วงจรโครงการของภาคเอกชน


วงจรการบริหารโครงการของภาคเอกชน

     อำนาจการตัดสินใจอยู่ที่เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารที่มีอำนาจสูงสุด  (Chief Executive Office  :  CEO)  ถ้าขนาดใหญ่อาจบริหารในรูปคณะกรรมการ  ช่วยพิจารณาตัดสินใจ  โดยมุ่งผลประโยชน์หรือกำไรให้องค์กรเจริญรุ่งเรืองโดยพิจารณาถึงแนวปฏิบัติของตนเอง  รวมทั้งนโยบาย  ระเบียบ  แบบแผนที่ทางราชการกำหนดไว้  โดยมีวงจรโครงการ  ๔  ขั้นตอน  ดังนี้

        ๑.  การกำหนดแนวคิดโครงการ  (Conceptualization or project identification)  เจ้าของกิจการ  หรือผู้บริหารสูงสุดจะเป็นผู้ตัดสินกำหนดแนวคิด  (project ideas)  เป็นศูนย์กลางของวงจรโครงการที่จะขับเคลื่อนกิจกรรมในขั้นตอนอื่น ๆ  ต่อไป  ถือเป็นข้อกำหนดเงื่อนไขของโครงการ  (terms of reference : TOR)  ที่นักวางแผนในหน่วยงาน  หรือบริษัทที่ปรึกษาที่ได้รับการว่าจ้างจะใช้เป็นประโยชน์ในการวางแผนให้เป็นไปตามความต้องการของเจ้าของโครงการ  หรือผู้ว่าจ้าง  เป็นที่มาของโครงการ  สำหรับความคาดหวังของกิจการในอนาคต

        ๒.  การวางแผนโครงการ  (project planning)  ผู้บริหารระดับสูงมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  (ภายในบริษัท  หรือจ้างเหมาหน่วยงานที่เชี่ยวชาญ)  นำแนวคิดที่กำหนดไปวางแผนวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการในด้านต่าง ๆ  แล้วเสนอผลการประเมินความเหมาะสมพร้อมกับกำหนดรายละเอียดด้านต่าง ๆ  ตามที่กำหนดไว้ใน  TOR  ส่งให้ผู้บริหารตัดสินใจว่าจะลงทุนโครงการนั้นหรือไม่

        ๓.  การดำเนินงานโครงการ  (project implementation)  การตัดสินใจของนักบริหารในการลงทุนทำโครงการ  โดยมอบหมายให้หน่วยงานภายในบริษัท  หรือจ้างเหมาผู้รับจ้างดำเนินงานโครงการให้แล้วเสร็จโดยการจัดทำแผนดำเนินงาน  (operation plan)  ระบุกิจกรรม  เวลา  งบประมาณ  ผู้รับผิดชอบ  ฯลฯ  ให้สอดคล้องกับรายละเอียดที่นักวางแผนได้จัดทำไว้  เจ้าของโครงการจะจัดตั้งองค์กรโครงการขึ้นเพื่อควบคุมการจัดโครงการของสำนักงาน  ที่มีผู้รับผิดชอบหลักคือ  ผู้บริหารโครงการและทีมงานให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด

        ๔.  การยุติและการส่งมอบโครงการ  (project termination and hand-over)  ผู้บริหารโครงการจะยุติโครงการที่ดำเนินงานแล้วเสร็จตามแผนการดำเนินงานแล้วส่งผลงานโครงการให้หน่วยงานเจ้าของโครงการเพื่อทำการตรวจการจ้าง  และตรวจรับงานและปิดโครงการ  ถ่ายโอนโครงการไปสู่การทำงานประจำของหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายต่อไป

     วงจรโครงการของภาคเอกชน  ถือว่าขั้นการกำหนดแนวคิดของโครงการ  (TOR)  และขั้นการวางแผน  วิเคราะห์โครงการ  เป็นขั้นที่สำคัญที่จะใช้เป็นบรรทัดฐานของการดำเนินงานในขั้นอื่น ๆ  ต่อไป

อ้างอิงจาก

เจริญวิชญ์  สมพงษ์ธรรม.  (2554).  การบริการและประเมินโครงการ = Project Management and

             Evaluation.  มปท. : มนตรี.

หมายเลขบันทึก: 455744เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2011 22:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 12:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท