ปัจจัยที่จะส่งผลให้นักบริหารประสบความสำเร็จหรือความล้มเหลว ในการทำงาน


ความสำเร็จหรือความล้มเหลว ในการทำงาน

นโยบายและการวางแผนทางการศึกษา : ปัจจัยที่จะส่งผลให้นักบริหารประสบความสำเร็จหรือความล้มเหลว ในการทำงาน

         นักบริหารหลายท่าน คงคุ้นเคยกันดีกับคำว่า “นโยบาย ” หรือคำว่า “การวางแผน” เพราะใช้ นโยบาย มามากและผ่านประสบการณ์การวางแผนมามากมายเช่นเดียวกัน แต่ท่านเคยสงสัยหรือไม่ว่า เหตุใดผลการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติจึงแตกต่างกัน และเมื่อประเมินนโยบายแล้วจึงได้ผลลัพธ์แตกต่างกัน ผู้เขียนจึงได้ศึกษาค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จึงได้ข้อสรุปเบื้องต้นเกี่ยวกับ นโยบายและการวางแผน โดยเฉพาะทางการการศึกษา เพื่อเป็นประโยชน์ต่อ นักบริหารสถานศึกษาทั้งในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานะระดับอุดมศึกษา ได้ใช้เป็นแนวทางในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ
        เพื่อจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้งานในหน่วยงานประสบความ สำเร็จ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ทุกขั้นตอนของนโยบายมีความสำคัญ นับตั้งแต่ การกำหนดนโยบาย การวิเคราะห์นโยบาย, การพัฒนานโยบาย, การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และการประเมินนโยบาย แต่ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกับความหมาย ลักษณะของนโยบายก่อน จึงจะทำให้มีความเข้าใจในการวางแผนต่อไป
นโยบาย มาจากคำ 2 กลุ่มคำที่มาสนธิกัน คือ คำว่า นย ซึ่งหมายถึง ข้อความที่เข้าใจได้เอง + อุปาย วิธีการอันแยบคาย ซึ่งหมายถึง วิธีการที่คิดอย่างละเอียดและเข้าใจได้เอง
ดังนั้น นโยบาย หมายถึง อุบายหรือ กลเม็ดที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้พิจารณาเห็นว่าเป็นแนวทาง
ที่จะนำไปสู่เป้าหมายของส่วนรวมในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเหมาะสม หรือ ข้อความหรือความเข้าใจร่วมกันอย่างกว้าง ๆ ที่ใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจเพื่อการปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ของผู้บริหารแต่ละหน่วยงาน คนที่ออกนโยบายต้องเป็นที่มีอำนาจหน้าที่ในหน่วยงาน องค์กร นั้น ๆ โดยข้อความเหล่านี้จะบอกหรือช่วยให้ทราบ ดังนี้
1. แนวคิดหรือข้อความที่เข้าใจร่วมกัน
2. แนวทางในการปฏิบัติของผู้บริหารหรือหน่วยงาน
3.บอกทิศทางในการทำงาน
4. บอกเป้าหมาย
5. เป็นยุทธศาสตร์ในการบริหาร
6.ช่วยให้ผู้ร่วมงานรู้จักวัตถุประสงค์
7.เป็นกรอบที่ดี/แนวทาง/ประโยชน์ต่อส่วนรวม
8.เป็นแนวทางในการตัดสินใจ
ลักษณะนโยบายที่ดี
ลักษณะนโยบายที่ดี เป็นอย่างไร ส่วนใหญ่แล้วจะเน้นลักษณะ ดังต่อไปนี้
• จะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์การ
• จะต้องกำหนดขึ้นจากข้อมูลที่เป็นจริง
• จะต้องกำหนดขึ้นก่อนที่จะมีการดำเนินงาน
• การกำหนดขึ้นเพื่อสนองหรือเอื้อประโยชน์ให้กับบุคคลโดยรวม
• ใช้ถ้อยคำที่กะทัดรัดใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและเป็นลายลักษณ์อักษร
• จะต้องมีขอบเขตและเวลาของการใช้
• จะต้องเป็นจุดรวมหรือศูนย์ประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานต่าง ๆ ภายในองค์กร
• จะต้องสอดคล้องกับปัจจัยภายนอกองค์กร
ส่วน การพัฒนานโยบาย จะเป็น กระบวนการศึกษา การวิเคราะห์ผลสะท้อนกลับของ
นโยบายวิเคราะห์วิจัย ระบุปัญหา การยอมรับปัญหา ระบุทางเลือกของนโยบาย กำหนดโครงสร้างของนโยบาย จนกระทั่งร่างเป็นนโยบาย ซึ่งมีขั้นตอนในการดำเนินนโยบาย ดังนี้
ขั้นตอนในการดำเนินนโยบาย
1. การกำหนดหรือระบุปัญหา (Identify problem)
2. การกำหนดนโยบาย (Formulation)
3. เลือกทางเลือกนโยบายที่เหมาะสม (Adoption) มีนโยบายมากมายหลากข้อให้เลือกข้อที่ดีที่สุด
4.การนำไปปฏิบัติ (Implementation)
5.การประเมินผลการดำเนินนโยบายไปปฏิบัติ (Evaluation)
ปัจจัยในการกำหนดนโยบาย
ปัจจัยที่สำคัญในการกำหนดนโยบาย ถือเป็นเรื่องสำคัญอีกประการหนึ่ง ซี่งจะเป็น
ตัวกำหนดความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการดำเนินนโยบายได้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
1. ปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบพื้นฐาน (Fundamental factors)
• ปัจจัยเกี่ยวกับผลประโยชน์
• ปัจจัยที่เกี่ยวกับผู้กำหนดนโยบาย
• ปัจจัยที่เกี่ยวกับข้อมูลและเอกสารต่าง ๆ
2. ปัจจัยที่เป็นสิ่งแวดล้อม (Environmental factors)
- ปัจจัยทางการเมืองและวัฒนธรรมการเมือง
- ปัจจัยทางเศรษฐกิจ
- ปัจจัยทางสังคม
- ปัจจัยทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์
การนำนโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation )
หมายถึง การดำเนินการโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในภาครัฐ หรือเอกชนดำเนินการดังกล่าวมุ่งที่จะให้เกิดความสำเร็จโดยตรงตามวัตถุ ประสงค์ของนโยบายที่ได้ตัดสินใจกระทำไว้ก่อนนั้นแล้ว
ตัวอย่าง ตัวแบบในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ
ปรับปรุงดัดแปลงจาก website (2552)
กระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติ
1.กำหนดจุดมุ่งหมายย่อยในเชิงปฏิบัติ
2.ระบุทักษะที่จำเป็นและบทบาทหน้าที่ของผู้ปฏิบัติ
3.กำหนดมาตรฐานในการสรรหาและการพัฒนาของผู้ปฏิบัติ
4.กำหนดวิธีการในการควบคุมนโยบาย (จัดอันดับความสำคัญก่อนหลัง)
5.เลือกเป้าหมายที่สำคัญที่สุดแล้วปฏิบัติก่อน
6. กำหนดสัมพันธ์ภาพกับหน่วยงานหรือโครงการอื่น ๆ (Networking)
กลยุทธ์ในการนำนโยบายไปปฏิบัติ
1. จัดประชุมทีมงานอย่างสม่ำเสมอ (Frequent regular staff meeting)
2. การฝึกชนิดเข้มข้น (Strong training)
3. การประชุมปฏิบัติการโดยลงมือปฏิบัติจริง (Practical “How-to-do-it” working)
4. พัฒนาเครื่องมือโดยอาศัยทรัพยากรจากท้องถิ่น (Local materials development)
5. การเข้าร่วมโครงการโดยการอาสาสมัคร (Voluntary participants)
6. ใช้พลังของคนส่วนใหญ่นำการเปลี่ยนแปลง
7. การขอความช่วยเหลือด้านความเชี่ยวชาญและด้านเทคนิคจากท้องถิ่น (Local expertise and technical assistance)
ปัจจัยที่กำหนดความสำเร็จหรือความล้มเหลวในการนำนโยบายไปปฏิบัติ
1.ข้อความของนโยบาย (ตัวปัจจัยของนโยบายจะเป็นตัวบอกเองว่าสำเร็จหรือล้มเหลว)
2.การสนับสนุนจากผู้มีอำนาจ
3.ศักยภาพและความสามารถขององค์การที่นำนโยบายไปปฏิบัติ
4.จิตสำนึกของผู้ปฏิบัติ หรือทัศนะของผู้ปฏิบัติ
5.ผู้นำ
6.การมีส่วนร่วมของทุกคนในองค์กร
7.การกำกับดูแลติดตามประเมินผลและการเสริมแรง
ตัวอย่าง Model ปัจจัยในการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ
Model kick off… first Step to Implementation University’s Policies ของกองกลาง มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด โดยปรับปรุงจากการพัฒนาระบบ SDLC : System Development Life Cycle
กล่าวโดยสรุป นโยบายและการวางแผนการศึกษา หากจะนำไปสู่การปฏิบัติให้ได้ตาม
วัตถุประสงค์ที่วางไว้ ทุกก้าวเดินของการกำหนดนโยบาย การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ทุกคนในองค์กรต้องมีส่วนร่วม ซึ่งจะทำให้ปัจจัยที่สำคัญ ทั้งข้อความของนโยบาย มีความชัดเจน จะได้รับการสนับสนุนจากผู้มีอำนาจ องค์กรจะมีศักยภาพและความสามารถที่จะนำนโยบายไปปฏิบัติ และจะเกิดจิตสำนึกของผู้ปฏิบัติ หรือทัศนของผู้ปฏิบัติ ที่สำคัญ ผู้นำในองค์กรต้องเข้มแข็ง และมีการกำกับดูแลติดตามประเมินผลและโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ การเสริมแรง ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้องค์กรเกิดการเปลี่ยนแปลง และนำไปสู่ความสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ (Tags): #การศึกษา
หมายเลขบันทึก: 455575เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2011 10:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 16:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท