วงจรการบริหารโครงการของธนาคารโลก (World Bank)


วงจรการบริหารโครงการของธนาคารโลก  (World Bank)

                   บัมและโทลเบิร์ท  (Baum & Tolbert, 1985)  กำหนดขั้นตอน  ในวงจรโครงการเป็น  1.  การกำหนดโครงการ  2.  การจัดเตรียมโครงการ  3.  การประเมินค่าโครงการ  4.  การปฏิบัติตามโครงการ  และ  5.  การประเมินโครงการ

                   ชูชีพ  พิพัฒน์ศิถี  :  เกี่ยวกับการสนับสนุนให้เงินยืมแก่กระทรวงต่าง ๆ  โดยเฉพาะกระทรวงศึกษาธิการ

                   (1)  การกำหนดแนวคิดโครงการ  (Project identification)  ประกอบด้วย

                             1)  การให้นิยามวัตถุประสงค์  (defining project objective)  เลือกที่ง่าย  ชัดเจน

                             2)  แหล่งที่มาของแนวคิด  และ/หรือความรู้ของโครงการ  (source of project ideas/knowledge)  ได้จากประสบการณ์  งานวิจัย  สิ่งประดิษฐ์  จิตสำนึก  สัญชาตญาณ  ลัทธิอนุรักษ์นิยมและแนวใหม่

                             3)  การคัดเลือกแนวความคิดโครงการ  (screening  project ideas)  โดยใช้เกณฑ์  ได้แก่  ความเหมาะสมทางเทคโนโลยี  ความเสี่ยง  ความต้องการของตลาด  ความพร้อม  ความสามารถในการจัดหา  การออกแบบ  ค่าใช้จ่ายของโครงการ  ต้นทุนทางสังคม  การแสดงความจำนงที่จะให้ทำ

                             4)  แหล่งที่มาของความช่วยเหลือสำหรับการกำหนดโครงการ  (sources of assistance for project identification)  แตกต่างกันไปทั้งในรูปแบบ  วิธีปฏิบัติระหว่างประเทศหนึ่งกับประเทศอื่น ๆ  แบ่งเป็น  องค์กรความช่วยเหลือระหว่างประเทศ  (international assistance organization)  เช่น  UN, World Bank, USAID, JIDA  และ  CIDA  เป็นต้น  หน่วยงานของรัฐบาลในประเทศกำลังพัฒนา  (government units in developing countries)  และองค์กรภาคเอกชน  (private sector organization)

                             5)  วิธีการกำหนดโครงการ  (project identification approaches)  แบ่งเป็น  วิธีการจากระดับรากหญ้า  (the grass roots level approach)  เป็นการกำหนดโครงการจากระดับล่างขึ้นสู่ระดับสูง  จะสะท้อนความต้องการที่แท้จริงของประชาชนต่อโครงการ  และวิธีการตามสถานการณ์ที่เป็นจริงของอุปสงค์และอุปทาน  (the existing situation on demand and supply approach)  พิจารณาจากความพร้อม  ความสามารถในการจัดหาการผลิตทางด้านอุปทาน  ความสามารถในการดูดกลืนจากตลาดทางด้านอุปสงค์

                             6)  การศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น  (Pre-feasibility study)  ในประเด็นเชิงสรุปก่อนการลงทุนโครงการ  ประกอบด้วย  ลักษณะทั่วไปและขนาดของโครงการ  (nature and size)  ทางเลือกของเทคโนโลยี  (alternative technology)  ทรัพยากร  (resource)  ขนาดของต้นทุน  (costs)  อัตราผลตอบแทนของการลงทุน  (rate of return on investment)  องค์กรที่จะมารับผิดชอบ  (institution)

                             7)  สรุปย่อการกำหนดโครงการ  (Project Identification Brief  :  PIB)  สรุปสาระหลักของการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้นของโครงการ  ประกอบด้วย  วัตถุประสงค์ของโครงการ  (project objective)  รูปแบบพื้นฐานของโครงการ  (basic project design)  ต้นทุนและผลประโยชน์ของโครงการ  (costs and benefits)  และขั้นตอนที่จำเป็นสำหรับการตระเตรียมโครงการ  (step necessary to prepare the project)

                  (2)  การจัดเตรียมโครงการ  (Project Preparation)  มีวัตถุประสงค์  2  ประการ  คือ

                             1)  เพื่อออกแบบโครงการในรายละเอียด  โดยคำนึงถึงทรัพยากรที่มีอยู่และวัตถุประสงค์การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ  :  ในรูปแบบของข้อกำหนดเฉพาะทางด้านเทคนิค  โครงสร้างองค์การ  การกำหนดการทำงาน  การจัดการทรัพยากรที่ต้องการใช้  การกะประมาณต้นทุนเพื่อจัดหาข้อมูล  ข่าวสารให้กับสถาบันการเงินใช้พิจารณาตัดสินใจสนับสนุนการลงทุนในโครงการ  จัดเตรียมความพร้อมของกิจกรรมโครงการล่วงหน้าเพื่อการปฏิบัติทันทีเมื่อผ่านการอนุมัติ  แบ่งเป็น  5  ขั้นตอน  ได้แก่  การกำหนดรายละเอียดทางเทคนิคและตรวจสอบสภาพเศรษฐกิจสังคมในด้านต่าง ๆ  อย่างเฉพาะเจาะจงในพื้นที่โครงการ  การให้นิยามวัตถุประสงค์  (objectives)  เป้าหมาย  (targets)  และเกณฑ์การออกแบบของโครงการ  (design criteria  การออกแบบองค์ประกอบโครงการในแต่ละส่วน  การออกแบบโครงสร้างองค์การและการรับรองการจัดการ  และการกะประมาณต้นทุนของโครงการและทำการเสนอแหล่งเงินทุนเพื่อใช้ในการลงทุน

                             2)  เพื่อจัดทำรายงานการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ  (project feasibility report)  เปรียบเสมือนแกนกลางในกระบวนการจัดเตรียมโครงการ  โดยมีจุดมุ่งหมายและขอบเขตเพื่อให้ข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ทำการตัดสินใจ  (decision makers)  ทั้งในประเทศ  ต่างประเทศว่าจะรับโครงการหรือไม่  โดยศึกษาใน  6  มิติ  ได้แก่  ด้านเทคนิคหรือวิธีการ  (technical feasibility)  ด้านการเงิน  (financial feasibility)  ด้านเศรษฐกิจ  (economic feasibility)  ด้านสังคม  (social feasibility)  ด้านสถาบัน  (institution feasibility)  และด้านสิ่งแวดล้อม  (environment feasibility)

                 (3)  การประเมินค่าโครงการ  (project appraisal)  โดยปกติธนาคารหรือสถาบันเงินกู้  (lending agency)  จะประเมินด้วยตนเอง  เพื่อขยายความให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้นในเอกสารประเมินค่าโครงการโดยธนาคารเอง  (bank, appraisal document)  การตัดสินใจอนุมัติให้เงินกู้กับโครงการ  คณะกรรมการบริหารจะพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างผลประโยชน์ที่ควรจะได้รับจากโครงการ  (expected project benefits)  กับค่าใช้จ่ายและทรัพยากรที่ต้องการใช้ในการลงทุน  (expected project costs) 

                 (4)  การปฏิบัติตามโครงการ  (project implementation)

                             1)  การปฏิบัติตามโครงการ  จะเกี่ยวข้องกับการแบ่งองค์ประกอบของโครงการออกเป็นส่วนย่อย ๆ  (กิจกรรมต่าง ๆ)  การจัดตั้งองค์การและการทำงานเพื่อรับผิดชอบการปฏิบัติตามโครงการ  การมอบหมายงานและกิจกรรมของโครงการให้กับกลุ่มผู้รับผิดชอบและการจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับกิจกรรมต่าง ๆ  ของโครงการและการประสานงาน  ติดตามผล  ควบคุมการทำงานของกลุ่มต่าง ๆ  การใช้ทรัพยากรโครงการเพื่อให้กิจกรรมของโครงการสำเร็จตามลำดับ  ภายในเงื่อนไข  ข้อจำกัดของเวลาและทรัพยากรที่มีอยู่

                             2)  การปฏิบัติตามโครงการ  แบ่งเป็น  การริเริ่มโครงการ  (initiating the project)  การระบุเฉพาะเจาะจง  การกำหนดการทำงาน  (specifying and scheduling the work)  การแจ้งอำนาจหน้าที่  ความรับผิดชอบและความสัมพันธ์  (clarifying authority, responsibility, and relationships)  การได้รับทรัพยากร  (obtaining resources)  การจัดตั้งระบบควบคุม  (establishing the control systems)  การอำนวยการและการควบคุม  (directing and controlling the project)  และการสิ้นสุดโครงการ  (terminating the project)

                             3)  ขั้นตอนการปฏิบัติตามโครงการ  ได้แก่

                                      3.1  การวางแผนและการจัดการในการปฏิบัติตามโครงการ  (planning and managing implementation)  แบ่งเป็น  ระยะการลงทุน  (investment period)  ครอบคลุมช่วงเวลาประมาณ  3 – 5 ปี  นับจากเริ่มโครงการ  ระยะการพัฒนา  (development period)  ใช้เวลาต่อไปอีก  3 – 5  ปี  และระยะการดำเนินการ  (operation period)  ภายหลังโครงการพัฒนาเต็มที่แล้วเรื่อยไปจนกระทั่งสิ้นสุดโครงการ  มักไม่เกิน  25 – 30  ปี  :  ระหว่างการปฏิบัติตามโครงการมีกลไกที่ต้องใช้ให้เหมาะสม  ได้แก่  กลไกการประสานงาน  (coordinating mechanism)  ทั้งภายในและระหว่างองค์การ  กลไกการติดตามผล  (monitoring mechanism)  ทำการตรวจสอบประจำเป็นระยะ ๆ  ถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการผลิตและผลผลิตโครงการ  อิทธิพลของปัจจัยภายนอกที่มีต่อผลการดำเนินงานโครงการ  และกลไกการนิเทศและควบคุม  (supervising and controlling mechanism)  ใช้เป็นแนวให้คำแนะนำและการควบคุมการปฏิบัติงาน

                                      3.2  เครื่องมือและเทคนิคการบริหารโครงการ  (tools and techniques for managing implementation)  ได้แก่  แผนภูมิแกนต์  (Gantt Chart)  การจัดทำผังงาน  (network diagram)  การควบคุมและประเมินแผนงานโครงการ  (program evaluation and review technique : PERT)  การวิเคราะห์เส้นทางวิกฤต  (Critical path method : CPM)

                                      3.3  ความสำเร็จและปัญหาในการปฏิบัติตามโครงการ  (success and problems in project implementation)  ขึ้นอยู่กับการได้รับความเห็นชอบ  สนับสนุนทางการเมือง  (political commitment)  มีรูปแบบโครงการจากการออกแบบที่ง่าย  จัดเตรียมโครงการอย่างรอบคอบระมัดระวัง  (careful preparation)  การจัดการที่ดี  (good management)  หรือมีผู้บริหารโครงการที่ดี  :  ปัญหา  อุปสรรคในการปฏิบัติตามโครงการ  แบ่งเป็น  ปัญหาทางการเงิน  (financial problems)  ทางการจัดการ  (management problems)  ทางเทคนิคหรือวิชาการ  (technical problems)  ทางการเมือง  (political problems)

                 (5)  การประเมินโครงการ  (project evaluation)  กระบวนการประเมินโครงการ  (evaluation process)  แบ่งเป็น  3  ระยะ  ได้แก่  การประเมินก่อนการปฏิบัติตามโครงการ  (ex-ante or pre-evaluation)  เป็นการประเมินค่าโครงการ  (project appraisal)  การประเมินระหว่างปฏิบัติตามโครงการ  (on going or process evaluation)  เพื่อแก้ไขปัญหาโครงการให้เหมาะสม  และการประเมินหลังจากการปฏิบัติตามโครงการสิ้นสุดลงแล้ว  (ex-post evaluation)  มุ่งผลผลิต  (outputs)  ผลลัพธ์  (outcomes)  หรือประเมินผลสัมฤทธิ์  (results)

          สรุป  วงจรโครงการของธนาคารโลก  :  เป็นหลักเกณฑ์ที่ประเทศใดจะขอความช่วยเหลือ  สนับสนุน  ควรทราบและเข้าใจ  โดยมีวงจรการบริหารโครงการตามที่ธนาคารโลกกำหนด

อ้างอิงจาก

เจริญวิชญ์  สมพงษ์ธรรม.  (2554).  การบริการและประเมินโครงการ = Project Management and

             Evaluation.  มปท. : มนตรี.

หมายเลขบันทึก: 456495เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2011 23:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท