หวานกันทั่วโลก


น้ำตาล-สกฺกร-Saccharin

สกฺกร เดิมแปลว่าทราย ต่อมาใช้เรียกน้ำตาลที่ทำให้มีลักษณะเป็นทราย (ไทยเรียกน้ำตาลทราย) คำว่า สกฺกร มาจากรากศัพท์สันสกฤตว่า ศารฺกร หรือ ศากฺกร ซึ่งไทยรู้จักดีในคำว่า ขัณฑสกร คำเดิมคือ ขณฺฑสกฺกร แต่ไทยตัด ก ออกไปหนึ่งตัว แปลว่าน้ำตาลกรวด หรือเครื่องยาไทยอย่างหนึ่งคล้ายน้ำตาลกรวด หรือน้ำตาลกรวดชนิดหนึ่งที่เชื่อว่าเกิดจากใบบัว ปัจจุบันหมายถึงสารให้ความหวานเข้มข้น

ภาษาที่อยู่ในตระกูลเดียวกับสันสกฤตคือตระกูลอินโด-ยุโรป ใช้ศัพท์ที่มีเค้าเดียวกัน เช่น

เยอรมัน  - Sakharon

อิตาเลียน – Zucchero

ฝรั่งเศส – Sucre

อังกฤษ – Sugar

ศัพท์ละตินที่เป็นชื่อพฤกษศาสตร์ของอ้อย – Saccharum

ชื่อวิทยาศาสตร์ – Saccharin เป็นสารเคมีให้ความหวานที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นโดยบังเอิญ ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1879 (พ.ศ.2422) ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 ของไทยเรา สารนี้ถูกสังเคราะห์โดยนักวิจัยสหรัฐอเมริกาที่ชื่อ Ira Remsen และ Constantine Fahlberg แห่งมหาวิทยาลัย จอหน์ ฮอบกินส์ และได้ตั้งชื่อตามสูตรเคมี เรียกใช้กันหลายชื่อซึ่งก็มี ซัคคารีน รวมอยู่ด้วย

 

 

ที่มา :

กุสุมา รักษมณี, สันสกฤตวิจารณา, พิมพ์ครั้งที่ 1 (กรุงเทพฯ : แม่คำผาง, 2547), หน้า 212-214.

http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=17b75cc568b5fdbd&pli=1

คำสำคัญ (Tags): #น้ำตาล-สกฺกร-Saccharin
หมายเลขบันทึก: 456702เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2011 23:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 เมษายน 2012 16:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท