เทคนิคการอ่านหนังสือให้เข้าใจ


การอ่านหนังสือให้เข้าใจ

เทคนิคการอ่านหนังสือให้เข้าใจ

อ่านแล้วเข้าใจ เข้าใจแล้วจด จดแล้วจำ จำแล้วทำให้ได้

  

 

 

            นี่เป็นปรัชญาที่ใช้กันมานาน บางคนก็อาจจะรู้อยู่แล้ว ในการที่เราจะจำเนื้อหาของเรื่องที่เรียนไปได้แม่น มันต้องเกิดจากความเข้าใจในเนื้อหานั้นก่อน ไม่ใช่สักแต่ว่าจำ จำอย่างเดียว จำแบบไม่เข้าใจอะไรเลย การจำแบบนี้เป็นการจดจำระยะสั้น และไม่สามารถนำไปใช้ในการทำข้อสอบแบบวิเคราะห์ได้ เพราะในขั้นตอนการจำ ไม่มีกระบวนการคิดวิเคราะห์ถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ทำให้เป็นไป เลยทำให้ไม่รู้หลักเหตุและผล ว่าทำไมถึงเป็นอย่างนั้น หากข้อสอบออกมาไม่ตรงกับที่จำไป ก็จบเห่น่ะสิ 

 

 การเขียนหรือการจดโน้ต

 

เป็นวิธีที่จะทำให้เราจำได้ง่ายขึ้น ซึ่งก่อนเขียนเราต้องเข้าใจอยู่แล้วว่าจะเขียนอะไรลงไป อย่าลอกตามหนังสือไปทั้งดุ้น และอย่าจดแบบให้มันเสร็จ ๆ ไป หรือจดแบบให้มีตามเพื่อน (เป็นกระแสนิยม) เพราะมันจะไม่ได้ผลอะไรเลย ควรจะสรุปประมวลออกมาเป็นเนื้อความ ตามที่เราเข้าใจ ซึ่งต้องเข้าใจอย่างถูกต้องด้วย อาจตรวจสอบโดยการผลัดกันตอบคำถามกับเพื่อน หรือถามครูอาจารย์ ดังนั้นอย่าขี้เกียจเขียนเลย เขียนเอง อ่านเอง ผลที่ได้ก็อยู่ที่ตัวเองทั้งนั้นแหละ

 

 คราวนี้ก็มาถึงการท่องจำ

 

            ส่วนใหญ่เมื่อเรารู้เรื่อง เราก็จะจำบางส่วนของเนื้อหาได้แล้ว นอกจากบางวิชา เช่น ชีวะฯ สังคม ที่เป็นวิชาท่องจำซะส่วนใหญ่ อาจต้องมีการมาท่องจำเพิ่มเติม การอ่านออกเสียงดัง ๆ ก็ช่วยให้จำดีขึ้น แต่ไม่ควรจะรบกวนผู้อื่น (มิฉะนั้นอาจจะได้รับสิ่งไม่พึงปรารถนา) การจำศัพท์ภาษาอังกฤษ อาจใช้วิธีเขียนใส่กระดาษแล้วแปะตามข้างฝาที่เรามองเห็นหรือผ่านตาเป็นประจำ เช่น ฝาข้างที่นอน ประตูห้องสุขา (ที่บ้านของตัวเองนะ) ตามที่ที่เราต้องเห็นทุกวัน อ้อ... ประตูของตู้เย็นก็ดีนะ เพราะเปิดออกจะบ่อย ก็หันมาเหลียวแลศัพท์ที่ตัวเองแปะไว้บ้าง เห็นบ่อย ๆ เดี๋ยวก็เข้าสมอง

 

 เวลาที่ดีสำหรับการอ่าน

 

            เคยมีคนบอกว่าเวลาที่ดีที่สุด คือ ตอนเช้า เพราะร่างกายและสมองของเราได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ มีการจัดระเบียบเรียบร้อย เพื่อให้พร้อมกับการใส่ข้อมูลใหม่ ๆ เข้าไป อันนี้เป็นเรื่องจริง แต่สำหรับคนที่ตื่นเช้าไม่ไหว เวลาดึก ๆ ที่เงียบ ๆ ก็ได้ เพราะความเงียบทำให้สมองเราสามารถคิดสิ่งต่างๆ ได้ดี แต่อาจจะไม่เท่าตอนเช้า เพราะสมองเราต้องเหนื่อยจากการเรียนมาแล้วทั้งวัน บางคนยังมีการเรียนพิเศษตอนเย็นอีก การอ่านหนังสือตอนกลางคืน ควรจะอ่านเท่าที่ร่างกายรับได้ พอเริ่มง่วงสัก 5 ทุ่มก็ควรเข้านอน แล้วก็ตั้งนาฬิกาปลุกตอนตี 3 ตี 4 ตี 5 แนะนำให้ตั้งนาฬิกาปลุกก่อนเวลาที่ต้องตื่นไปสักครึ่งชั่วโมง เพื่อที่เราจะได้มีเวลาเกลือกกลิ้งอยู่บนที่นอนก่อนสักพัก ถึงค่อยลุกไปล้างหน้าล้างตา มานั่งอ่าน ขอย้ำว่าควรทำให้ตัวเองตื่นเต็มที่ก่อนจะอ่าน เพราะไม่งั้นเดี๋ยวก็หลับคาหนังสืออีกจนได้

 

 เวลาที่ไม่เหมาะสำหรับการอ่านหนังสือเรียนเลย


            คือ ช่วงบ่ายหลังจากกินข้าวเสร็จอิ่ม ๆ เคยได้ยินสุภาษิตไทยที่ว่า... พอหนังท้องตึง หนังตาก็หย่อน หรือเปล่า เพราะช่วงบ่ายจะเป็นช่วงที่คนเรามีความง่วงนอน อ่านไปก็หลับ ยิ่งหนังสือเรียนด้วย และไม่ควรนอนอ่านหนังสือ โดยเฉพาะบนเตียง ขอบอกว่าหลับแน่ ๆ ไม่ใช่อ่านนิยายนี่ มันจะน่าติดตาม จนอยากอ่านให้จบ

 

            “การอ่านหนังสือ ควรจะอ่านในสถานที่ที่สงบเงียบ และสมองของเราต้องพร้อมที่จะรับเรื่องใหม่ ๆ นั่นแหละการอ่านถึงจะได้ผลสูงสุด”

หมายเลขบันทึก: 457884เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2011 22:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

การอ่านหนังสือควรอ่านอย่างตั้งใจ โดยไม่ใช่การอ่านไปเรื่อยๆ หรืออ่านทุกๆ บรรทัด ควรกวาดสายตาเร็วๆเพื่ออ่านจับใจความสำคัญ จับเฉพาะประเด็นที่สำคัญๆ และเมื่ออ่านจบควรทำสรุปย่อในแบบฉบับที่ตนเองรู้และเข้าใจ

จะลองเอามาใช้กะตัวเองนะคร้า ^^

เคยทำจ้า แต่ไม่รอดซักที 55

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท