มองจากปลายไปหาต้น กับ พระสมเด็จกรุวัดพระแก้ว


แล้วคุณหล่ะ คิดว่า พระพิมพ์ “กรุวัดพระแก้ว” ผู้สร้างเป็นใครกัน ?

พระเนื้อผงรูปทรงสี่เหลี่ยมที่เป็นประเด็นถกเถียงกันในหมู่ผู้นิยมสะสมพระเครื่องกันอย่างขยายวงกว้างในปัจจุบันคงไม่พ้น “ พระสมเด็จพรุวัดพระแก้ว” บ้างก็เรียก “พระกรุวังหน้า”  หรือ ตามแต่จะเรียกกันไปนะครับ  ความชัดเจนในเรื่องประวัติศาสตร์ การสร้าง  บันทึก  จารึก  พงศาวดาร  หรือหลักฐานอะไรก็ตามแต่ ที่จะยืนยันแน่แท้ของพระกรุนี้ เท่าที่ เก๋าสยาม ลองสืบค้นข้อมูลดู ก็ยังไม่เจอแบบ โดนๆ ซักทีครับ

แต่... พระพิมพ์เหล่านี้มีให้เราพบเห็นจริง ๆ เอาเป็นว่าตอนนี้ขอพักรบเรื่อง พระแท้ พระเก๊ กันก่อน  แนวทางการสืบสวนเรื่องนี้ถ้าเราหาจากต้นเหตุยังไม่เจอ เราลองมองจากปลายเหตุย้อนไปหาต้นเหตุกันดูมั๊ยครับ..ลองดูครับ 

พระพิมพ์ในสกุล “กรุวัดพระแก้ว” นี้  มีหลากหลายพิมพ์  พิมพ์หนึ่งที่ดูน่าสนใจไม่น้อยเลยคือ พิมพ์พระสมเด็จทรงหลังช้างข้างฉัตร ( ชื่อพิมพ์ เก๋าสยาม ตั้งเองนะครับอย่าถือเป็นมาตรฐาน)  ตามรูปนี้เลยครับ

ตามข้อมูลของกลุ่มผู้นิยมสะสมพระเครื่องกรุนี้เชื่อกันว่า สร้างในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของในหลวงรัชกาลที่ ๕ หลังจากสร้างเสร็จแล้วมีการแจกจ่ายให้ข้าราชบริพาร ขุนน้ำ ขุนนางทั้งหลาย ก่อนนำบรรจุกรุในวัดพระแก้ว ความพิเศษของพระพิมพ์ในรูปนี้เท่าที่สังเกตเห็น  การแกะพิมพ์พระทำอย่างประณีตบรรจง  มีมิติ เหลื่อมล้ำ ต่ำ สูง มีการแสดงฝีมือในเชิงช่าง ไม่ว่าจะเป็นงานแกะ งานลงรัก ปิดทอง ล่องชาด  มวลสารนอกจากเป็นผงที่เห็นแล้วยังมีส่วนผสมของผงตะไบทองคำรวมอยู่ด้วยเป็นจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว

เรื่องราวในองค์พระยิ่งน่าสนใจใหญ่ รูปช้างยืนเด่นเป็นสง่า องค์พระประทับนั่งบนอาสนะบัลลังก์  เคียงข้างด้วยพระมหาเศวตฉัตร (ฉัตร 9 ชั้น ) ทั้งสองฝั่ง สัญลักษณ์เหล่านี้เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระเจ้าแผ่นดินทั้งสิ้น  แนวคิด หรือ คตินิยม แบบพุทธราชา และ เทวราชา มีมาตั้งแต่สมัยขอม ดูอย่างพระเจ้าชัยวรมันนั่นเทียว พระองค์ทรงสร้างพระพุทธรูปปางนาคปรกที่มีลักษณะงดงามส่งแจกจ่ายไปตามหัวเมืองน้อยใหญ่ ที่เรารู้จักกันในนาม ศิลปะแบบบายน  และที่สำคัญ พระพุทธรูปเหล่านี้ทรงให้ช่างหล่อพระเศียรให้มีใบหน้าละม้ายคล้ายพระองค์มากที่สุด เป็นการใช้ศาสนานำการเมืองอย่างน่าทึ่ง คือ เจ้าเมืองไหน หรือ ชาวเมืองใด เข้าไปกราบไหว้พระพุทธรูปเหล่านี้ก็ต้องพบเจอ “ใบหน้า” ของพระองค์อยู่ร่ำไป  หรือ อีกนัยหนึ่งเป็นการแสดงความเคารพในพระพุทธเจ้าอย่างสูงสุดประดุจ “พระราชา” เฉกเช่นเดียวกับ องค์พระพุทธรูปที่ประทับนั่งบนอาสนะบัลลังก์ในพระพิมพ์นี้

ส่วนรูปช้างนั่นเล่า ดูราวกับเป็น พญาช้างเผือก ที่มีปรากฏอยู่ในธงช้างบนพื้นแดง อันสยามประเทศ ใช้เป็นธงชาติมาแต่สมัยรัชกาลที่ 4   เป็นสัญลักษณ์แทน ชาติ หรือ พระราชอาณาจักรสยาม  พระมหาเศวตฉัตรทั้งสองก็เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระมหากษัตริย์ผู้ผ่านพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณี  

พระพิมพ์นี้ ผู้สร้างเป็นผู้ใดกันหนอ

ใคร่กันเล่า,,จักกล้าหาญชาญชัยทำพิมพ์พระที่มีเครื่องสูงของพระเจ้าแผ่นดิน และ พระราชอาณาจักรสยาม เป็นสัญลักษณ์

ใครกัน..ที่มีช่างฝีมือดี ทั้งช่างแกะสลัก  ช่างลงรัก ปิดทอง ล่องชาด  ช่างปูนปั้น ฯลฯ

แล้วใครกัน..ที่จะนำทองคำแท้ๆ...มาตะไบจนเป็นผงแล้วผสมลงในองค์พระได้มากมายอย่างนี้

แล้วคุณหล่ะ คิดว่า พระพิมพ์ “กรุวัดพระแก้ว” ผู้สร้างเป็นใครกัน ?

สวัสดีครับ

หมายเลขบันทึก: 458063เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2011 14:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 16:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ไม่รู้นะว่าใครจะมีหรือไม่มี แต่ที่แน่ๆผมคนนี้นี่แหละที่แขวนสมเด็จวัดพระแก้ว กรุวังหน้า จนทุกวันนี้นี่แหละ @ขอนแก่น ณ จ๊ะ.!!!

ผมมีแต่สมเด็จเนื้อเป็นสีลายคล้ายๆสีชาด(สายรุ้ง) ได้มาจากลุงคนหนึ่ง แกเคยเปิดร้านอาหารที่คนใหญ่คนโตมาต้องแวะอยู่ทางอีสาน คนในพระราชวังให้มา มีผงตะไบทองคำผสมอยู่ด้วยครับ

ผมอยากเห็นพระสมเด็จไกเซอร์หลังครุฑ กรุวัดพระแก้วบ้างว่าเหมือนของผมหรือป่าว ผมไม่แน่ใจที่มาของพระสมเด็จไกเซอร์หลังครุฑ

สวัสดีครับท่านเก๋าสยาม ได้ติดตามผลงานของท่านมาหลายครั้ง หลายบทความแล้วครับ อ่่านแล้วได้ความรู้มากมาย ขอขอบพระคุณท่านที่กรุณาเผยแพร่ อนุรักษ์ และรักษามรดกของชาติไว้อย่างดีเยี่ยม ผมอีกคนหนึ่งที่นิยมสะสมพระเครื่องกรุวัดพระแก้ว ได้มาหลายทิศหลายทาง และมีอยู่องค์หนึ่งครับที่เหมือนกับภาพที่ท่านลงมา “พระสมเด็จทรงหลังช้าง ข้างฉัตร” เสียดายไม่ได้ลงรูปภาพ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท