แผนพัฒนาฯ กับการศึกษาในสังคมไทย


ธนิตา เทพอินทร์

               เมื่อมองวิวัฒนาการทางการศึกษาผ่านแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตลอดระยะเวลาเกือบจะ 50 ปีแล้วที่ประเทศไทยพยามจะทำการปฏิรูปการศึกษา ทุกคนเชื่อว่าการศึกษาจะช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น แต่ด้วยเพราะอะไรทำไมการศึกษาไทยดูเหมือนจะยิ่งถอยหลังลงคลอง และทำไมคนส่วนใหญ่ไม่เชื่อมั่น และไม่มั่นใจต่อคุณภาพทางการศึกษาไทย ทำไมจึงเป็นเฉกเช่นนั้น เมื่อศึกษาประวัติศาสตร์การศึกษาไทยผ่านแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดังนั้นพอจะสรุปสาระทางการศึกษาจากแผนพัฒฯแต่ละฉบับได้ ดังนี้

                จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตั้งแต่ฉบับที่ 1 จนถึงฉบับปัจจุบันได้มีนโยบายทางการศึกษาที่สำคัญๆที่ระบุไว้ในแผนมากมายไม่ ว่าจะเป็น การให้ความสำคัญกับการขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชน ทั้งในระดับล่าง ระดับกลาง และในระดับสูง เพื่อสนองต่อความต้องการในการพัฒนาอุตสาหกรรม ในนโยบายการศึกษาในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในฉบับที่ 1 ต่อมาในนโยบายการศึกษาในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในฉบับที่ 2 ก็ได้มีการขยายปริมาณการรับนักเรียน และนักศึกษาทุกระดับ ทั้งระดับมัธยม อาชีวศึกษา การฝึกหัดครู และระดับอุดมศึกษา ซึ่งในนโยบายการศึกษาในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในฉบับที่ 3 ก็ได้เน้นการปรับปรุงการศึกษาให้มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ของประเทศ อีกทั้งยังส่งเสริมให้เอกชนได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาในอัตราที่เหมาะสม

                อีกทั้งในนโยบายการศึกษาในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในฉบับที่ 4 ยัง ได้มีการส่งเสริมการศึกษานอกโรงเรียนให้กว้างขวางในรูปแบบต่างๆ หลายลักษณะ ในช่วงแผนฉบับนี้ได้มีการปฏิรูปการศึกษา และประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2520 จนกระทั่งในนโยบายการศึกษาในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในฉบับที่ 5 ก็เกิดนโยบายการศึกษาที่เน้นด้านปริมาณ โดยส่งเสริมและขยายการพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน มีการปรับปรุงคุณภาพและมาตรฐานของโรงเรียนประถมและมัธยมศึกษาในเมืองและชนบท ให้ใกล้เคียงกัน และมีการสนับสนุนให้เอกชนที่มีความถนัดและความพร้อมจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษา เพื่อแบ่งเบาภาระการจัดการศึกษาของภาครัฐ  เพื่อพัฒนากำลังคนในระดับกลางและระดับสูงในส่วนที่ขาดแคลนและตลาดมีความต้อง การ

                ในนโยบายการศึกษาในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในฉบับที่ 6 และในนโยบายการศึกษาในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในฉบับที่ 7 ก็ได้ขยายการศึกษาขั้นพื้นฐานจาก 6 ปีเป็น 9 ปี ซึ่งให้ความสำคัญกับการผลิตกำลังคนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นพิเศษ ต่อมาในนโยบายการศึกษาในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในฉบับที่ 8 ก็เน้นคนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาการศึกษา ตั้งแต่การศึกษาระดับต้นไปจนตลอดชีวิต โดยส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักคิด วิเคราะห์อย่างมีเหตุผล มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มิใช่ใช้แต่ความจำในการเรียน แต่ต้องเกิดความเข้าใจด้วย และสนับสนุน เร่งรัดให้มีการพัฒนาครูผู้สอน มีการปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอน ปลูกจิตสำนึกและส่งเสริมขวัญกำลังใจในการทำงาน อีกทั้งส่งเสริมให้สถาบันการศึกษามีเอกภาพในเชิงนโยบาย มีอิสระในการบริหารจัดการและเร่งผลิตบุคลากรสาขาที่ขาดแคลนตามความสามารถ ด้วย ในนโยบายการศึกษาในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในฉบับที่ 9 มี การปฏิรูปกระบวนการพัฒนาครู อีกทั้งเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและกำหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัด กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุดและเสริมสร้างความพร้อมของสถาบัน การศึกษา และในนโยบายการศึกษาในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในฉบับที่ 10 มี การส่งเสริมในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เน้นพัฒนากำลังคนในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การวิจัย และวิทยาการทุกแขนงโดยนักเรียนเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้

นอกจากนั้นแล้ว ยังมีพระราชบัญญัติแห่งชาติในด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาไทย ทั้งที่เอื้อประโยชน์ให้เข้าถึงบริการทางการศึกษาได้ง่ายขึ้น แต่ก็สร้างความลำบากใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงานไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็น พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542การ จัดการศึกษา ที่จัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อย กว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย เป็นต้น

และในอีกไม่กี่เดือนนี้พวกเราก็จะมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับใหม่คือ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11ซึ่ง มีเนื้อหาพอจะสรุปได้ดังนี้ เน้นยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน โดยพัฒนาคนไทยให้มีศักยภาพในการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์มีความคิดสร้างสรรค์ ใฝ่เรียนรู้มีคุณธรรมจริยธรรมค่านิยมที่ดีงามรู้จักสิทธิหน้าที่ของตนเองและ ผู้อื่นควบคู่กับการเสริมสร้างและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญาและแหล่ง เรียนรู้ในระดับชุมชน

                จะเห็นว่า ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ 1-10ที่ผ่านพ้นมาแล้วนั้นมีคุณค่าเป็นเพียงอักษรที่สวยหรูที่มีไว้จารึกบน หลักลอยเสียมากกว่า ซึ่งในทางปฏิบัติมักจะสวนทาง และถูกกระทบจากสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกอยู่ตลอดเวลา ส่วนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11จะเป็นเช่นไรนั้น สามารถบรรลุเป้าประสงค์ได้มากน้อยเพียงไร คงเป็นหน้าที่ของทุกคน โดยเฉพาะผู้ที่แสวงหาความรู้ และผู้ที่อยู่แวดวงทางการศึกษา ที่จะต้องติดตามกันไป…

หมายเลขบันทึก: 454887เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2011 14:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท