แนวทางการกำหนดนโยบายเพื่อการปฏิรูปการศึกษา


แนวทางการกำหนดนโยบายเพื่อการปฏิรูปการศึกษา

 ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการพัฒนาให้การปฏิบัติงานมีคุณภาพมาตรฐานที่ยอมรับได้ โดยการออกนโยบายวิชาชีพควบคุมทางการศึกษา ดังต่อไปนี้

วิชาชีพ (Profession) เปนอาชีพใหบริการแกสาธารณชนที่ตองอาศัยความรูความชํานาญเปนการเฉพาะ ไมซ้ำซอนกับวิชาชีพอื่น และมีมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพโดยผูประกอบวิชาชีพตองฝกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอยางเพียงพอกอน ที่จะประกอบวิชาชีพตางกับอาชีพ (Career) ซึ่งเปนกิจกรรมที่ตองทําใหสําเร็จ โดยมุงหวังคาตอบแทนเพื่อการดํารงชีพเทานั้น วิชาชีพซึ่งไดรับยกยองใหเปนวิชาชีพชั้นสูง ผูประกอบวิชาชีพยอมตองมีความรับผิดชอบอยางสูงตามมา เพราะมีผลกระทบตอผูรับบริการและสาธารณชน จึงตองมีการควบคุมการประกอบวิชาชีพเปนพิเศษ เพื่อใหเกิดความมั่นใจตอผูรับบริการและสาธารณชน โดยผูประกอบวิชาชีพตองประกอบวิชาชีพดวยวิธีการแหงปญญา (Intellectual Method) ไดรับการศึกษาอบรมมาอยางเพียงพอ (Long Period of Training) มีอิสระในการใชวิชาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพ (Professional Autonomy) และมีจรรยาบรรณของวิชาชีพ (Professional Ethics) รวมทั้งตองมีสถาบันวิชาชีพ (Professional Institution) หรือองคกรวิชาชีพ (Professional Organization) เปนแหลงกลางในการสรางสรรคจรรโลงวิชาชีพ  

วิชาชีพทางการศึกษา นอกจากจะเปนวิชาชีพชั้นสูงประเภทหนึ่งเชนเดียวกับวิชาชีพชั้นสูงอื่น เชน แพทย วิศวกร สถาปนิก ทนายความ พยาบาล สัตวแพทย ฯลฯ ซึ่งจะตองประกอบวิชาชีพเพื่อบริการตอสาธารณชนตามบริบทของวิชาชีพนั้นแลว ยังมีบทบาทสําคัญตอสังคมและความเจริญกาวหนาของประเทศ กลาวคือ  

1. สรางพลเมืองดีของประเทศ โดยการใหการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จะทําใหประชาชน เปนพลเมืองดีตามที่ประเทศชาติตองการ

2. พัฒนาทรัพยากรมนุษย เพื่อสนองตอบการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ของประเทศ

3. สืบทอดวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของชาติจากคนรุนหนึ่งไปอีก รุนหนึ่งใหมีการรักษาความเปนชาติไวอยางมั่นคงยาวนาน

จากบทบาทและความสําคัญดังกลาว พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. 2542 จึงกําหนดแนวทางในการดําเนินงานกํากับดูแลรักษาและพัฒนาวิชาชีพทางการศึกษา โดยกําหนดใหมีองคกรวิชาชีพครูผูบริหารสถานศึกษาและผูบริหารการศึกษา ใหมีอํานาจหนาที่กําหนดมาตรฐานวิชาชีพออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กํากับดูแลใหมีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาพ.ศ. 2546 ซึ่งเปนกฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพทางการศึกษา กําหนดใหวิชาชีพทางการศึกษา เปนวิชาชีพควบคุม ประกอบดวย

1. วิชาชีพครู

2. วิชาชีพผูบริหารสถานศึกษา

3. วิชาชีพผูบริหารการศึกษา

4. วิชาชีพควบคุมอื่นที่กําหนดในกฎกระทรวง

การกําหนดใหวิชาชีพทางการศึกษาเปนวิชาชีพควบคุมจะเปนหลักประกันและคุมครองใหผูรับบริการทางการศึกษาไดรับการศึกษาอยางมีคุณภาพ รวมทั้งจะเปนการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานวิชาชีพใหสูงขึ้น

การประกอบวิชาชีพควบคุม ครู ผูบริหารสถานศึกษา ผูบริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ที่กฎกระทรวงกําหนดใหเปนวิชาชีพควบคุม ตองประกอบวิชาชีพภายใตบังคับแหงขอจํากัดและเงื่อนไขของคุรุสภา ดังนี้

1. ตองไดรับใบอนุญาตใหประกอบวิชาชีพ โดยยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามที่คุรุสภากําหนด ผูไมไดรับอนุญาตหรือสถานศึกษาที่รับผูไมไดรับใบอนุญาตเขาประกอบวิชาชีพควบคุมในสถานศึกษา จะไดรับโทษตามกฎหมาย

2. ตองประพฤติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งตองพัฒนาตนเองอยางตอเนื่อง เพื่อดํารงไวซึ่งความรูความสามารถ และความชํานาญการตามระดับ คุณภาพของมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ

3. บุคคลผูไดรับความเสียหายจากการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ มีสิทธิ กลาวหาหรือกรรมการคุรุสภา กรรมการมาตรฐานวิชาชีพและบุคคลอื่น มีสิทธิกลาวโทษ ผูประกอบวิชาชีพที่ประพฤติผิดจรรยาบรรณได

4. เมื่อมีการกลาวหาหรือกลาวโทษ คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพอาจวินิจฉัย ชี้ขาดใหยกขอกลาวหา/กลาวโทษ ตักเตือน ภาคทัณฑ พักใชใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได และผูถูกพักใช หรือเพิกถอนใบอนุญาตไมสามารถประกอบวิชาชีพตอไปได

การกําหนดใหวิชาชีพทางการศึกษาเปนวิชาชีพควบคุม นับเปนความกาวหนาของวิชาชีพทางการศึกษา และเปนการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพใหสูงขึ้น อันจะเปนผลดีตอผูรับบริการทางการศึกษาที่จะไดรับการศึกษาอยางมีคุณภาพและมีมาตรฐานที่สูงขึ้นดวยซึ่งจะทําใหวิชาชีพและผูประกอบวิชาชีพทางการศึกษาไดรับความเชื่อถือ ศรัทธา มีเกียรติและศักดิ์ศรีในสังคม

มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา คือ ขอกําหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ และคุณภาพ ที่พึงประสงคในการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งผูประกอบวิชาชีพทางการศึกษาตองประพฤติปฏิบัติตาม เพื่อใหเกิดคุณภาพในการประกอบวิชาชีพ สามารถสรางความเชื่อมั่นศรัทธาใหแกผูรับบริการจากวิชาชีพไดวาเปนบริการที่มีคุณภาพ ตอบสังคมไดวาการที่กฎหมายใหความสําคัญกับวิชาชีพทางการศึกษา และกําหนดใหเปนวิชาชีพควบคุม นั้น เนื่องจากเปนวิชาชีพที่มีลักษณะเฉพาะตองใชความรู ทักษะและความเชี่ยวชาญในการประกอบวิชาชีพ ตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 มาตรา 49 กําหนดใหมีมาตรฐานวิชาชีพ 3 ดาน ประกอบดวย

1. มาตรฐานความรูและประสบการณวิชาชีพ หมายถึง ขอกําหนดสําหรับผูที่จะเขามาประกอบวิชาชีพ จะตองมีความรูและมีประสบการณวิชาชีพเพียงพอที่จะประกอบวิชาชีพ จึงจะสามารถขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเพื่อใชเปนหลักฐานแสดงวาเปนบุคคลที่มีความรู ความสามารถ และมีประสบการณพรอมที่จะประกอบวิชาชีพทางการศึกษาได

2. มาตรฐานการปฏิบัติงาน หมายถึง ขอกําหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในวิชาชีพใหเกิดผลเปนไปตามเปาหมายที่กําหนด พรอมกับมีการพัฒนาตนเองอยางตอเนื่อง เพื่อใหเกิดความชํานาญในการประกอบวิชาชีพ ทั้งความชํานาญเฉพาะดานและความชํานาญตามระดับคุณภาพของมาตรฐานการปฏิบัติงาน หรืออยางนอยจะตองมีการพัฒนาตามเกณฑที่กําหนดวามีความรู ความสามารถ และความชํานาญเพียงพอที่จะดํารงสถานภาพของการเปนผูประกอบวิชาชีพตอไปไดหรือไม นั่นก็คือการกําหนดใหผูประกอบวิชาชีพจะตองตอใบอนุญาตทุกๆ 5 ป  

3. มาตรฐานการปฏิบัติตน หมายถึง ขอกําหนดเกี่ยวกับการประพฤติตนของผูประกอบวิชาชีพ โดยมีจรรยาบรรณของวิชาชีพเปนแนวทางและขอพึงระวังในการประพฤติปฏิบัติ เพื่อดํารงไวซึ่งชื่อเสียง ฐานะ เกียรติ และศักดิ์ศรีแหงวิชาชีพตามแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพที่คุรุสภาจะกําหนดเปนขอบังคับตอไป หากผูประกอบวิชาชีพผูใดประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพทําใหเกิดความเสียหายแกบุคคลอื่นจนไดรับการรองเรียนถึงคุรุสภาแลว ผูนั้นอาจถูกคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพวินิจฉัย ชี้ขาดอยางใดอยางหนึ่ง ดังตอไปนี้

(1) ยกขอกลาวหา

(2) ตักเตือน

(3) ภาคทัณฑ์

(4) พักใชใบอนุญาตมีกําหนดเวลาตามที่เห็นสมควรแตไมเกิน 5 ป

(5) เพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (มาตรา 54)

สํานักงานเลขาธิการคุรุสภาไดดําเนินการศึกษาวิเคราะหเอกสารและงานวิจัย ที่เกี่ยวของสํารวจความคิดเห็นจัดประชุมสัมมนา ประชุมเชิงปฏิบัติการ ประชุมรับฟงความคิดเห็นของผูมีสวนเกี่ยวของ ทั้งดานการผลิต การพัฒนา และการประกอบวิชาชีพ รวมทั้งผูทรงคุณวุฒิ เพื่อนํามากําหนดเปนสาระสําคัญของมาตรฐานวิชาชีพ ซึ่งไดรับความเห็นชอบจากคณะกรรมการคุรุสภาในคราวประชุมครั้งที่ 5/2548 วันที่ 21 มีนาคม 2548 และที่ประชุม คณะกรรมการคุรุสภาครั้งที่ 6/2548 วันที่ 18 เมษายน 2548 ไดอนุมัติใหออกขอบังคับคุรุสภาวาดวยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพเปนที่เรียบรอยแลว

มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาเปนเครื่องมือสําคัญของผูประกอบวิชาชีพ ซึ่งจะตองประพฤติปฏิบัติ เพื่อใหเกิดผลดีตอผูรับบริการ อันถือเปนเปาหมายหลักของการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งผูประกอบวิชาชีพจะตองศึกษาเพื่อใหเกิดความรูความเขาใจที่ถูกตอง ใหสามารถนําไปใชในการประกอบวิชาชีพใหสมกับการเปนวิชาชีพชั้นสูงและไดรับการยอมรับยกยองจากสังคม

กล่าวโดยสรุปได้ว่าแนวทางการกำหนดนโยบายเพื่อการปฏิรูปการศึกษาจะต้องคำนึงประโยชน์ของประชาชนเป็นหลักสำคัญ ไม่ให้มีประโนชน์ทับซ้อน (Conflict Interest) และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยศึกษาความต้องการจำเป็น (Need Assessment) การศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibiliy Assessment) ก่อนตัดสินใจสร้างเป็นนโยบาย (Policy) และการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ (Implementation of Policy) ต่อไป

หมายเลขบันทึก: 456480เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2011 22:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 20:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท