ลักษณะพื้นฐานของแผนกลยุทธ์


ลักษณะพื้นฐานของแผนกลยุทธ์

ลักษณะพื้นฐานของแผนกลยุทธ์

                การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) นั้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นคำที่ใกล้เคียงกับคำที่นิยมใช้กันมานานอีก 2 คำ คือการวางแผนกิจการ(Corporate Planning) และนโยบายธุรกิจ (Business Policy) ซึ่งการวางแผนกลยุทธ์นับว่าเป็นภารกิจด้านการวางแผนของผู้บริหารระดับสูงสุด โดยจะมีขอบเขตการวางแผนที่ครอบคลุมตลอดทั่วทั้งองค์การ และเชื่อมโยงไปถึงสภาพแวดล้อมภายนอกอีกด้วย ลักษณะของ “การวางแผนกลยุทธ์” เป็นงานของผู้บริหารระกับสูงที่มีการวางแผนเชิงรวมเพื่ออนาคตในระยะยาว และเป็นการวางแผนให้กับองค์การปรับตัวได้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง เพื่อการบริหารที่สามารถนำองค์การให้สำเร็จผลในทางต่างๆ

                ลักษณะของการวางแผนกลยุทธ์(Strategic Planning) มีวิวัฒนาการพื้นฐานมาจากวิเคราะห์หลายด้านที่เกี่ยวข้องกับข้อได้เปรียบ (Advantages) ภัยคุกคาม (Threats) ที่เกิดจากสภาวะกดดันของสิ่งแวดล้อม พลังสิ่งแวดล้อมในด้านต่างๆ (Environment Forces) ความต้องการของผู้รับบริการ (Customer Demands) รวมถึงสิ่งชี้วัด (Indictors) และวิธีการ (Ways) ตรวจสอบความสำเร็จของจุดมุ่งหมายขององค์การ ดังนั้นแผนที่กำหนดออกมาจึงมีลักษณะช่วยการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงในองค์การเกี่ยวกับนโยบาย (Policy) และการปฏิบัติ (Operations) ที่ต้องมีความสอดคล้องกับกรอบแนวทางการดำเนินงานระดับองค์การ(Corporate Guidelines) อย่างไรก็ตามกรอบแนวทางการดำเนินงานนี้ควรมีลักษณะยืดหยุ่นเพื่อให้สามารถเผชิญหน้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงและเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา

                ลักษณะการวางแผนการโดยทั่วไปอาจแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ แผนกลยุทธ์(Strategic Plans) และแผนดำเนินงาน (Operating Plans) ซึ่งอาจแบ่งได้เป็นประเภทขึ้นอยู่กับการเลือกของแต่ละองค์การ เช่น แผนประจำ (Standing Plans) แผนใช้เฉพาะครั้ง (Single-Use Plans) เป็นต้น

                แผนทุกประเภทต่างก็จะต้องนำมาพิจารณาร่วมกันเป็นแผนกลยุทธ์ที่อยู่ในขอบข่ายของแนวนโยบายและเป้าหมายเดียวกัน ฉะนั้น การวางแผนกลยุทธ์จะเป็นระบบการวางแผนของผู้บริหารระดับสูง ซึ่งมิใช่เป็นการจัดทำแผนดำเนินงานหรือโครงการต่างๆโดยตรง แต่เป็นเพียงแนวคิดพิจารณาแผนงานขององค์การทั้งหมด ขณะเดียวกันสิ่งที่ผู้บริหารจะต้องคือการพิจารณากำหนดและอนุมัติโครงการ รวมทั้งการจัดลำดับก่อนหลังของการปฏิบัติพิจารณาจัดสรรทรัพยากร ตลอดถึงการพิจารณาผลกระทบที่จะมีต่อนโยบายและวัตถุประสงค์ในปัจจุบันประกอบกันไปกับการที่จะต้องพิจารณาปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์และนโยบายนั้นๆที่จะยึดถือปฏิบัติสำหรับองค์การในระยะยาวอีกด้วย

                ดังนั้นอาจสรุปได้ว่า การวางแผนกลยุทธ์ที่มีลักษณะโดยทั่วไปคือ 1) เป็นแผนระยะยาว(Long-Rang Plan) แบบหนึ่งที่ครอบคลุมกิจกรรมต่างๆทั้งหมดขององค์การ อันหมายถึงแผนงานระยะยาวที่กำหนดทิศทางและแนวทางสำหรับแผนงานและโครงการในระยะสั้นอย่างครบถ้วนทั้งหมด 2) เป็นแผนงานตามหน้าที่ (Functional Plans) และโครงการ (Projects) ต่างๆเอามารวมไว้ด้วยกัน ในทิศทางเดียวกัน เพื่อลดงามเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับองค์การ และ 3) เป็นแผนที่มีความคิดเห็นและเป็นที่ยอมรับร่วมกันทั้งองค์การ เพื่อให้องค์การพร้อมเผชิญกับสถานการณ์ที่เป็นข้อจำกัด และอยู่ในฐานะที่พร้อมจะทำประโยชน์จากโอกาสภายนอกที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ที่มา http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php?topic=168.0

 

หมายเลขบันทึก: 454688เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2011 15:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 01:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท