การสร้างเสริมสุขภาพจิตและจิตวิญญาณของหญิงหลังคลอดที่เลี้ยงลูกด้วยนมมารดา


โดย อ.ดร.ศรีเกียรติ อนันต์สวัสดิ์ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มทส

ผลการศึกษาสุขภาพจิตและจิตวิญญาณของหญิงหลังคลอดที่เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา ศึกษาการมีส่วนร่วมของสามีและคนในครอบครัว และผลของการสร้างเสริมสุขภาพโดยใช้กระบวนการกลุ่มและแนวคิดเชิงพุทธ โดยมีการเยี่ยมบ้าน ติดตามภาวะซึมเศร้า ประเมินสุขภาพ จัดกลุ่มช่วยเหลือและสร้างเครือข่ายเพื่อนช่วยเพื่อน โดย อ.ดร.ศรีเกียรติ อนันต์สวัสดิ์ อาจารย์สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มทส พบว่า หญิงหลังคลอดซึมเศร้าระดับน้อย ส่วนใหญ่กังวลเรื่องปริมาณน้ำนมและห่วงงาน เชื่อว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะทำให้ลูกแข็งแรง มีภูมิคุ้มกันที่ดี อบอุ่น ผูกพัน ส่วนสามีและคนในครอบครัวสนับสนุนการเลี่ยงลูกด้วยนมแม่

หลังคลอด 6 เดือน ร้อยละ 81.82 (ท้องแรก) - 91.67 (ท้องหลัง) ยังคงเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ปัจจัยที่ทำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ครบ 6 เดือน คือสามีสนับสนุนด้านจิตใจ เชื่อในประโยชน์ของนมแม่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขช่วยเหลือแก้ปัญหาในการเลี่ยงลูกด้วยนมแม่ ส่วนปัจจัยที่ทำให้เลี้ยลูกด้วยนมแม่ไม่ครบ 6 เดือน คือ การต้องทำงานนอกบ้าน ขาดกำลังใจ และต้องเลี้ยงลูกคนเดียว

 

สำหรับข้อมูลการวิจัยโดยละเอียด กรุณาติดต่อ [email protected]

 

 

คำสำคัญ (Tags): #จิตวิญญาณ#นมแม่
หมายเลขบันทึก: 454986เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2011 10:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 08:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท