ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ (กาญจนบุรี)
ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ (กาญจนบุรี) ศมม.กจ. กจ.

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหม่อน


ลำต้นและกิ่ง มีลำต้นสูงใหญ่ ตั้งตรง มีกิ่งก้านมาก แต่หม่อนที่ปลูกเพื่อเลี้ยงไหมลำต้นจะไม่สูง เพราะมี

การปลูกหม่อน
หม่อนเป็นพืชยืนต้น เจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อน สามารถขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด ยกเว้นในดินที่มี
การระบายน้ำไม่ดีหรือมีน้ำท่วมขัง

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหม่อน
ลำต้นและกิ่ง มีลำต้นสูงใหญ่ ตั้งตรง มีกิ่งก้านมาก แต่หม่อนที่ปลูกเพื่อเลี้ยงไหมลำต้นจะไม่สูง เพราะมี
การตัดแต่งกิ่งทุกปี

ใบ เป็นส่วนที่ใช้เลี้ยงไหม ขนาด ความหนาและลักษณะรูปร่างของใบจะแตกต่างกันไปตามชนิดของพันธุ์
ใบหม่อนที่ดีมีคุณภาพจะต้องอุดมสมบูรณ์ด้วยธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อไหม

ราก ประกอบด้วยรากแก้ว รากแขนง และรากฝอย แต่หม่อนที่ขยายพันธุ์ด้วยกิ่งจะมีรากแขนงและรากฝอย
เท่านั้น โดยรากแขนงจะทำหน้าที่ยึดลำต้นและกิ่งให้ทรงตัวอยู่ได้ ส่วนรากฝอยมีหน้าที่ดูดซึมอาหารและน้ำจากดิน

ดอกและผล โดยทั่วไปหม่อนเป็นพืชที่มีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกันคนละต้น แต่บางพันธุ์อาจจะมีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกหม่อนจะมีลักษณะเป็นกลุ่มเกาะติดกันเป็นช่อ เมื่อดอกตัวเมียได้รับ
การผสมจะเปลี่ยนเป็นผล ซึ่งมีลักษณะเป็นช่อประกอบด้วยเมล็ดเล็ก ๆ จำนวนมาก 

 พันธุ์หม่อน
1. หม่อนน้อย เป็นหม่อนที่ให้ดอกตัวผู้ กิ่งมีขนาดใหญ่ ลำต้นสีนวล มีตามาก ลักษณะของใบหนาเป็นมัน
สีเขียวแก่รูปใบโพธิ์ขอบใบเรียบ ลักษณะที่ดีของพันธุ์นี้คือทนแล้ง ขยายพันธุ์ง่ายด้วยกิ่งปักชำ ให้ผลผลิตประมาณ
1,500-2,000 กิโลกรัม/ไร่/ปี แต่ไม่ต้านทานต่อโรครากเน่า

2. หม่อนสร้อย เป็นหม่อนที่ให้ดอกตัวผู้ กิ่งมีขนาดใหญ่แตกแขนงมาก ใบมีทั้งขอบใบเรียบและขอบใบเว้า
อยู่ในต้นเดียวกัน ใบบางเหี่ยวเร็ว ผิวใบสากมือ เป็นหม่อนที่ทนแล้ง ให้ผลผลิตประมาณ 2,000 กิโลกรัม/ไร่/ปี

3. หม่อนไผ่ เป็นหม่อนที่ให้ดอกตัวเมีย กิ่งมีขนาดปานกลาง ลำกิ่งอ่อนโค้ง สีน้ำตาลเขียว ลักษณะใบเว้า
มีพื้นที่ใบน้อย ใบบางสากมือ ให้ผลผลิตต่ำ แต่มีข้อดีคือ ต้านทานโรครากเน่า จึงเหมาะสำหรับปลูกเป็นต้นตอ เพื่อติดตาหม่อนพันธุ์ดีหรือพันธุ์ลูกผสม

4. หม่อนคุณไพ เป็นหม่อนที่ให้ดอกตัวเมีย กิ่งมีขนาดใหญ่ ขอบใบไม่เว้า ใบมีลักษณะเป็นคลื่น ค่อนข้างบาง ให้ผลผลิตสูงและต้านทานต่อโรครากเน่าา แต่ไม่ทนแล้งและเหี่ยวง่าย

5. หม่อนนครราชสีมา 60 (นม. 60) เป็นหม่อนที่ให้ดอกตัวเมีย ลำต้นตั้งตรง กิ่งสีเทา ใบเป็นรูปใบโพธิ์ 
ใบเลื่อมมัน หนาปานกลาง ผิวใบเรียบ เป็นหม่อนพันธุ์ลูกผสม ให้ผลผลิตประมาณ 3,600 กิโลกรัม/ไร่/ปี ต้านทาน
ต่อโรคราแป้ง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีติดตา

6. หม่อนบุรีรัมย์ 60 (บร. 60) เป็นหม่อนที่ให้ดอกตัวเมีย ลำต้นตั้ง ตรง หลังจากมีการตัดแต่งแล้วสามารถ
แตกกิ่งได้เร็ว กิ่งมีสีน้ำตาล ใบไม่แฉก ผิวใบเรียบ ใบใหญ่หนา อ่อนนุ่ม ให้ผลผลิตดี ในสภาพที่มีน้ำ เป็นหม่อนพันธุ์ลูกผสม ให้ผลผลิตประมาณ 4,300 กิโลกรัม/ไร่/ปี ขยายพันธุ์โดยการปักชำ

หมายเหตุ  พันธุ์หม่อนที่ใช้เป็นพันธุ์ส่งเสริมได้แก่ พันธุ์นครราชสีมา 60 และพันธุ์บุรีรัมย์ 60

หมายเลขบันทึก: 455288เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2011 15:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 18:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท