การกำหนดทางเลือกและการตัดสินใจในนโยบาย


การกำหนดทางเลือกและการตัดสินใจในนโยบาย

 

 

 

การกำหนดทางเลือกนโยบายพิจารณาได้จากปัจจัยดังนี้

 

 

1 คุณลักษณะของทางเลือกนโยบาย ประกอบด้วย การสร้างสรรค์  นวัตกรรม

 

 

2. การแสวงหาทางเลือกนโยบาย

 

 

3. การกลั่นกรองทางเลือกนโยบาย

 

 

4. การตรวจสอบทางเลือกนโยบาย

 

 

**ข้อดีของการเปรียบเทียบทางเลือก กระตุ้นให้เกิดความคิดในการดัดแปลงทางเลือกนโยบายเพื่อให้ได้ทางเลือกที่เหมาะสมยิ่งขึ้น***

 

ทฤษฏีการตัดสินใจทางเลือกนโยบาย

 

 

 

1. ทฤษฏีหลักการเหตุผล   มุ่งเน้นการตัดสินใจที่บรรลุเป้าประสงค์สูงสุด

 

 

ประกอบด้วย

 

1.   ผู้ตัดสินใจต้องเผชิญกับปัญหาที่สามารถจำแนกออกจากปัญหาอื่นได้ หรืออย่างน้อยต้องสามารถพิจารณาเปรียบเทียบกับปัญหาอื่นได้อย่างมีความหมาย

 

2.    ผู้ตัดสินใจมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ เป้าประสงค์(goals) ค่านิยม(values) หรือวัตถุประสงค์ (objectives) ที่ผู้ตัดสินใจต้องคำนึงถึงและสามารถทำให้การพิจารณาปัญหามีความชัดเจนและจัดลำดับตามความสำคัญของแต่ละกรณี

 

3. การตรวจสอบทางเลือกต่างๆในการแก้ไขปัญหาอย่างชัดเจน

 

4. การตรวจสอบผลลัพธ์ทั้งทางด้านต้นทุน ผลประโยชน์ ข้อได้เปรียบ ข้อเสียเปรียบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่ง

 

5. การเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นของทางเลือกแต่ละทาง

 

6.   ผู้ตัดสินใจจะเลือกทางเลือกและผลลัพธ์ของแต่ละทางเลือกที่จะต้องตอบสนองต่อ เป้าประสงค์

 

 

2. ทฤษฏีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมบางส่วน

 

 

ทฤษฎีนี้ เป็นทฤษฎีที่มีลักษณะของการพรรณนาความเกี่ยวกับกระบวนการตัดสินใจของรัฐบาล

 

-               การตัดสินใจโดยใช้ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมบางส่วน เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง                   หรือการเพิ่มเติมจากนโยบายที่มีอยู่อย่างจำกัด

 

 

สาระสำคัญของทฤษฎี พิจารณาจากองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้

 

 

1. การพิจารณาในการเลือกเป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์ และการวิเคราะห์เชิงประจักษ์ จะกระทำโดยพิจารณาร่วมกันอย่างใกล้ชิดมากกว่าการที่จะแยกพิจารณาในแต่ละประเด็น

 

2. ผู้ตัดสินใจจะพิจารณาเฉพาะทางเลือกบางทางเลือกที่จะใช้ ในการแก้ไขปัญหา ซึ่งจะแตกต่างไปจากนโยบายเดิมเพียงเล็กน้อย

 

3. การประเมินผลทางเลือกแต่ละทางเลือก จะกระทำเฉพาะเพื่อพิจารณาผลลัพธ์ที่สำคัญของทางเลือกบางทางเลือกเท่านั้น

 

4.  สำหรับปัญหาที่ผู้ตัดสินใจกำลังเผชิญอยู่นั้น ผู้ตัดสินใจจะต้องทำการนิยามปัญหาใหม่อย่างต่อเนื่อง

 

5. ทฤษฎีนี้ถือว่าไม่มีการตัดสินใจเพียงครั้งเดียวหรือทางแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องเพียงทางเดียว

 

6. การตัดสินใจโดยพิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงจากเดิมบางส่วนเป็นแนวทางสำคัญที่ช่วยในการแก้ไขปัญหาอุปสรรคจากวิธีการอื่นๆ และนำไปสู่สภาพปัจจุบันที่ดีกว่า รวมทั้งช่วยแก้ไขความไม่สมบูรณ์ทางสังคมให้เป็นรูปธรรมมากกว่าการพิจารณาเป้าประสงค์ของสังคมในอนาคต

 

* 

Etzionl เห็นว่า การตัดสินใจโดยพิจารณาการเปลี่ยนแปลงจากเดิมบางส่วนจะสะท้อนให้เห็นผลประโยชน์ของกลุ่มและองค์การที่มีอำนาจสูงสุดในสังคมแต่กลุ่มผลประโยชน์ของประชาชนที่ด้อยสิทธิ์และกลุ่มที่ไม่มีบทบาทจะถูกละเลย

 

 

3. ทฤษฏีผสมผสานระหว่างทางกว้างและทางลึก

 

 

                                 ทฤษฏีผสมผสานระหว่างทางกว้างและทางลึกจะเปิดโอกาสให้ผู้ตัดสินใจสามารถใช้ประโยชน์จากทฤษฏีหลักการเหตุผลและทฤษฏีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมบางส่วนขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่แตกต่างทฤษฎีและทฤษฏีการผสมผสานระหว่างทางกว้างและทางลึกมีความเหมาะสมสำหรับผู้ตัดสินใจนโยบายที่มีขีดความสามารถต่างกัน

 

 

หมายเลขบันทึก: 456492เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2011 23:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 20:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท