การเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-learning Tools)


ระบบการเรียนทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพสูง
การเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์

(E-learning Tools)
เป็น Explicit Knowledge
 
 
     E-Learning คือ ระบบการเรียนทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพสูง           
     สามารถเผยแพร่ข้อมูลได้อย่างกว้างขวางสามารถควบคุมลำดับชั้นของการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสร้างระบบ การสื่อสารภายในห้องเรียนที่ไม่มีข้อจำกัดในด้านเวลาและสถานที่และระบบการประเมินผลก็เป็นไปอย่าง ตรงไปตรงมาและเหนือสิ่งอื่นใด ระบบการเรียนรู้ E-learning ผู้เรียนจะต้องใช้ความรับผิดชอบสูงจึงจะ ประสบความสำเร็จ ในประเทศไทยมีสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาหลายแห่งให้ความสนใจ และ เริ่มต้นพัฒนาระบบการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการค้นการเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการ ความสะดวกและรวดเร็ว ความคงทนของข้อมูล รวมทั้งความสามารถในการทำข้อมูลให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
     บทบาทการเรียนการสอน E-learning ในประเทศไทย
          สังคมเทคโนโลยีสารสนเทศ IT E-learning เป็นการนำไอทีไปใช้ในด้านการส่งเสริมประสิทธิภาพด้าน การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ เช่นการนำมัลติมีเดียมาเป็นสื่อการสอนของครู/อาจารย์ ให้ผู้เรียน เรียนรู้ค้นคว้าด้วยตัวเอง ด้วยการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม
          ในยุคปัจจุบันเป็นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า Stand-alone หรือการเรียนผ่านเครือข่าย เชื่อมโยงสู่อินเทอร์เน็ตเพื่อการค้นคว้าหาข้อมูล แลกเปลี่ยนค้นข้อมูลความรู้บนเครือข่ายซึ่งที่ผ่านมาเราใช้สื่อ การเรียนการสอนในรูปแบบของสื่อผสม (Multimedia) ใช้การนำเสนอลงบนแผ่นซีดี-รอม โดยใช้ Authoring tool ทั้งภาพและเสียงเพื่อเกิดการปฏิสัมพันธ์ ให้กับผู้เรียนซึ่งสื่อเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะได้รับ ความสนใจสูงขึ้นเรื่อยๆ
     การเปรียบเทียบการเรียนการสอนแบบชั้นเรียนปกติกับ E-learning
          ชั้นเรียนปกติ
1. ผู้เรียนนั่งฟังการบรรยายในชั้นเรียน
2. ผู้เรียนค้นคว้าจากตำราในห้องสมุดหรือสิ่งตีพิมพ์ต่างๆ
3. เรียนรู้การโต้ตอบจากการสนทนาในชั้นเรียน
4. ถูกจำกัดด้วยเวลาและสถานที่
          E-learning
1. ใช้ระบบวีดีโอออนดีมานด์เรียนผ่านทางเว็บ
2. ค้นคว้าหาข้อมูลผ่านทางเว็บที่มีเครือข่ายเชื่อมโยงทั่วโลก สะดวก รวดเร็ว และทันสมัย
3. ใช้ระดานถาม-ตอบช่วยให้ผู้เรียนกล้าแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้เต็มที่ เหมาะกับผู้เรียนจำนวน มาก
4. จะเรียนเวลาไหน ที่ใดก็ได้
     เวลาของการศึกษาออนไลน์
           การศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ได้เจริญเติบโตไปทั่วทุกมุมโลก แนวโน้ม ของเทคโนโลยีดีขึ้น เร็วขึ้นและให้ผลตอบแทนที่มากขึ้นทำให้เกิดความต้องการที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ระบบการศึกษาทางอิเล็กทรอนิกส์กำลังพัฒนามาสู่แอพพลิเคชั่น รูปแบบใหม่ที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ ต้องปรับตัวให้ทันกับเทคโนโลยีใหม่ๆอยู่เสมอ
     อนาคตของระบบการศึกษาทางอิเล็กทรอนิกส์
          สิ่งหนึ่งที่สำคัญมากสำหรับการศึกษาทางอิเล็ก ทรอนิกส์จะเติบโตและเป็นที่แพร่หลายก็คือ การที่ระบบเครือข่ายมีเทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับการนำเสนอระบบ การเรียนการสอนที่น่าสนใจเช่น การใช้เสียงส่งสัญญาณวีดีโอตามความต้องการ ( Video on demand) และการประชุมผ่านสัญญาณวีดีโอ ในขณะเดียวกันก็ให้บริการที่เชื่อถือได้
          ประเภทของe-learning แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม
          1. Synchronous - ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ในเวลาเดียวกัน เป็นการเรียนแบบเรียลไทม์ เน้นผู้เรียน เป็นศูนย์กลาง เช่นห้องเรียนที่มีอาจารย์สอนนักศึกษาอยู่แล้วแต่นำไอทีเข้ามาเสริมการสอน
          2 . Asychronous- ผู้เรียนและผู้สอนไม่ได้อยู่ในเวลาเดียวกันไม่มีปฏิสัมพันธ์แบบเรียลไทม์ เน้นศูนย์กลางที่ผู้เรียนเป็นการเรียนด้วยตนเองผู้เรียน เรียนจากที่ใดก็ได้ที่มีอินเทอร์เน็ต โดยสามารถเข้าไป ยังโฮมเพจเพื่อเรียน ทำแบบฝึกหัดและสอบ มีห้องให้สนทนากับเพื่อร่วมชั้นมีเว็บบอร์ดและอีเมล์ให้ถาม คำถามผู้สอน แต่ละประเภทก็มีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันไป
          ข้อดี ของ Synchronous คือ ได้บรรยากาศสด ใช้กับกรณีผู้สอนมีผู้ต้องการเรียนด้วยเป็นจำนวนมาก และสามารถประเมินจำนวนผู้เรียนได้ง่าย
          ข้อเสีย ของ Synchronous คือ กำหนดเวลาในการเรียนเองไม่ได้ต้องเรียนตามเวลาที่กำหนดของคน กลุ่มใหญ่
          ข้อดี ของ Asynchronous คือ ผู้เรียน เรียนได้ตามใจชอบ จะเรียนจากที่ไหน เวลาใด ต้องการเรียน อะไรหรือให้ใครเรียนด้วยก็ได้
          ข้อเสีย ของ Asynchronus ไม่ได้บรรยากาศสด การถามด้วย chat หรือเว็บบอร์ดอาจไม่ได้รับการตอบ กลับ E – learning ในสถานศึกษา สามารถใช้ได้กับสถานศึกษา เริ่มจากที่มหาวิทยาลัย อาจารย์ให้นักศึกษา รับการบ้าน ส่งการบ้านทางอินเทอร์เน็ต มีการพัฒนานำเนื้อหาไว้ที่โฮมเพจของมหาวิทยาลัยให้นักศึกษาเข้า มาเรียนจากบ้านได้
          ประโยชน์จาก E-learning
          1 ความรู้ไม่สูญหายไปกับคนเพราะสามารถเก็บไว้ได้
          2 ประหยัดเวลาเดินทางและค่าใช้จ่าย
          3 ผู้เรียนเลือกได้ว่าต้องการเรียนกับอาจารย์ท่านใดหรือหลายท่านก็ได้

แหล่งอ้าอิง :http://server.telecomth.com/elearn.php

ตัวอย่าง

วิธีการเรียนออนไลน์ หลักสูตรบัญชีบัณฑิต 
1. วิธีการเข้าสู่ระบบการเรียนออนไลน์

• พิมพ์ URL
http://accountingonline.utcc.ac.th



พิมพ์ Username และ Password ที่ได้รับจากหลักสูตรฯ เพื่อเข้าศึกษาบทเรียน



คลิกเมนู Go to Learn  เพื่อสู่ระบบ LMS



คลิกเลือกรายชื่อวิชาตามที่ลงทะเบียน



คลิกเมนู เรียกดูห้องเรียน เพื่อศึกษาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์



2. วิธีการเรียนออนไลน์

• ควรศึกษาประมวลรายวิชา ที่แสดงไว้ในหน้าแรก เมื่อท่านเข้าสู่รายวิชาให้ละเอียด 
โดยทุกรายวิชาจะแสดงประมวลรายวิชา (Course Outline) ให้ผู้เรียนสามารถ Download เอกสารไปศึกษาได้ 
โดยผู้สอนจะระบุรายละเอียดเกี่ยวกับรายวิชา หัวข้อรายวิชา และวิธีการประเมินผลในแต่ละภาคเรียนไว้ให้อย่างละเอียด
• ควรศึกษาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ตามระยะเวลาที่กำหนดใน Course Outline
ตามแผนการเรียนที่อาจารย์ระบุไว้ใน Course Outline
• ควรติดตามการบ้านที่อาจารย์จะแจ้งให้นักศึกษาทราบผ่านกระดานข่าว (Webboard) 
และห้องสนทนา (Chat Room) ในรายวิชา
• นักศึกษาควรส่งการบ้านตามระยะเวลาที่อาจารย์กำหนด ผ่านระบบ LMS
• หากนักศึกษามีปัญหาในด้านการใช้งานระบบ สามารถศึกษาวิธีการส่งงาน การบ้าน
จากคู่มือการใช้งานระบบในหน้าเว็บไซต์ของหลักสูตร (ในส่วนหน้าเว็บไซต์ของสมาชิก) 
ซึ่งจะแสดงเป็นไฟล์ Word และ ไฟล์ VDO ให้เลือกศึกษา
• นักศึกษาสามารถสอบถามปัญหาด้านการเรียนการสอนกับผู้สอนผ่านกระดานข่าว และห้องสนทนาในรายวิชา
ซึ่งแต่ละรายวิชาผู้สอนจะระบุ Office Hours ให้นักศึกษาทราบผ่านกระดานข่าว และเมนู Announcement
ในระบบ LMS
• และก่อนสอบปลายภาคทุกภาคเรียน ผู้สอนจะบรรยายเสริมพิเศษให้นักศึกษาจำนวน 6 ชั่วโมง / รายวิชา
• หากผู้เรียนมีปัญหาการใช้งานระบบสามารถแจ้งผ่านหน้าเว็บไซต์ โดยคลิกที่ Banner แจ้งปัญหาที่ใช้งานระบบ
หรือติดต่อสอบถามที่เบอร์โทรศัพท์ 02-5028459-60 

3. วิธีการวัดและประเมินผล
 

• การส่งงานตามที่ได้รับมอบหมาย 
• การสอบกลางภาค โดยวิธีการจัดสอบออนไลน์ และจัดสอบปลายภาคที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 

แหล่งอ้างอิง :http://accountingonline.utcc.ac.th/content.php?ct_id=40

หมายเลขบันทึก: 456093เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2011 14:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 เมษายน 2012 19:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท