ความงามของศิลปะตามทัศนะของเพลโต


บทนำ

๑. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา  

     ความสำคัญของปัญหาทางพฤติกรรมทางการใฝ่รู้ของมนุษย์ในเรื่องศิลปะนับวันจะกว้างขวางขึ้นจนมีขอบเขต    และให้ประโยชน์แก่มนุษย์ตลอกเวลาที่มีชีวิตอยู่  แม้ว่ามนุษย์ ได้เปรียบความรู้ทางด้านศิลปะซึ่งให้ประโยชน์ทางด้านจิตใจแก่มนุษย์อย่างมากมายจะนับเป็นปัจจัยที่ห้าก็ต่อเมื่อมนุษย์ได้ปัจจัยสี่พร้อมแล้ว  แต่ก็มีหลายท่านได้ตระหนักดีว่า  หากจะใฝ่รู้ทั้งเรื่องที่สร้างประโยชน์ให้ทั้งทางกายและทางด้านจิตให้แก่ตนเอง  ชีวิตก็จะสมบูรณ์ยิ่งขึ้น   ความใฝ่รู้เรื่องศิลปะสามารถทำได้หลายวิธี  ตั้งแต่วิธีเข้าไปฝึกหัดทำหรือไม่ศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะเพื่อรู้และเข้าใจวิวัฒนาการ  หรือไม่ก็เป็นนักวิจารณ์ศิลปะตามที่กล่าวข้างต้น  และเหมาะสมสำหรับเราท่านที่ชอบใฝ่รู้  คือเป็นผู้บริโภคที่ดี  วิธีนี้สามารถทำให้ได้ประโยชน์ทางจิตจากศิลปะได้เต็มที่เช่นเดียวกัน  โดยที่ท่านใฝ่รู้ในเรื่องทฤษฎีของความงามหรือที่เรียกว่าสุนทรียศาสตร์ตามที่ท่านคุ้นหู  ได้เปรียบบุคคลกลุ่มแรกก็ตรงที่ว่า  สามารถบริโภครสสุนทรีย์จากผลงานที่ผู้อื่นได้สร้างสรรค์เอาไว้  เช่น  ทัศนะของเพลโต้ (Plato) ซึ่งเป็นนักปรัชญากรีก ยุคคลาสสิก ผู้คิดทฤษฎีที่ว่า ศิลปะคือการเลียนแบบโลกธรรมชาติ (Art as Representation) หรือ ทฤษฎีการเลียนแบบ (Theory of Representation)   

     ความเป็นมาสุนทรียศาสตร์ เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยค่านิยมทางความงามหรือปรัชญาแห่งความงาม  เป็นชื่อที่ถูกบัญญัติมาประมาณ ๒๐๐ ปีมานี่เอง  เป็นเรื่องรู้จักดีกว่า  ๓,๐๐๐ ปี   ตั้งแต่สมัยของปรัชญาเมธีกรีก  ๒ ท่าน คือ  เพลโต  และอริสโตเติล  แต่รู้จักกันในนามของคุณค่าของความงามที่เกิดจากศิลปะต่อมนุษย์  ได้กล่าวว่า  สุนทรียศาสตร์เป็นทฤษฎีว่าด้วยค่านิยมซึ่งเดินเราเคยใช้คำว่าคุณค่า  ค่านิยมนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสังคมของมนุษย์  ซึ่งมีความเชื่อและทัศนคติไม่คงที่  ยิ่งเป็นค่านิยมทางความงามด้วยแล้ว  ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง  บางครั้งก็เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบหมุนวนเวียนเป็นวัฎจักร  งานศิลปะบางชิ้นมีค่านิยมสูงมากสำหรับกาลสมัยหนึ่ง  และอาจเสื่อมลงในกาลต่อมาและแล้วก็กลับมีค่านิยมสูงขึ้นอีกครั้ง  ดังนี้เป็นต้น  

๒.  วัตถุประสงค์การวิจัย

      วัตถุประสงค์การวิจัยความงามของศิลปะในสุนทรียศาสตร์  ดังนี้

       ๑.  เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องความงามของศิลปะตามทัศนะของเพลโต

       ๒.  เพื่อศึกษาการให้เหตุผลสนับสนุนและคัดค้านทางความงามของศิลปะตามทัศนะของเพลโต

      ๓.  เพื่อศึกษาวิเคราะห์ทฤษฎีการเลียนแบบทางศิลปะตามทัศนะของเพลโต


                      

หมายเลขบันทึก: 455673เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2011 15:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

คำนิยามของศิลปะนั้นเป็นเรื่องที่ทำได้โดยยากเพราะผู้ให้คำนิยามแต่ละคนมักจะเน้นด้านใดด้านหนึ่งที่ตนเห็นว่าสำคัญที่สุด อย่างไรก็ตามคำนิยามเหล่านี้สามารถทำให้เราเข้าใจศิลปะในแง่มุมต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

๖.๑. สุนทรียศาสตร์ คือ การค้นหาความหมายของความพึงพอใจทางสุนทรียะ ลักษณะวัตถุวิสัยหรือจิตวิสัยของความงาม ธรรมชาติของความงาม กำเนิดและธรรมชาติของแรงกระตุ้นให้เกิดศิลปะ

๖.๒. ศิลปะ คือการเลียนแบบธรรมชาติ ศิลปะ เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นมาเลียนแบบความเป็นจริงที่มีในธรรมชาติ โดยการถ่ายทอดจากธรรมชาติเป็นผลงานทางศิลปะโดยศิลปินไม่ต้องเลียนแบบทุกอย่างที่มีอยู่ แต่เลือกเท่าที่จำเป็นหรือเห็นว่าเหมาะสม

๖.๓. การเลียนแบบ คือ การที่บุคคลทำการเปลี่ยนพฤติกรรมหรือนำพฤติกรรมของ กลุ่มอ้างอิงมาดัดแปลงใช้ การเลียนแบบเกิดขึ้นเพราะผู้เลียนแบบเห็นว่าจะนำไปสู่ผลในทางบวก แต่หากการเลียนแบบจะทำให้เกิดผลในทางลบก็จะทำการหลีกเลี่ยง

๖.๔. คุณค่า คือ ลักษณะที่ควรจะเป็น หรือควรจะมีของสิ่งนั้น ๆ หรือการกระทำนั้น ๆ คุณค่านั้นมีลักษณะเป็นนามธรรม จับต้อง มองเห็นไม่ได้ เราจึงถือว่า คุณค่านั้นเป็นอุดมคติ คือ สภาพที่ทุก ๆ สิ่งต้องการเข้าถึง หรือไปให้ถึงจุดนั้นโดยคุณค่านั้นมีความแตกต่างจากข้อเท็จจริงอย่างชัดเจน

๖.๕. ความงาม คือ ความพอใจอันเกิดจากความประทับใจในความกลมกลืนกันอย่างเหมาะสมของรูปทรงชวนคิดของศิลปวัตถุกับความหมายของอาเวค หรือความคิดที่ทำให้ใจเพลิดเพลินอย่างลึกซึ้ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท