หลัก10ประการของการเรียนรู้สู่ความสำเร็จ


ภาวะผู้นำ

หลัก 10 ประการของการเรียนรู้สู่ความสำเร็จ

หลัก 10 ประการของการเรียนรู้สู่ความสำเร็จ
(ประกอบ คุปรัตน์) ได้กล่าวไว้ว่า

1. เป้นเต่าที่ขยัน

เป็นเต่าที่ขยัน ยังดีกว่าเป็นกระต่ายที่ขี้เกียจ

นั่นคือ ต้องยอมเสียบางอย่าง เพื่อให้ได้บางอย่าง นอกจากนี้คือการให้เวลาตั้งแต่เริ่มแรกอย่างใส่ใจนั้น ให้ทำอย่างต่อเนื่อง ศึกษาอย่างเป็นระบบ มีการบันทึกสิ่งที่ได้ค้นคว้ามา ว่าได้มาจากที่ใด มีทัศนะต่อเรื่องนั้นๆอย่างไรคนที่ประสบความสำเร็จในการเรียน อาจไม่ใช่คนที่ฉลาดที่สุด เก่งที่สุด แต่คือคนที่ขยันทำการบ้าน ร่วมกิจกรรมต่างๆ ตามที่ได้มีการวางเกณฑ์เอาไว้

2. เป็นเหยี่ยวที่มีสายตากว้างไกล

วิสัยทัศน์ (Vision) เป็นเรื่องสำคัญสำหรับการเรียนในระดับสูง และเป็นความสำคัญสำหรับการทำงาน และเป็นหัวหน้าคน

การเรียนรู้ในทางบริหารการศึกษานั้น ความรู้รอบและรู้กว้าง เป็นเรื่องสำคัญ คนที่จะประสบความสำเร็จนั้น จะสนใจในเรื่องใดก็ตาม ต้องหาทางเรียนรู้เข้าใจในสิ่งนั้นอย่างกว้างขวางอ่านให้มาก ไปศึกษาดูดัวยตนเองหากทำได้ การมีสายตาที่กว้างไกลนั้น ทุกคนมีได้ ไปพบเห็น ไปซักถาม หาทางเรียนรู้ เข้าร่วมสัมนา และอื่นๆ และ แม้แต่การต้องได้เดินทางไปให้ได้พบเห็นในสิ่งเหล่านั้น ได้สัมผัสด้วยตนเอง ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ สร้างฐานเพื่อนและเครือข่ายที่กว้างขวาง ที่เราจะได้ใช้เพื่อการเรียนรู้ที่ยาวไกลต่อไป

3. เป็นนกที่ออกหากินก่อนใคร

Early Birds นกที่ออกบินหากินก่อน ก็จะได้หนอนมากินก่อน

การวิ่งร้อยเมตร สำคัญตั้งแต่การออก Start เผลอช้ากว่าเพียงวินาทีเดียว ก็อาจทำให้พ่ายแพ้ได้ ในชีวิตการเรียนก็เป็นเรื่องที่สำคัญ


4. สู่การวิเคราะห์และสังเคราะห์

การวิเคราะห์ (Analysis) หมายถึงนำสิ่งต่างๆ มาแยกแยะ การสังเคราะห์ (Synthesis) คือการนำข้อมูลความรู้หลายๆด้าน หลายๆสิ่งมาทำความเข้าใจอย่างให้เห็นภาพรวม
การที่ผู้สอนต้องการให้ผู้เรียนแสดงความสามารถด้านการวิเคราะห์และสั้งเคราะห์นั้น คือต้องให้ผ่านการซักถามจากคนจำนวนมาก และเราสามารถตอบได้ในทุกแง่มุม
การจะวิเคราะห์ให้ได้ดีนั้น คือการต้องเป็นคนมีความเป็นตัวของตัวเองสูง อ่านมามาก ฟังมามาก แต่ไมใช่เพื่อเชื่อหรือตามอย่าง แต่เพื่อให้ได้ข้อมูลทีกว้างขวาง มีคนช่วยกันมองในหลายๆแง่มุม มองให้กว้างไกล แล้วเราต้องนำมาวิเคราะห์ด้วยตนเอง และเสนอแนววิเคราะห์อย่างสอดคล้อง

การวิเคราะห์ไม่ได้ดี ก็นำไปสู่การที่จะสังเคราะห์ที่ผิดพลาด และการตัดสินใจที่ผิดพลาด ไม่มีประสิทธิภาพ และนำความเสียหายร้ายแรงมาสู่ตนและองค์การได้

5. เปิดใจรับฟังข้อมูล (Feedback)

การเปิดใจรับฟัง ในทุกชั้นเรียนนั้น เรามักจะใช้วัฒนธรรมแบบไทยๆ คือ “ทีคุณผมไม่ว่า ทีของข้าฯ ใครอย่างมาโวย” นั้นคือเมื่อให้มีการนำเสนองาน และรับฟังความเห็นและการซักถามจากกลุ่ม ผู้เรียนมักไม่มีใครอยากให้ความเห็น ทำให้คนมองดูงานของเขาว่าไม่ดี

แต่ในโลกของความเป็นจริงไม่ได้เป็นอย่างนั้นการจัดทำแผนธุรกิจ (Business Plan) จำนวนมากที่ถูกปฏิเสธจากธนาคาร หรือแหล่งเงินกู้ ซึ่งทำให้เราต้องนำมาปรับปรุงหรือ ทำให้เรามีสถานะที่ดีขึ้นเป็นที่ยอมรับมากขึ้น จึงไปขอเหล่งเงินทุนนั้นๆใหม่

บางครั้งเราต้องขอบคุณคนที่เขาปฏิเสธเรา เพราะหากเราทำไปอย่างไม่รอบคอบ อาจนำไปสู่ความเสียหายทางธุรกิจอย่างใหญ่หลวง และยากที่จะแก้ไขในชีวิต ดังนั้นขอให้ฝึกไปตลอดชีวิต ให้มีความอดทนทางปัญญา (Intellectual Tolerance) ฟังเขาอย่างเปิดใจ ขอบคุณในสิ่งที่เขาเสนอให้

รับฟังแล้วนำไปปรับปรุงให้เกิดความรอบคอบ หรือรู้ว่าจะมีแผนตั้งรับ, แผนสอง, หรือ Plan B อย่างไร

6. สู่สหวิทยาการ (Interdisciplinary)

ในโลกปัจจุยันคิดทำอะไรอย่างโดดเดี่ยวด้วยความรู้เฉพาะด้านที่เรามีนั้น จะประสบผลสำเร็จได้ยาก
ยกตัวอย่างคนที่จะทำเรื่อง “ICT เพื่อการศึกษา” หรือ “ICT เพื่อโรงเรียนขนาดเล็ก” นั้นโดยหัวเรื่องเป็นสิ่งที่ดีมาก เพราะหากทำได้ จะมีผลดีต่อแนวทางการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีนับเป็นหมื่นโรงเรียนในประเทศไทย แต่การจะทำให้ประสบความสำเร็จนั้น ต้องไปหาทางทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ICT (Information and Communication Technology) อย่างลึกซึ้ง นักบริหารการศึกษาไม่รูเรื่อง ICT อย่างลึกซึ้งไม่แปลก แต่เราต้องหาทางไปทำงานร่วมกับคนที่รู้เรื่อง ICT แล้วนำศาสตร์หรือความเข้าใจด้าน Management ที่เรามีความรู้ด้านการวางแผน การจัดองค์การ การบริหารคน การบริหารทรัพยากร การบริหารเงิน และอื่นๆ

นักบริหารต้องหัดสนใจกว้างขวางกว่าเพียงศาสตร์ที่เราทำงาน คือศาสตร์การบริหาร การจัดการ แต่ต้องสนใจในศาสตร์อื่นๆ ที่เราต้องอาศัยประโยชน์ เราไม่ได้เรียนรู้เพื่อความเชี่ยวชาญ เป็น Specialist แต่เพื่อการนำสิ่งเหล่านั้นมาศึกษาอย่าง Generalist และพื่อบริหารให้เกิดประโยชน์

7. สร้างสรรค์และประสมประสาน (Creative and Integrated)

การจะทำอะไรให้สำเร็จนั้น นอกจากจะต้องมีความเป็นวิทยาศาสตร์ ใช้หลักตรรกะ เรื่องของเหตุและผลแล้ว ความเข้าใจในการสร้างสรรค์ และรู้จักประสมประสานในสิ่งที่ได้เรียนรู้ หรือจากโอกาสที่มีอีกหลายๆเรื่องที่เป็นสิ่งที่ดี และต้องคิดไปให้ลึก ทำรายละเอียดให้ชัด มองหาทางในการดำเนินการเอาไว้เป็นทางเลือก

 เป็นเรื่องที่ดี แต่คนทำต้องทำอย่างสร้างสรรค์ และมีรายละเอียดมากมายที่ต้องทำอย่างใช้ศิลปะทางการจัดการ การสร้างเครือข่าย ต้องอาศัยทักษะของคนจัดการ

8. มีขั้นตอนแผนยุทธศาสตร์

การแก้ปัญหาใดๆ ไม่สามารถทำให้เสร็จได้ในวันเดียว

งานใหญ่ ทุกคนต้องคิดอย่างมียุทธศาสตร์ และมีขั้นตอน “กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียว” งานของเราหลายๆอย่าง ต้องทำอย่างมีขั้นตอน งานบางอย่างเริ่มต้นไว้ ต้องคิดว่าบางที่อาจจะสำเร็จได้ในอีก 10-20 ปี เราอาจไม่อยู่แล้ว แต่คนรุ่นหลังต่อไป ต้องสามารถพัฒนาระบบต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง และมั่นคง

9. จับรายละเอียด

สำหรับผู้เรียนที่จะประสบความสำเร็จนั้น ต้องเรียนรู้ที่จะจับทุกอย่างอย่างใส่ใจในรายละเอียด ดังเราจะเห็นได้ว่าภาพยนต์ที่ประสบความสำเร็จได้ตุ๊กตาทองนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นภาพยนตร์ที่ลงทุนมากที่สุด แต่เป็นเรื่องที่เริ่มตั้งแต่ผู้กำกับ ไล่ไปจนถึงคนแสดงแต่ละคนได้ทำหน้าที่อย่างตั้งใจ ใส่ใจในรายละเอียด

10. มีก๊อกสอง (Persistence)

หลายคนถอดใจ ยอมแพ้ นั่นก็เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ แต่คนที่จะต้องก้าวต่อไป เพื่อให้ประสบความสำเร็จ ท่านจะได้เรียนรู้จากความทุกข์ยาก ในโลกนี้ไม่มีอะไรที่ทางสู่ความสำเร็จจะโรยด้วยกลีบกุหลาบ เราต้องเรียนรู้ที่จะฟันฝ่า ล้มแล้วต้องรู้จักลุกขึ้นมาสู้ใหม่ เผชิญกับปัญหาอย่างเบิกบาน แล้วทำให้ทุกอย่างนำไปสู่ความสำเร็จให้ได้

จากแนวทางดังกล่าวบุคคลที่มีความมุ่งมั่นอดทนไม่ย่อท้อต่อุปสรรคใด ๆยิ้มรับกับปัญหาย่อมประสบความสำเร็จเสมอ

คำสำคัญ (Tags): #ภาวะผู้นำ
หมายเลขบันทึก: 456851เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2011 22:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 13:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท