การคิดเชิงวิจารณญาณ


การคิด

        การคิดเชิงวิจารณญาณ (critical thinking) เป็นกระบวนการทางจิตสำนึกเพื่อวิเคราะห์ หรือ ประเมินข้อมูล ในคำแถลง หรือ ข้อเสนอที่มีผู้แถลงหรืออ้างว่าเป็นความจริง การคิดเชิงวิจารณญาณเป็นรูปแบบของกระบวนการ ที่สะท้อนให้เห็น ความหมาย ของคำแถลง (statement) และการตรวจสอบหลักฐานที่ได้รับการไต่ตรองด้วยเหตุและผล แล้วจึงทำการตัดสินคำแถลง หรือข้อเสนอ ที่ถูกอ้างว่าเป็นความจริงนั้น

      การคิดเชิงวิจารณญาณอาจทำได้จากการรวบรวมข้อมูล การสังเกตการณ์ ประสบการณ์ หลักแห่งเหตุและผล และ/หรือการสื่อความ การคิดเชิงวิจารณญาณต้องมีพื้นฐานของคุณค่าเชิงพุทธิปัญญาที่สูงเลยไปจากการ เป็นเพียงการแบ่งเนื้อหาที่รวมไปถึง ความกระจ่างชัด ความแม่นยำ ความต้องตรงเนื้อหา หลักฐาน ความครบถ้วนและความยุติธรรม

       ความหมายหรือนิยามการคิดเชิงวิจารณญาณมีมากมายและหลากหลาย แต่ส่วนใหญ่ไปในแนวเดียวกันคือการใช้เหตุผล หลักฐาน และตรรกะมาวิเคราะห์ให้แน่ชัดก่อนลงความเห็นหรือตัดสิน

         พระพุทธเจ้าได้ใช้วิธีการสอนที่อาจนับเป็นการคิดเชิงวิจารณญาณที่เรียก ว่า "ปุจฉาวิสัชนา" ด้วยการให้พระสงฆ์ใช้ "วิจารณญาน" ถามตอบซักไซ้ไล่เลียงค้านกันไปมาจนได้คำตอบซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นการคิดเชิง วิจารณญาณ โดยทรงให้หลักแห่งความเชื่อ ที่ไม่งมงายไว้ในพระสูตรชื่อ กาลามสูตร

      คำว่า "critical thinking" นับเป็นคำใหม่ที่เพิ่งนำมาใช้ไม่นานมานี้ด้วยความหมายดังข้างต้น ดังนั้น จึงยังเป็นที่ถกเถียงกันว่า ควรใช้ว่า"การคิดเชิงวิจารณญาณ" "การคิดเชิงวิจารณ์" หรือ "การคิดเชิงวิพากษ์" ตามความหมายของพจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำ "วิพากษ์" ว่าเป็นการตัดสินหรือการพิพากษา แต่ในขณะเดียวกัน นิยามของ "critical thinking" ในบทความนี้บ่งว่า ไม่ใช่การตัดสิน แต่เป็นความเห็นสรุปที่สมเหตุผลที่สุด ณ ขณะนั้น ที่พร้อมที่จะเปลี่ยนได้ตาม ข้อมูลใหม่ ที่วิเคราะห์ถูกต้องมาหักล้างได้เสมอ ดังนั้น บทความนี้จึงใช้วลี "การคิดเชิงวิจารณญาณ" ไปก่อน

        ภาพรวมภายใต้กรอบแห่ง "ความน่าสงสัย" (skepticism) กระบวนการคิดเชิงวิจารณญาณเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการสืบหาข้อมูล และการประเมินข้อมูล เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อสรุปหรือคำตอบที่เชื่อถือได้ การคิดเชิงวิจารณญาณประกอบด้วย "ตรรกะที่ไม่เป็นทางการ" (informal logic) ผลการวิจัยด้านการรับรู้เชิงจิตวิทยา (cognitive psychology) ทำให้นักการศึกษาเริ่มเชื่อมากขึ้นว่า สถาบันการศึกษาทุกแห่งควรเน้นการสอน ทักษะการคิดเชิงวิจารณญาณ ให้มากขึ้นแทนการสอนให้เรียนรู้แบบท่องจำ

         กระบวนการของการคิดเชิงวิจารณญาณสามารถตอบสนองประเด็นและสถานการณ์ได้ หลายๆ อย่างและทำให้เราสามารถสืบเสาะหาสิ่งเชื่อมโยง ระหว่างกันได้ด้วย ดังนั้น การคิดเชิงวิจารณญาณจึงเป็นตัวสร้างระบบช่องความคิดต่างๆ ที่สัมพันธ์กับความรู้ เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ ประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยาเศรษฐศาสตร์ หลักเหตุผลทางศีลธรรม และปรัชญา

เราอาจแบ่งการคิดเชิงวิจารณญาณได้เป็นสองลักษณะได้แก่

1. ชุดของทักษะการรับรู้ (cognitive skill) และ
2. ความสามารถและการใช้ทักษะนั้นๆ เพื่อเป็นแนวทางแห่งประพฤติกรรม

การคิดเชิงวิจารณญาณไม่เป็นเพียงการหาและการเก็บรวบรวมข้อมูล หรือการเป็นเพียงผู้มีทักษะแต่ไม่ได้ใช้อย่างสม่ำเสมอ การคิดเชิงวิจารณญาณจึงไม่ใช่เป็นเพียงการฝึกฝนทักษะเพื่อการไม่ยอมรับรองผล เพียงอย่างเดียว

คำสำคัญ (Tags): #การคิด
หมายเลขบันทึก: 456558เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2011 10:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท