิต หมู่ B

บัตรประจำตัวสีฟ้า คือบัตรประจำตัวผู้บริจาคโลหิต หมู่ O

บัตรประจำตัวสีขาว คือบัตรประจำตัวผู้บริจาคโลหิต หมู่ AB

 

  • ผลที่ได้รับจากการบริจาตโลหิต

- ความภาคภูมิใจที่ได้เสียสละโลหิตในร่างกาย เพื่อเป็นสาธารณะประโยชน์ต่อผู้อื่น

- รับทราบหมู่โลหิตของตนเอง

- ได้รับการตรวจสุขภาพ ทุก 3 เดือน (กรณีมาบริจาคโลหิต)

- ได้รับการตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ไวรัสตับอักเสบ ซี เชื้อไวรัสเอดส์ และเชื้อซิฟิลิส (กามโรค)

 

  • การตรวจคุณภาพโลหิต

โลหิตที่ได้รับจากการบริจาคโลหิต ก่อนนำไปให้กับผู้ป่วยเพื่อการรักษาทุกหน่วยต้องผ่านการตรวจจากห้องปฏิบัติการตามลำดับขั้นตอน เพื่อผู้ป่วยจะได้รับโลหิตที่ปลอดภัยตามมาตรฐาน การตรวจโลหิตทางห้องปฏิบัติการจะกระทำการตรวจดังนี้ คือ

1. ตรวจหาหมู่โลหิต ระบบ เอบีโอ และระบบ อาร์เอช

2. ตรวจหาเชื้อไวรัสเอดส์ (Anti HIV และ HIV Ag)

3. ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี (ABs Ag)

4. ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี (Anti HBC)

5. ซิฟิลิส (VDRL)

6. ทดสอบความเข้ากันได้ของโลหิตครบทุกขั้นตอนตามมาตรฐาน

การบริจาคโลหิตนับว่าเป็นกุศลอันสูงสุดเพราะเป็นการให้ส่วนหนึ่งของชีวิตไปช่วยต่อชีวิตให้ผู้อื่น ผู้ให้ย่อมเกิดความปิติ บังเกิดความสุขใจจากผลบุญของการให้ ขณะนี้โลหิตที่ได้รับการบริจาคยังขาดแคลนไม่เพียงพอ ท่านผู้บริจาคโลหิตจึงนับว่าเป็นส่วนสำคัญในการบริจาคโลหิต เพื่อสำรองไว้ใช้กับเพื่อนมนุษย์ผู้เจ็บป่วย ท่านที่สนใจติดต่อขอรับบริจาคโลหิตได้ที่ โรงพยาลบาลทุกแห่ง และ หน่วยรับบริจาคโลหิตของสภากาชาดไทย 

 

ขอเชิญชวนทุกท่านไปบริจาคโลหิตกันมากๆนะค่ะ 

เป็นการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

อิ่มอก อิ่มใจ อิ่มบุญค่ะ


หมายเลขบันทึก: 458115เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2011 19:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 10:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ชอบบริจาคโลหิตเอาบุญเหมือนกันครับ

ได้บุญฟรีๆ 

ค่ะ ได้บุญ อิ่มอก อิ่มใจค่ะ

ได้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท