ทำอย่างไร ทำไมต้องใช้เทคโนโลยี เพื่อการศึกษา


ทำอย่างไร ทำไมต้องใช้เทคโนโลยี เพื่อการศึกษา
ทำอย่างไร ทำไมต้องใช้เทคโนโลยี เพื่อการศึกษา

ครู เป็นเสมือน พระเอกของการเรียนการสอน

ครูเป็นผู้นำ ในการเรียนการสอน

ครูเป็นเช่นนั้น จริงหรือ ?

คงมีครูหลายคน เห็นด้วย และก็คงมี ครูอีกหลายท่านที่ไม่เห็นด้วย ทำไมเป็นเช่นนั้น? ทั้งๆที่ครู หรือคณาจารย์เราทุกท่านเองก็เป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในเนื้อหาวิชานั้นๆ ได้ดี แต่วิธีการสอนที่ดี มีกฏเกณฑ์ตายตัวหรือเปล่า คงไม่ ขึ้นอยู่กับผู้สอน จะต้องเลือกวิธีการสอน เลือกรูปแบบการสอนตลอดจนเทคนิคในการสอนเอง เพื่อให้เหมาะสมกับเนื้อหา และผู้เรียนหรือนักศึกษาของเรานั่นเอง

มีส่วนประกอบหลายอย่างเกี่ยวกับการเรียนการสอน ที่ทำให้การเรียนการสอนบางครั้งดูจะไม่เกิดประโยชน์เลย ส่วนประกอบที่สำคัญต่างๆเหล่านี้ได้แก่

เนื้อหาวิชา บางอย่างยากมากในการสื่อความหมายให้เข้าใจได้อย่างชัดเจนและเนื้อหาวิชาบางอย่างสามารถอธิบายให้เข้าใจได้อย่างชัดเจนและง่ายดาย

ผู้เรียน หรือนักศึกษาของเรา แต่ละคนมีพื้นฐานการศึกษาที่แตกต่างกัน ฐานะทางเศรษฐกิจ หรือปัจจัยอีกลายๆด้านที่แตกต่างกัน

ผู้สอน แน่นอน ย่อมไม่มีสื่อใดจะแทนครูได้ดี แต่หากให้ครูทำหน้าที่สอนอย่างเดียว แน่นอนคงไม่มีใครทำได้ดีในทุกๆครั้งการสอนได้

ปัจจัยทั้งหลายที่กล่าวมานี้ ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ประกอบในการเรียนการสอน ที่จะต้องประสพอยู่เสมอ

ทำอย่างไร ล่ะจะสามารถมาช่วยทดแทนหรือ แก้ปัญหานี้ได้

เทคโนโลยีการศึกษาเป็นสิ่งซับซ้อน เป็นกระบวนการบูรณาการที่เกี่ยวกับมนุษย์ วิธีดำเนินการ แนวความคิด เครื่องมือและองค์กร เพื่อการวิเคราะห์ปัญหา การคิดหาวิธีการ การนำไปใช้ การประเมิน และการจัดแนวทางการแก้ปัญหาในส่วนที่เกี่ยวกับการเรียนรู้

"เทคโนโลยีการศึกษา" คือ การประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการ แนวความคิด

วัสดุ อุปกรณ์ และสิ่งต่างๆ อันเนื่องมาจากกระบวนการซับซ้อนของการประยุกต์ใช้สิ่งต่างๆ ทั้งหลายเหล่านั้นมาใช้เพื่อการวางแผน วิเคราะห์ปัญหาและการแก้ปัญหาทางการศึกษา

(Ely and Plomp.1988) เทคโนโลยีการศึกษา คือการนำวิธีระบบเข้ามาใช้ โดยมีขั้นตอนกว้างๆ ที่สำคัญ 5 ประการ คือ

- การวิเคราะห์และการทำความเข้าใจปัญหา, วิเคราะห์ปัญหา
- การเลือกหรือการออกแบบแนวทางการแก้ปัญหา, เลือก, ออกแบบแนวทาง
- การพัฒนาวิธีการแก้ปัญหา, พัฒนา, วิธีการ
- การทดสอบ ประเมินและปรับปรุงวิธีการ, ทดสอบและประเมินผล
- การนำไปใช้และการควบคุมกำกับ, นำไปใช้, ควบคุม


วิธีการทางเทคโนโลยีการศึกษาสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

1. ระบบ - ใช้มโนทัศน์และวิธีการต่างๆ ทางทฤษฎีระบบและการวิจัยปฏิบัติการ(Action Research) ในวิธีการของเทคโนโลยีการศึกษา โดยอาศัยหลักทางวิธีระบบ
2. วิธีการและเทคนิค - เทคนิคต่างๆ ในการออกแบบหรือวางแผนการตัดสินใจ
3. การจัดการ - ใช้การจัดการ POSDCoRB ของ GULICK ได้อธิบายหลักการบริหารทั่วไป คือ


Planning การวางนโยบายและแนวทางในการที่จะดำเนินงานให้บรรลุจุดมุ่งหมาย รวมทั้งกำหนดแนวปฏิบัติ งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์และเวลาที่ใช้ในการดำเนินงาน

Organizing การจัดรูปแบบหน่วยงานให้เป็นระเบียบ เป็นขั้นของการจัดตั้งหน่วยงานหรือองค์การ เพื่อดำเนินงานโดยจัดเป็นสัดส่วน ประกอบด้วยหน่วยงานย่อยรับผิดชอบในแต่ละส่วน Staffing การบริหารงานบุคคล วางนโยบายเกี่ยวกับการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานให้เหมาะกับงานและความสามารถของแต่ละบุคคล การพัฒนาบุคลากร การจัดอัตรากำลังที่เพียงพอกับปริมาณของงาน

Directing การอำนวยการ การดูแลให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานได้ตามแผนที่วางไว้ อาจให้มีการประเมินผลงานหรือนิเทศก์งานแก่เจ้าหน้าที่

Coordinating การประสานงานกับหน่วยงานและหน่วยอื่นๆ เพื่อช่วยให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ เกิดความร่วมมือในการปฏิบัติงาน

Reporting การรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบผลการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งเสนอแนวทางในการปฏิบัติงาน อาจจัดทำเป็นรายเดือน/รายปี เสนอปัญหาที่เกิดขึ้น ให้ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติให้เกิดความก้าวหน้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

Budgeting การบริหารงบประมาณและการเงิน ควบคุมการใช้เงินให้ถูกต้องตามความต้องการตามความเหมาะสมทั้งรายรับและรายจ่าย

ขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษา(AECT.1979)

เทคโนโลยีการศึกษา มีขอบข่ายที่ประกอบด้วยองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันในการจัดการศึกษาและการเรียนการสอน 4 ประการ คือ

1. การจัดการทางการศึกษา(Educational Management Functions)
2. การพัฒนาการศึกษา(Educational Development Functions)
3. ทรัพยากรการเรียน(Learning Resources)
4. ผู้เรียน(Learner)

1. การจัดการทางการศึกษา.
"การจัดการ" หรือ "การดำเนินการ" เป็นองค์ประกอบสำคัญทางด้าน "การ
บริหาร" ซึ่งจะเน้นในเรื่องการกำหนดวัตถุประสงค์ การกำกับและการจัดกิจกรรมต่างๆ ในการพัฒนาการศึกษาและการเรียนการสอนหรือการจัดการศึกษาอื่นๆ เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย

1.การจัดการเกี่ยวกับหน่วยงานหรือองค์กร(Organization Management)

หมายถึง ภาระงานด้านการจัดการหรือบริหารหน่วยงานและโครงการเกี่ยวกับเทคโนโลยีและสื่อการเรียนการสอน เพื่อกำหนดหรือพัฒนารูปแบบการดำเนินงาน การปรับปรุงและอื่นๆ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้ตามจุดมุ่งหมาย ปรัชญา นโยบาย โครงสร้าง งบประมาณและความสัมพันธ์ต่างๆ ภายในระบบงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยใช้กิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ได้ผลงานที่มีประสิทธิภาพ

ในเรื่องการจัดการนักเทคโนโลยีการศึกษานั้นเปรียบเสมือนผู้นำการเปลี่ยนแปลง(Change Agent) ดังนั้น การจัดการหรือบริหารหน่วยงานจึงนิยมใช้วิธีการจัดการแบบบูรณาการ(Integrate Management Method) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการหน่วยงาน ให้สามารถดำเนินงานไปได้อย่างมีระบบ ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดนโยบาย ความมุ่งหมายและการควบคุมดูแลกิจกรรมการดำเนินงานทั้งหลายในองค์กร

การจัดการแบบบูรณาการ มีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ

1) การกำหนดจุดมุ่งหมายและนโยบาย เป็นองค์ประกอบด้านการกำหนดบทบาท วัตถุประสงค์ โปรแกรมเกี่ยวกับการเรียนการสอนและทรัพยากรการเรียนในหน่วยงาน ซึ่งควรจัดให้เหมาะสมและสอดคล้องกัน
2) การสนับสนุนจุดมุ่งหมายและนโยบาย ควรมีการวางแผนที่ดี มีการจัดหาข้อมูลและสารสนเทศต่างๆ ให้พร้อมอยู่เสมอ เพื่อความสะดวกในการพิจารณาตัดสินใจ
3) การบริการและร่วมมือกันทุกฝ่าย เป็นการจัดการแบบประสานและร่วมมือกันทำงาน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายพัฒนาการเรียนการสอน(วิชาการ)หรือฝ่ายกิจกรรมอื่นๆ ในองค์กรและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง จะมีการประสานกันตั้งแต่จุดเริ่มต้นของหลักการดำเนินงาน

2.การจัดการเกี่ยวกับบุคลากร

เป็นการจัดบุคคลให้เหมาะสมกับงานในองค์กร นับตั้งแต่การเลือกบุคคลเข้าทำงานไปจนถึงการพัฒนาบุคลากร ตลอดจนการจัดสวัสดิการต่างๆ แก่บุคลากร เพื่อให้การดำเนินงานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี รวมทั้งการสร้างความร่วมมือกัน การให้คำปรึกษาแนะนำตลอดจนการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ระหว่างมวลสมาชิกในหน่วยงานหรือองค์กรนั้นๆ ด้วย

แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการหรือบริหารการศึกษานี้ ต้องมีการประสานงาน มีการวางแผนร่วมกันตั้งแต่เริ่มการดำเนินระบบงาน ดังนั้น การจัดการจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญประการแรกของเทคโนโลยีการศึกษา

สรุปคือ การจัดการเป็นเรื่องเกี่ยวกับองค์กรหรือหน่วยงานและการจัดการเกี่ยวกับบุคคลากรทางด้านเทคโนโลยีการศึกษา เพื่อช่วยให้การจัดการระบบการนำเทคโนโลยีการศึกษาเข้ามาแก้ปัญหาการศึกษา ให้ได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการแบบบูรณาการ มีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ

1) การกำหนดจุดมุ่งหมายและนโยบาย เป็นองค์ประกอบด้านการกำหนดบทบาท วัตถุประสงค์ โปรแกรมเกี่ยวกับการเรียนการสอนและทรัพยากรการเรียนในหน่วยงาน ซึ่งควรจัดให้เหมาะสมและสอดคล้องกัน
2) การสนับสนุนจุดมุ่งหมายและนโยบาย ควรมีการวางแผนที่ดี มีการจัดหาข้อมูลและสารสนเทศต่างๆ ให้พร้อมอยู่เสมอ เพื่อความสะดวกในการพิจารณาตัดสินใจ
3) การบริการและร่วมมือกันทุกฝ่าย เป็นการจัดการแบบประสานและร่วมมือกันทำงาน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายพัฒนาการเรียนการสอน(วิชาการ)หรือฝ่ายกิจกรรมอื่นๆ ในองค์กรและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง จะมีการประสานกันตั้งแต่จุดเริ่มต้นของหลักการดำเนินงาน

 ที่มา http://www.kmutt.ac.th/organization/Education/Technology/tech_ed/why.html

หมายเลขบันทึก: 456602เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2011 12:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท