cha
นางสาว มาลินี cha โต๊ะหลี

การเรียนการสอนผ่านเว็บ


เว็บไซต์เพื่อการศึกษาของสหรัฐ เว็บไซต์นี้จะเสนอสารสนเทศทางด้านการบริหาร และทรัพยากรหลากหลายแก่นักการศึกษา สารสนเทศจากรัฐบาลช่วยนักการศึกษา ให้ทราบถึงภูมิหลังของสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ด้านการศึกษาของประเทศด้วย

การเรียนการสอนผ่านเว็บ

จัดอยู่ในประเภท Explicit Knowledge

ในปัจจุบันเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ตได้พัฒนาเติบโตอย่างรวดเร็ว และได้ก้าวมาเป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนการสอน การฝึกอบรม รวมทั้งการถ่ายทอดความรู้ โดยพัฒนา CAI เดิมๆ ให้เป็นสื่อการเรียนการสอนที่อยู่บนฐานของเทคโนโลยีเว็บ หรือ WBI (Web-based Instruction) ส่งผลให้การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนได้รับความนิยมอย่างสูง สามารถเผยแพร่ได้รวดเร็ว และกว้างไกลกว่าสื่อ CAI ด้วยประเด็นสำคัญได้แก่

  • คุณสมบัติของเอกสารเว็บที่สามารถนำเสนอข้อมูลได้ทั้งข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง วีดิทัศน์ และสามารถสร้างจุดเชื่อมโยง (Links) ไปตำแหน่งต่างๆ ได้ตามความต้องการของผู้พัฒนา
  • บริการต่างๆ ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้เกิดช่องทางการสื่อสารระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนในระบบ 7 x 24 และไม่จำกัดด้วยสถานที่

 

     การเรียนการสอนผ่านเว็บ ( Web base Instruction ) จึงหมายถึง การรวมคุณสมบัติของสื่อหลายมิติ (Hypermedia) กับ คุณลักษณะของอินเตอร์เน็ตและเวิล์ดไวด์เว็บ มาออกแบบเป็นเว็บเพื่อการเรียนการสอน สนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายที่สามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา โดยมีลักษณะที่ผู้เรียนและผู้สอนมี ปฏิสัมพันธ์กันโดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงถึงกัน

 

เวิลด์ไวด์เว็บเป็นรูปแบบหนึ่งที่นิยมใช้กันมากในอินเทอร์เน็ตขณะนี้ เนื่องจากเป็นแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่มีความสามารถหลายอย่างเช่น สามารถใช้ในการโต้ตอบ ทั้งข้อมูลที่เป็นรูปภาพ ตัวอักษร ภาพเคลื่อนไหว และเสียง จึงเหมาะอย่างยิ่งที่จะหยิบเอาความสามารถทั้งหลายเหล่านี้มาใช้ในการศึกษาทั้งในวงกว้างและในด้านการเรียนการสอน สำหรับเว็บเพื่อการศึกษานั้นจะใช้ได้ในรูปแบบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

ทรัพยากรทางด้านการศึกษา

เว็บเป็นแหล่งในการเสนอทรัพยากรด้านการศึกษาเพื่อการสืบค้นข้อมูลให้นักการศึกษาทั่วไป ได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น

อารส์กอีริก (AskERIC ) เป็นการบริการจัดการหาสารสนเทศสำหรับนักการศึกษาที่สอนในระดับตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยเป็นส่วนหนึ่งของศูนย์สารสนเทศทรัพยากรการศึกษา ( Educational Resources Information Center : ERIC) ที่เราเรียกสั้นๆว่า “ อีริก” ซึ่งเป็นแหล่งเผยแพร่สารสนเทศและเทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกา อารส์กอีริกตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยซีราคิวส์ (Syacuse University) โดยมีการจัดตั้งห้องสมุดเสมือน (Virtual Library) เพื่อเชื่อมต่อครูผู้สอนกับทรัพยากรต่างๆ ผ่านทางสายเชื่อมตรง นอกจากนี้ อารส์กอีริกยังมีการเชื่อมต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญสารสนเทศข่ายงาน (Network Information Specialists : NIS) ที่สามารถตอบคำถามแก่ผู้สอนที่ถามเข้ามาได้

 

รูปที่ 1 http://eric.ed.gov/

[4]

 

 

เว็บไซต์เพื่อการศึกษาของสหรัฐ เว็บไซต์นี้จะเสนอสารสนเทศทางด้านการบริหาร และทรัพยากรหลากหลายแก่นักการศึกษา สารสนเทศจากรัฐบาลช่วยนักการศึกษา ให้ทราบถึงภูมิหลังของสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ด้านการศึกษาของประเทศด้วย

สคูลเน็ตของไทย เป็นการเชื่อมโยงโรงเรียนทั่วประเทศไว้ในอินเทอร์เน็ต เพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอน

 

รูปที่ 2 http://www.school.net.th

 [4]

 

แหล่งการศึกษา

เป็นการรวบรวมเว็บไซต์ของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เพื่อให้ผู้สนใจสามารถค้นหาหมวดวิชาหรือ สถานศึกษาตามความสนใจ และบางครั้งยังสามารถติดต่อผู้สอนในวิชาต่าง ๆได้ด้วย

มหาวิทยาลัยแห่งเท็กซัส เมืองออสติน สหรัฐอเมริกา ได้จัดหน้าโฮมเพจในหัวเรื่อง World Lecture Hall (WLH) เพื่อบรรจุการเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ของผู้สอนในสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วโลกซึ่งส่วนมากจะอยู่ในระดับมหาวิทยาลัย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียกดู และเรียนในวิชาต่าง ๆได้ โดยเว็บไซต์นี้จะมีอยู่กว่า 82 สาขาวิชา เช่น สถาปัตยกรรม ศิลปะและประวัติศาสตร์ศิลปะ ดาราศาสตร์ นิเทศศาสตร์ ภาษาศาสตร์ จิตวิทยา ฯลฯ ผู้เรียนสามารถดูลักษณะรายวิชาตามหลักสูตร เนื้อหาบทเรียน ตารางการเรียน งานที่สั่งให้ทำ และรายชื่อหนังสืออ่านประกอบการเรียนเมื่อเรียกดูเว็บไซต์ของผู้สอนแต่ละคน เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยนี้

 

รูปที่ 3 http://www.utexas.edu/world/lecture [4]

 

สารระบบของสถาบันการศึกษาทางไกลทางอินเทอร์เน็ต ( Directory of Univesities and Tainning Institutes) เป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมรายชื่อมหาวิทยาลัยและสถาบันที่ทำการสอนและฝึกอบรมในหลักสูตรวิชาต่าง ๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยมีโปรแกรมการศึกษาทั้งในระดับปริญญาระดับบัณฑิตและปริญญาระดับมหาบัณฑิต รวมทั้งหลักสูตรอบรมทางด้านวิชาชีพต่าง ๆ ด้วย ผู้ใช้สามารถคลิกเลือกเว็บไซต์เพื่อเชื่อมโยงไปยังสถาบันเหล่านั้นได้ทันที

โรงเรียนบนเว็บไซต์ ( Schools on the Web)

เป็นการสร้างเว็บไซต์ของโรงเรียน และสถาบันการศึกษาเพื่อเผยแพร่สารสนเทศให้แก่ผู้เรียน และผู้สอนในลักษณะโรงเรียนบนเว็บ นอกจากนี้ การใช้เว็บจะช่วยนักการศึกษาได้สร้างภาพพจน์ที่ดีของโรงเรียน ให้แก่ผู้ที่เข้ามาสำรวจในเว็บไซต์รวมถึงการเผยแพร่ทางวิชาการได้ ตัวอย่างเช่น

โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จะมีการนำเสนอเกี่ยวกับประวัติ ข้อมูลต่างๆของโรงเรียนทั้งกิจกรรมในโรงเรียน ผลงานของอาจารย์และนักเรียน รวมถึงรายละเอียดต่าง ๆ ที่ทางโรงเรียนต้องการนำเสนอ

 

รูปที่ 4 http://www.yupparaj.ac.th

 [4]

 

สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา

สื่อมวลชน เช่น หนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ เป็นแหล่งที่เอื้อทางการศึกษาได้เป็นอย่างดี โดยสื่อเหล่านี้จะจัดตั้งเว็บไซต์เป็นของตนเอง และมีหัวข้อเฉพาะด้านการศึกษา เพื่อเผยแพร่ ความรู้ในด้านต่าง ๆ เช่น

หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ มีเว็บเพจในลักษณะข่ายการเรียนรู้ ในเว็บนี้นอกจากจะนำเสนอข่าวเพื่อการศึกษาแล้ว ยังเสนอเรื่องราวความรู้เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่สำคัญทางด้านการศึกษาทั้งในอดีตและปัจจุบัน ตอบปัญหาทางการศึกษา

 

รูปที่ 5 http://www.nytimes.com/learning [4]

 

ลักษณะของเว็บไซต์เพื่อการสอน นอกจากการใช้เว็บเพื่อการศึกษา เพื่อการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ใน วงการศึกษาแล้ว เรายังสามารถใช้เว็บเพื่อการเรียนการสอนโดยตรงได้ด้วย ด้วยการนำเสนอโครงการต่างๆ บนเว็บเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ หรือการเสนอ มอดูล ( Modules) บทเรียนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนจากเนื้อหาได้ ตัวอย่างเช่น

กระตุ้นในการเรียนรู้ การใช้เว็บจะมีความแตกต่างจากการเรียนในห้องเรียนแบบเก่า ที่มีเพียงแค่การใช้ผู้สอนเพียงคนเดียวในการให้ความรู้แก่ผู้เรียน ทั้งนี้เนื่องจากเว็บสามารถให้การเชื่อมโยงโดยตรงระหว่างผู้เรียนและฐานความรู้ ตัวอย่างเช่น โครงการเจสัน ( JASON project) ที่มีความพยายามให้ผู้เรียนได้ร่วมในการสำรวจ โดยก่อนที่จะมีการเริ่มโครงการนี้ ในปี พ.ศ. 2528 ดร.โรเบิร์ต ดี. บัลลาร์ด ( Dr.Robert D. Ballard) และทีมคณะนักสำรวจได้ค้นพบซากเรือไททานิก ( Titanic) บนพื้นมหาสมุทรแอตแลนติก ในการสำรวจซากเรือนี้แทนที่จะมีการถ่ายภาพของซากเรือ แต่คณะสำรวจได้ประดิษฐ์หุ่นยนต์ที่ทำงานใต้น้ำได้ และให้ชื่อว่า “ เจสัน ” (Jason) จากความสำเร็จในการทำงานของเจสันและความกระตือรือร้น ในความอยากเรียนรู้ของเด็กนักเรียนว่าทีมสำรวจนี้ ทำงานอย่างไร จึงทำให้ ดร.บัลลาร์ด ก่อตั้งโครงการเจสันขึ้นในปี พ.ศ. 2532 และในปีต่อมาได้มีการก่อตั้งมูลนิธิเจสันเพื่อการศึกษาขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความตื่นเต้นและกระตุ้น ความอยากเรียนรู้ของนักเรียนในแขนงวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงการฝึกอบรมครูผู้สอนในสาขาวิชานี้ คุณสมบัติอย่างหนึ่งของโครงการเจสัน คือ การปรากฏระยะไกล ( Telepresence) โดยการที่นักวิทยาศาสตร์ใช้อุปกรณ์รับรู้ระยะควบคุมระยะไกลในการสำรวจ ผู้ที่สนใจโครงการนี้สามารถเข้าไปสำรวจในเว็บไซต์ http://jasonpoject.org โฮมเพจของเว็บไซต์นี้จะเสนอข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ รวมถึงเนื้อหาสาระสนเทศอื่น ๆ สำหรับผู้ที่สนใจ

 

รูปที่ 6 http://quest.src.nasa.gov/anfarctica/index.html [4]

 

มอดูลการสอน ( Tutoial Modules) นอกจากสารสนเทศที่เสนอโดยสถาบันการศึกษาแล้ว ยังมีเว็บไซต์ต่างๆที่บรรจุเนื้อหาความรู้ที่เกี่ยวกับการเรียนและการสอนไว้ด้วย เว็บเหล่านี้จะลงลึกในหัวข้อเฉพาะเพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถค้นคว้าสารสนเทศและแนวคิดต่างๆ ได้โดยเนื้อหาที่เสนอในมอดูลการสอนจะเป็นตัวอย่างของเว็บไซต์ที่ใช้ในการสอนนักเรียนในเนื้อหาเฉพาะ ตัวอย่างเช่น ห้องปฏิบัติการลอเรนซ์ เบิร์กเลย์ ( Lawrence Bekeley Laboratoy) ในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ได้สร้างกบเสมือน เพื่อสามารถชำแหละเพื่อการศึกษาทางอินเทอร์เน็ตได้ กบที่สร้างขึ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการกบทั้งหมด ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักเรียนชั้นมัธยมในวิชา ชีววิทยาเพื่อสำรวจค้นคว้าในโครงสร้างร่างกายของกบโดยใช้โปรแกรมสามมิติ รวมถึงการเสนอภาพเคลื่อนไหวประกอบบทเรียนด้วย ผลลัพธ์ของโครงการนี้ไม่เพียงแต่ทำให้โครงการสามารถสร้างเครื่องมือที่เป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ได้เท่านั้น แต่ยังสามารถแสดงสาธิตภาพสามมิติของร่างกาย และทำให้ผู้เรียนสร้างจินตนาการภาพสามมิติเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนได้

 

รูปที่ 7 http://dsd.lbl.gov/ttg.hm.pg/whole.frog เว็บไซต์ที่สอนเรื่องโครงสร้างของกบ [4]

 

การสอนบนเว็บ นอกจากการกระตุ้นการเรียนรู้และมอดูลการสอนตามที่กล่าวมาแล้ว ยังมีการใช้เว็บเพื่อการสอนโดยตรงเต็มรูปแบบโดยการจัดเป็นหลักสูตรต่าง ๆ ในลักษณะการศึกษาทางไกล หรือจะใช้เว็บเพื่อเสริมการเรียนการสอนในชั้นเรียนก็ได้เช่นกัน ซึ่งจะกล่าวในลำดับต่อไป

องค์ประกอบของการสอนบนเว็บ การสอนบนเว็บเป็นคำที่ใช้เรียกกันทั่วไปในภาษาไทย โดยมาจากความหมายของภาษาอังกฤษว่า “Web-Based Instruction” ซึ่งถ้าจะแปลกันอย่างจริงๆ แล้วต้องเรียกว่า “ การสอนโดยการใช้เว็บเป็นฐาน ” แต่คำนี้อาจฟังดูเข้าใจยาก จึงทำให้เราเรียกชื่ออีกแบบและนิยมพูดกันจนติดปากว่า “ การสอนบนเว็บ ” “ การสอนด้วยเว็บ ” “ การสอนผ่านเว็บ ” แต่ทุกคำนั้นก็ล้วนมีความหมายเดียวกัน การสอนโดยใช้เว็บเป็นสื่อนั้น อาจมีการบรรจุเนื้อหาวิชาทั้งหมดบนเว็บ หรือเป็นวิชาที่เสริมการเรียนรู้ หรือการใช้ทรัพยากรบนเว็บ มาช่วยในการเรียน

ความหมายของการสอนบนเว็บ นักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายของการสอนบนเว็บไว้ ดังนี้

พาร์สัน [5] ได้ให้ความหมายไว้ว่า เป็นการสอนโดยใช้เว็บทั้งหมด หรือเพียงบางส่วนเท่านั้นในการส่งความรู้ไปยังผู้เรียน การสอนลักษณะนี้มีหลายรูปแบบและมีคำที่เกี่ยวข้องหลายคำ อาทิเช่น วิชาออนไลน์ (Couseware Online) และการศึกษาทางไกลออนไลน์ ( Distance Education Online) เป็นต้น

ข่าน [5] ได้ให้ความหมายไว้ว่า การสอนบนเว็บเป็นโปรแกรมการเรียนการสอนในรูปแบบของสื่อหลายมิติ ( Hypermedia) ที่นำคุณลักษณะและทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่ในเวิลด์ไวด์เว็บมาใช้ประโยชน์ในการจัดสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้

รีแลนและกิลลานิ [5] ได้กล่าวไว้ว่า การสอนบนเว็บเป็นการประยุกต์อย่างแท้จริงของการใช้วิธีการต่าง ๆ มากมาย โดยการใช้เว็บเป็นทรัพยากรเพื่อการสื่อสารและใช้เป็นโครงสร้างสำหรับการแพร่กระจายการศึกษา

คลาก [5] ได้ให้ความหมายไว้ว่า การสอนบนเว็บเป็นการสอนรายบุคคล โดยการใช้ข่ายงานคอมพิวเตอร์สาธารณะหรือข่ายงานส่วนบุคคล โดยการใช้โปรแกรมค้นดูในการเสนอผล และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยผ่านข่ายงาน

จากความหมายดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การสอนบนเว็บเป็นการใช้เว็บในการเรียนการสอน โดยอาจใช้เว็บเพื่อนำเสนอบทเรียนในลักษณะสื่อหลายมิติ ของวิชาทั้งหมดตามหลักสูตร หรือใช้เป็นเพียงการเสนอข้อมูลบางอย่างเพื่อประกอบการสอนก็ได้ รวมทั้งใช้ประโยชน์จากคุณลักษณะต่างๆ ของการสื่อสารที่มีอยู่ในระบบอินเทอร์เน็ต เช่น การเขียนโต้ตอบกันทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ และการพูดคุยสดด้วยข้อความเสียง มาใช้ประกอบด้วยเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

องค์ประกอบของการสอนบนเว็บ องค์ประกอบในการสอนบนเว็บจะมีหลายอย่าง โดยอาจใช้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งหมดในการสอนก็ได้ องค์ประกอบมีดังต่อไปนี้

ข้อความหลายมิติ
ข้อความหลายมิติ ( Hypertext) เป็นการเสนอเนื้อหาตัวอักษร ภาพกราฟิกอย่างง่าย ๆ รวมถึงเสียง ในลักษณะที่ไม่เรียงลำดับกันเป็นเส้นตรง ในสภาพแวดล้อมของเว็บนี้การใช้ข้อความหลายมิติจะให้ผู้ใช้คลิกส่วนที่เป็น “ จุดพร้อมโยง ” (Hot Spot) ซึ่งก็คือ “ จุดเชื่อมโยงหลายมิติ ” (Hypertext) นั่นเอง โดยอาจเป็นภาพหรือข้อความสีขีดเส้นใต้ เพื่อเข้าถึงแฟ้มที่เชื่อมโยงกับจุดพร้อมโยงนั้น

สื่อหลายมิติ
สื่อหลายมิติ ( Hypermedia) ซึ่งเป็นการพัฒนาการของข้อความหลายมิติ ( Hypertext) เป็นวิธีการในการรวบรวมและเสนอข้อความ ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ซึ่งต้องใช้คอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะที่สูงขึ้นไป ในการประมวลผล เพราะมีต้องใช้โปรแกรมช่วยในการแสดงผลภาพและเสียง เช่น เรียลเพลเยอร์ (RealPlayer)

การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer-Assisted Instruction : CAI) และการอบรมใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐาน (Computer-Based Training : CBT) หรือที่เรียกรวมกันโดยทั่วไปว่า “ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ” นับเป็นรูปแบบพื้นฐานสำคัญอย่างหนึ่งของการสอนบนเว็บ ทั้งนี้เนื่องจากโดยทั่วไปแล้วการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน จะมีกิจกรรมที่ทำให้ผู้เรียนสามารถมีการโต้ตอบกับโปรแกรมบทเรียนได้ กิจกรรมนี้อาจอยู่ในลักษณะของคำถาม การทดสอบ เกม ฯลฯ

การสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์
การสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์ (Computer-Mediated Communication : CMC) เป็นวิธีการที่ข้อมูลหรือข้อความถูกส่งหรือได้รับทางคอมพิวเตอร์ การใช้อินเทอร์เน็ตจะทำให้สามารถใช้ความสามารถของอินเทอร์เน็ตได้หลายอย่าง เพื่อจุดประสงค์ด้านการเรียนการสอน เช่น การใช้อีเมล์และการประชุมทางไกล ที่ทำให้ผู้เรียนสามารถสื่อสารกันได้ในทันที

 

ข้อมูลอ้างอิง

         สุริยันต์ เงาะเศษ, 2549,การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์การสอนวิชาการโปรแกรมด้วย XML, วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะกรุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี,บทที่ 2.

แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม (Learning Root)

         http://www.thaiwbi.com

         http://www.mini-devil.com/wbi

หมายเลขบันทึก: 456064เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2011 14:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะ

เนื่องจากทางทีมงานได้ติดตามการใช้งานของน้องๆ และคิดว่าว่าการใช้งานของน้องๆ น่าจะได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ผู้สอนเพื่อเข้ามาใช้งานเพื่อการเรียนการสอน

ทางทีมงานจึงอยากจะขอรบกวนน้องๆ แจ้งอาจารย์ผู้สอนให้แนะนำน้องๆ ใช้งานที่เว็บไซต์ Class.in.th ที่ได้พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นระบบสำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่อาจารย์และศึกษาค่ะ

รบกวนน้องแจ้งอาจารย์ให้อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากบันทึกเปิดตัว Class.in.th ระบบจัดการเรียนการสอนของไทย นี้นะค่ะ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท