การเสริมแรง (Reinforcement)


การเสริมแรง (Reinforcement)

รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ

เรื่อง การเสริมแรง (Reinforcement)

นายมานพ พุ่มจิตร

ผู้ฝึกประสบการณ์นิเทศการศึกษา รุ่น 5

วัตถุประสงค์  

เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับการเสริมแรง และ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้นักเรียนเห็นความสำคัญและสนใจการเรียนวิชาภาษาอังกฤษมากขึ้น

 

    การเสริมแรง หมายถึง การทำให้ผู้ทำพฤติกรรมเกิดความพึงพอใจ เมื่อทำพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งแล้ว เพื่อให้ทำพฤติกรรมนั้นซ้ำ ๆ อีก เช่น เมื่อนักเรียนตอบคำถามถูกต้อง ครูให้รางวัล (นักเรียนพอใจ) นักเรียนจะตอบคำถามอีกหากครูถามคำถามครั้งต่อ ๆ ไป  การทำให้ผู้ทำพฤติกรรมเกิดความพึงพอใจทำได้โดยให้ตัวเสริมแรง (Reinforcer) เมื่อทำพฤติกรรมแล้ว

ประเภทของการเสริมแรง  แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. การเสริมแรงบวก คือ การให้ตัวเสริมแรงบวก เมื่อทำพฤติกรรมที่กำหนด (ต้องการ) แล้ว เช่น ทำงานเสร็จแล้วได้รับค่าจ้าง ทำงานเป็นพฤติกรรมที่กำหนด เงินค่าจ้างเป็นตัวเสริมแรงบวก 2. การเสริแรงลบ คือ การให้ตัวเสริมแรงลบ เมื่อทำพฤติกรรมที่กำหนด (ต้องการ) แล้ว เช่น เมื่ออยู่ในห้องที่อบอ้าวเราจะเปิดหน้าต่าง เปิดหน้าต่างเป็นพฤติกรรมที่กำหนด หายอบอ้าวเป็นตัวเสริมแรงลบ หรือนักเรียนที่ตอบคำถามครูถูกจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำรายงานมาส่ง เป็นต้น

                      การเสริมแรงทำได้เป็น 2 ลักษณะ คือ 1. เสริมแรงต่อเนื่อง คือเสริมแรงทุกครั้งที่ทำพฤติกรรมถูกต้อง เหมาะสมกับการเรียนรู้พฤติกรรมใหม่  2. เสริมแรงเป็นบางครั้ง เหมาะสำหรับการรักษาพฤติกรรมที่เรียนรู้แล้วไว้ โดยไม่จำเป็นต้องมีการเสริมทุกครั้ง

                       เจ้าของทฤษฎี นี้คือ สกินเนอร์ (Skinner) กล่าวว่า ปฏิกริยาตอบสนองหนึ่งอาจไม่ใช่เนื่องมาจากสิ่งเร้าสิ่งเดียว สิ่งเร้านั้นๆ ก็คงจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นเดียวกันได้ ถ้าได้มีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้อง การนำทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมมาใช้กับเทคโนโลยีการศึกษานี้จะใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนให้เข้ากับลักษณะดังต่อไปนี้คือ 1. การเรียนรู้เป็นขั้นเป็นตอน (Step by Step) 2. การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียน (Interaction) 3. การได้ทราบผลในการเรียนรู้ทันที (Feedback) 4. การได้รับการเสริมแรง (Reinforcement)

                       แนวคิดของสกินเนอร์นั้น นำมาใช้ในการสอนแบบสำเร็จรูป หรือการสอนแบบโปรแกรม (Program Inattention) สกินเนอร์เป็นผู้คิดบทเรียนโปรแกรมเป็นคนแรก

                       การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยการเสริมแรง การเสริมแรงทางบวกจะดีกว่าทางลบ การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความใกล้ชิดระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง การเสริมแรงมีหลายวิธี อาจใช้วัตถุสิ่งของ หรือถ้อยคำที่แสดงความรู้สึกก็ได้ ที่สามารถสร้างบรรยากาศกระตุ้นให้ความพึงพอใจให้เกิดความสำเร็จหรือเครื่องบอกผลการกระทำว่าถูกผิด และอาจเป็นการส่งเสริมให้เกิดการเสริมแรงต่อๆ ไป การเสริมแรงควรจะต้องให้สม่ำเสมอ นอกจากนั้นหลักการเสริมแรงยังทำให้สามารถปรับพฤติกรรมได้ ควรจะให้การเสริมแรงทันที ที่มีการตอบสนองได้อย่างถูกต้อง ซึ่งควรจะเกิดขึ้นภายใน ประมาณ 10 วินาที ถ้าหากมีการตอบสนองที่ต้องการซ้ำหลายครั้งๆ ก็ควรเลือกให้มีการเสริมแรงเป็นบางคราว แทนที่จะเสริมแรงทุกครั้งไป ควรจะจัดกิจกรรมการเรียนให้เป็นไปตามลำดับจากง่ายไปยาก และเป็นตอนสั้นๆ ที่สอดคล้องกับความสามารถของผู้เรียน

                    การให้ข้อมูลป้อนกลับ (Giving Feedback) เป็นแนวทางหนึ่งในการใช้การเสริมแรงในการจัดการเรียนการสอน การให้ข้อมูลป้อนกลับ Giving Feedback หมายถึง คำหรือประโยคที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้

               ในการจัดการเรียนการสอน ครูผู้สอนควรให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อเป็นการกระตุ้นการเรียนรู้ของนักเรียน ครูผู้สอนสามารถนำการให้ข้อมูลป้อนกลับไปใช้ ในการตรวจสอบการทำงานของนักเรียน หรือในขณะที่นักเรียนนำเสนองาน เป็นต้น ประโยชน์ของการให้ข้อมูลป้อนกลับ ช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของนักเรียนและช่วยให้นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียน

              แนวทางการนำการให้ข้อมูลป้อนกลับไปใช้ในชั้นเรียน ทำได้ด้วยการพูดหรือเขียนคำหรือประโยคที่เป็นการชื่นชม เพื่อช่วยให้นักเรียนชอบและปรับปรุงการเรียนรู้ของตน ประเภทของการให้ข้อมูลป้อนกลับ มี 1. ข้อมูลป้อนกลับเชิงบวก Positive Feedback 2.ข้อมูลป้อนกลับเชิงลบ Negative Feedback   การให้ข้อมูลป้อนกลับเชิงลบอาจลดแรงจูงใจของนักเรียน ดังนั้นผู้สอนควรเปลี่ยนไปใช้การให้ข้อมูลป้อนกลับเชิงบวกแทน 

                      ผู้ศึกษาได้นำแนวคิดด้านการเสริมแรงโดยการให้ข้อมูลป้อนกลับ (Giving Feedback)ไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าตะคร้อ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 25 คน ทำการสอนตามแผนการสอนระยะเวลา 60 นาที และเก็บข้อมูลโดยการสังเกตบรรยากาศการเรียนรู้และให้นักเรียนตอบแบบสอบถามหลังการเรียน พบว่านักเรียนมีความสนุกสนาน มีความตื่นเต้นและ มีความสุขในการเรียนภาษาอังกฤษ นักเรียนได้เรียนรู้คำศัพท์เพิ่มมากขึ้น นักเรียนสามารถนำความรู้ที่เรียนไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ นักเรียนอยากเรียนเช่นนี้ทุกวัน เพราะชอบครู ต้องการให้ครูมาสอนอีกเพราะเป็นการสอนที่ไม่เครียด ต้องการให้ครูมาสอนอีกเพราะชอบการเล่นเกมที่ใช้ความคิด ชอบการออกเสียงภาษาอังกฤษ ชอบการเรียนที่มีการเล่นและการแข่งขัน ชอบการฟังภาษาอังกฤษ ชอบความตลกและอารมณ์ขันของครู

                  จะเห็นได้ว่าการให้การเสริมแรง การชมและการให้ข้อมูลป้อนกลับช่วยส่งเสริมให้บรรยากาศการเรียนการสอนมีความสนุกสนาน นักเรียนมีความสุขในการเรียน เกิดการเรียนรู้ที่ดี และพัฒนาไปถึงขั้นสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้  นอกจากนี้ยังพบว่า องค์ประกอบอื่นๆก็สามารถนำมาใช้เป็นการเสริมแรงได้ เช่น กิจกรรมการแข่งขัน เกมต่างๆ กิจกรรมที่เน้นทักษะการคิด อารมณ์ขันและความตลกของผู้สอน และบรรยากาศการเรียนการสอนที่ไม่เคร่งเครียดจนเกินไป เป็นต้น

เอกสารอ้างอิง

ประทีป จินงี่. (2540). เอกสารประกอบการสอนวิชา: การวิเคราะห์พฤติกรรมและการปรับ    พฤติกรรม (Behavior analysis and behavior modification). สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.

สถาบันภาษาอังกฤษ. 2551. คู่มือฝึกอบรมครูภาษาอังกฤษ ระดับประถมศึกษา เล่ม 6 Giving  Feedback. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์แห่งประเทศไทยจำกัด.

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต.(2526). การปรับพฤติกรรม (Behavior modification). พิมพ์ครั้งที่ 1.

            สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์. กรุงเทพฯ.

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต.(2549). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม (Theories and Techniques in

            Behavior modification). พิมพ์ครั้ง ที่ 6. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

โสภิดา ลิ้มวัฒนาพันธ์. (2538). การเปรียบเทียบผลของการปรับพฤติกรรมโดยใช้การควบคุมตนเองกับการเสริมแรงทางบวกด้วยเบี้ยอรรถกร ที่มีต่อการเพิ่มและการคงอยู่ของพฤติกรรมความ รับผิดชอบในงานทีไ ด้รับมอบหมายของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ ชั้น ปีที่ 1. ปริญญานิพนธ์ วท.ม. (การวิจัยมหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ)

How to praise your students. เข้าถึงได้จากhttp://www.princetonol.com/groups/iad/files/praise.htm

              (5 สิงหาคม 2554)

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 456174เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2011 21:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ

Ico64

การเสริมแรงสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้...พ่อแม่อยากให้ลูกตั้งใจเรียนหนังสือพ่อแม่ก็ต้องให้ความสนใจชื่นชมการเรียนและผลการเรียนของลูกนะคะ...ช่วยกันค่ะ...ครูเสริมแรงอยู่คนเดียวก็ไม่ไหวค่ะ

Reward (and punishment) is the most used form of re-enforcement.

Many parents reward their children with 'sweets', time waster toys (including hand-held game devices, mobile phones, computers, etc) and clothes without considering the side-effects like separation time (to play games), distraction from study, access to unhealthy things, and so on.

Perhaps, praise and (self-confident) status (not flattery nor lies) should be given more often than 'materialistic' things.

Like the good doctor says (above): ให้ ความสนใจ ชื่นชม การเรียน และ ผล การเรียนของลูก (my emphasis)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท