Benchmarking (ต่อ)


การแบ่งประเภทตามผู้ที่เราไปเปรียบเทียบด้วย
          การแบ่งประเภทหลักตามผู้ที่เราไปเปรียบเทียบด้วยในการทำ Benchmarking สามารถแบ่งเป็นประเภทย่อยที่เฉพาะเจาะจง ได้ 4 ประเภทย่อย คือ
                - Internal Benchmarking
                - Competitive Benchmarking
                - Industry Benchmarking
                - Generic Benchmarking (Functional Benchmarking)

Internal Benchmarking
                - เป็นการเปรียบเทียบตัววัดหรือความสามารถในการปฏิบัติกับผู้ที่อยู่ภายในองค์กรเดียวกันหรือภายใต้กลุ่มบริษัทในเครือเดียวกัน
                - พบทั่วไปในองค์กรชั้นนำที่มีเครือข่ายทั่วโลก
                - ส่วนใหญ่จะนำไปสู่การสร้างมาตรฐานการปฏิบัติงาน (work standard) ให้แก่องค์กรและกลุ่มภายในองค์กร
                - เนื่องจากทุกหน่วยงานจะเรียนรู้วิธีปฏิบัติจากผู้ที่เก่งกว่า และสร้างรูปแบบที่เป็น วิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุด (best practices) ของกลุ่มขึ้นมา ซึ่งจะกลายเป็นมาตรฐานที่ทุกหน่วยงานหรือทุกองค์กรในกลุ่มต้องปฏิบัติตาม

Competitive Benchmarking
                - เป็นการทำ Benchmarking กับผู้ที่เป็นคู่แข่ง (competitor) โดยตรง
                - เป็นการแลกเปลี่ยนที่อยู่ในระดับพื้นฐานของความสบายใจกันทั้งสองฝ่าย
                - ให้ผลในเชิงของการชี้บอกองค์กรถึงตำแหน่งของตนในธุรกิจนั้น ๆ และชี้บอกถึงสิ่งที่เป็นจุดอ่อนจุดแข็งของตนมากกว่าการเรียนรู้ที่จะก่อให้เกิดนวัตกรรมการปรับปรุง

Industry Benchmarking
                - เป็นการเปรียบเทียบกับผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ไม่ใช่ผู้ที่เป็นคู่แข่งขันโดยตรง
                - เพราะกระบวนการทางธุรกิจมีความคล้ายคลึงกันในบางส่วนที่สามารถเปรียบเทียบกันได้ เนื่องจากอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน

Generic Benchmarking (Functional Benchmarking)
                - เป็นการทำ Benchmarking กับองค์กรใดก็ตาม ที่มีความเป็นเลิศในกระบวนการทำงานนั้น ๆ ที่อาจมีธุรกิจที่แตกต่างจากเราโดยสิ้นเชิง
                - เป็นการมุ่งหวังที่จะค้นหา ผู้มีความเป็นเลิศ (best practices) จริง ๆ ของกระบวนการจากธุรกิจทั้งหมด
                - เป็นการก่อให้เกิดนวัตกรรมการปรับปรุงใหม่ ๆ ได้ดีที่สุด ให้ความรู้ใหม่ ๆ และให้มุมมองใหม่ ๆ
 
แนวทางการทำ Benchmarking
แนวทางการทำ Benchmarking สามารถเลือกทำได้ 2 แนวทางคือ
          1.แนวทางการทำ Benchmarking แบบกลุ่ม
          2.แนวทางการทำ Benchmarking แบบเดี่ยว

1.แนวทางการทำ Benchmarking แบบกลุ่ม
                - เป็นการทำ Benchmarking โดยเข้าไปรวมกลุ่มกับองค์กรอื่นที่มีความต้องการจะทำ Benchmarking เหมือนกัน
                - ทำให้ประหยัดเวลาในการดำเนินการ เป็นการสร้างเครือข่ายการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ดี
                - แต่ต้องฟังเสียงข้างมากของทุกองค์กรในกลุ่มว่าต้องการเน้นหรือทำ Benchmarking ในเรื่องไหน แบบไหน
                - หากหัวข้อ Benchmarking ที่กลุ่มต้องการทำไม่ตรงกับความต้องการของเราเท่าที่ควร ประโยชน์ที่ได้รับก็อาจจะน้อยลงไป

2.แนวทางการทำ Benchmarking แบบเดี่ยว
                - เป็นการที่องค์กรสามารถเลือกหัวข้อที่ตนเองมีความสนใจที่จะทำ Benchmarking ได้ สามารถเลือกผู้ที่จะเป็นคู่เปรียบเทียบได้ แต่ขึ้นอยู่กับว่าองค์กรที่เราไปขอเปรียบเทียบด้วยนั้นมีความประสงค์จะแลกเปลี่ยนข้อมูลกับเราหรือไม่

คำสำคัญ (Tags): #Benchmarking (ต่อ)
หมายเลขบันทึก: 456483เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2011 22:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท