ชวนไปทำนา..กับบัวชมพู Goวันดำนา-ปลูกข้าว


ชีวิตชาวนา หลังสู้ฟ้า หน้าสู้ติด ก็ตอนนี้ละค่ะ และในวิถีชีวิตเราก็กล้าสู้ฟ้าสู้ดินได้เช่นกันค่ะ

วันดำนา-ปลูกข้าว

 

        วันนี้นับว่าเป็นวันสำคัญอีกวันสำหรับดิฉัน เป็นวันเริ่มต้นปลูกข้าว สำหรับแปลงนาทุกแปลงที่ทำอยู่ ดิฉันทำนาทั้งหมดประมาณ 35 ไร่ สำหรับการดำนา-ปลูกข้าวดิฉันจ้างเหมาปลูก ประมาณ 30 ไร่ และปลูกเองประมาณ 5 ไร่ เนื่องจากเรามีแรงงานน้อยถ้าปลูกเองทั้งหมดก็ไม่ใหว และนี่ก็เป็นปัญหาของชาวนายุคนี้เช่นกันค่ะ 

 

         สมัยบรรพบุรุษ เช่น คุณตาของดิฉัน ท่านมีลูกทั้งหมด 8 คน พอถึงฤดูทำนา ก็ใช้แรงงานลูกๆ ในการช่วยกันทำนา ไม่ต้องจ้าง

 

         ในยุคคุณแม่ ท่านมีลูก 2 คน และทั้งสองคนก็ไปเรียนหนังสือในเมืองหลวง ตลอดระยะเวลาที่ทำนา คุณแม่ท่านจ้างมาโดยตลอดเช่นกันค่ะ แต่ในยุคนั้นคนที่รับจ้าง ที่เป็นแรงงานยังมีอยู่มาก และมีประสิทธิภาพมากด้วย คือทำงานเป็น

 

          พอมาถึงยุคของดิฉัน ไม่มีลูกค่ะ (ฮ่า ๆๆๆ) คราวนี้แรงงานหายหมดเลยต้องเปลี่ยนมาจ้างเกือบทั้งหมด และแรงงานที่จ้างส่วนใหญ่เป็นคนต่างด้าว เพื่อนบ้านของไทยเรานี่แหละค่ะ ซึ่งถือว่าเป็นแรงงานที่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพเท่าไหร่

 

           ยุคสมัยและสังคมเปลี่ยนไป ต่อไปในเวลาอันสั้น คงต้องพึ่งพาเทคโนโลยีการเกษตร เข้ามาช่วยทำงานในท้องทุ่งมากยิ่งขึ้น ไม่อย่างนั้นเราคงไม่สามารถรักษาท้องทุ่งของเราไว้ได้

 

            มาติดตามการดำนา-ปลูกข้าว กันเลยนะค่ะ

 

พื้นดินนา ที่เราไถคลาดไว้เตรียมปลูกข้าวพร้อมแล้วสำหรับการปลูกต้นข้าว

 

เริ่มจาก การเตรียมต้นกล้าใส่ตะกร้า ห่ามไปโยนในนาเป็นจุดๆ เพื่อที่คนปลูกจะได้หยิบไปปลูกได้โดยสะดวก

โยนต้นกล้าทั่วพื้นนา

คนปลูกสามารถหยิบต้นกล้าได้ง่าย

ระยะของการปลูก เน้นให้ปลูกห่างไว้ก่อน เพราะจากประสบการณ์ตรง การปลูกห่างไว้ก่อน จะทำให้ต้นข้าวแตกกอได้ดี กอใหญ่ รวงข้าวเยอะ และ ผลผลิตเยอะตามมา

  

 

ปลูกระยะห่างใช้ได้ แต่เหมือนงูเลยนะค่ะ

 

 

 

ปลูกเสร็จแล้วบางส่วน

 

ในวันที่ปลูกฝนตกบ้าง แดดออกบ้าง อากาศค่อนข้างแปรปรวน

  

ความสวยงามแห่งท้องทุ่ง เมฆสวย ฟ้างาม ขุนเขาตะหง่าน ข้าวน้อยสีใบตอง

 

ความงดงามแห่งท้องทุ่ง..กำลังเริ่มขึ้นแล้ว

 

       สำหรับฤดูการทำนาปีนี้ ถึงแม้ว่าเราจะดำนา-ปลูกข้าวเสร็จแล้ว นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของฤดูทำนาเท่านั้นค่ะ นับจากนี้ไปอีก 4 เดือน ที่เราต้องหมั่นดูแลต้นข้าวของเรา ตั้งแต่ปัญหาเรื่องศัตรูชนิดต่างๆ หญ้าที่ขึ้นตามคันที่เราต้องขยันหมั่นตัดหญ้าอยู่เสมอ ปริมาณน้ำในนา ซึ่งช่วงนี้ฝนตกเยอะมากปริมาณน้ำในนาก็เยอะตาม ต้องคอยติดตามสถานการณ์ในแปลงนาตลอด  เรามาติดตามการเจริญเติบโตของต้นข้าวกันต่อไปนะค่ะ ขอขอบคุณสมาชิกทุกท่านที่ติดตามค่ะ

                                                                    โปรดติดตามตอนต่อไปค่ะ

หมายเลขบันทึก: 457379เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2011 01:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 15:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอฝากวิธีการทำนา "หยอดหล่น" ของผมไว้พิจารณาด้วยนะครับ มีบันทึกไว้ใน gtk ด้วยครับ

อ้าว..ลืมโฆษณาสรรพคุณว่า การทำนาแบบหยอดหล่น รวดเร็ว เหนื่อยน้อย ไม่ต้องดำนา แต่ได้ข้าวเป็นแถวดี ข้าวแข็งแรง เพราะไม่ช้ำจากการถอน การดำ ทำให้โตเร็วกว่า และ ต้านทานโรคได้ดีกว่า ข้อเสียมีอยู่อย่างเดียวคือ ต้องโตแข่งกับหญ้า ...ซึ่งผมก็มีวิธีกำจัดหญ้าในขั้นเตรียนดินเสนอไว้แล้วด้วย ...อยากเสนอให้ท่านบัวชมพูลองทำดูสักงาน ถ้าสำเร็จมันจะเป็นการปฏิวัติการทำนาเลยนะครับ ....เชียงดาว เคยมาครับ มีเพื่อนรักอยู่ที่นี่ วันหลังจะแวะไปเยี่ยมเพื่อนแล้วมาเยี่ยมนาของท่านบัวชมพูด้วยนะครับ

...คุณบัวชมพู.....กลับมาจากทำบุญ มีกำลังภายใน เขียนบล๊อคซะหลายตอนแบบต่อเนื่อง....

ได้ตามอ่านอย่างรวดเร็ว.......ชื่นใจตามค่ะ....

รบกวนเรียนถามนิดหนึ่ง....

ว่า....เด็กๆที่มาช่วยนั่นลูกศิษย์ หรือ แฟนคลับ คะ?

^_____^

สวัสดีค่ะ Ico48 คนถางทาง

ขอบคุณค่ะสำหรับคำแนะนำ วิธีการทำนาแบบ "หย่อนหล่น" จะลองศึกษาดูนะค่ะ พอดีเป็นชาวนามือใหม่นะค่ะ ยังต้องเรียนรู้อีกเยอะ ก็อาศัยผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์ เขียนบันทึกถ่ายทอดความรู้ไว้ และได้เข้าไปศึกษา และนำมาทดลองปฏิบัติ จริงๆการเขียนบันทึกไว้ส่วนหนึ่งก็เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมชาวนาแถวบ้าน และอีกส่วนหนึ่งเพื่อเปิดช่องไว้สำหรับผู้รู้เข้ามาแนะนำ อย่างเช่น คนถางทาง เป็นต้นค่ะ หวังว่าคงมีโอกาสได้ต้อนรับ คนถางทางนะค่ะ เรียนเชิญที่เถียงนาค่ะ แวะดื่มน้ำเย็นๆ นะค่ะ  ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ  คุณแจ๋ว  Ico48

        ขอบคุณค่ะคุณแจ๋วที่ติดตามมาให้กำลังใจกันตลอด พอดีรีบเขียนเพราะอยากอัพเดทภาพปัจจุบันให้มากที่สุดค่ะ  ต่อไปเป็นตอน "ข้าวเขียว" ค่ะ  ซึ่งปัจจุบันทุ่งนาเป็นอย่างที่เห็นในภาพจริงๆ ค่ะ 

        เด็กๆ ที่เห็นในภาพ และช่วยเหลืองานมาโดยตลอด เป็นหลานทั้งหมดค่ะ เด็กทั้งหลายเป็นลูกเทวดาของพ่อแม่ค่ะ คือ พ่อแม่ไม่กล้าใช้งาน ดิฉันจึงอาสาเอามาใช้งานแทน ทุกคนต้องทำงานทุกอย่างค่ะ ทั้งกลางท้องทุ่ง และ งานในสวน ไม่มีค่าจ้างเป็นเงินค่ะ แต่ทุกคนทำด้วยใจ และยอมทำงานให้ค่ะ เพื่อฝึกฝนตนให้เป็นคนรู้ทุกข์ รู้ลำบาก จะได้ตั้งใจเรียนหนังสือ (เพราะกลัวลำบาก) และที่สำคัญดิฉันจะสอนให้เค้าทำงานเป็นเพราะต่อไปตั้งใจให้สืบทอดกิจการค่ะ และซึมซับความเป็นลูกหลานชาวนา ถ้าไม่ฝึกตอนนี้ก็คงไม่มีโอกาสได้ฝึก อีกไม่เกิน 2 ปี ก็เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยในเมืองกันหมดค่ะและต่อไปถ้าเรียนจบ ไม่อยากให้เค้าเป็นมนุษย์เงินเดือนค่ะ อยากให้เป็นเจ้าของกิจการ อะไรก็ได้ที่ซื่อสัตย์สุจริต  และอาชีพเกษตรกร ก็เป็นอาชีพหนึ่งที่น่าภาคภูมิใจค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท