การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การ (TQM)


การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การ (TQM)

 

 

              การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การ (Total quality management : TQM)   หมายถึง แนวทางในการบริหารขององค์กรที่มุ่งเน้นคุณภาพ โดยสมาชิกทุกคนขององค์กรมีส่วนร่วมและมุ่งหมายผลกำไรในระยะยาวด้วยการสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้ารวมทั้งการสร้างผลประโยชน์ตอบแทนแก่หมู่สมาชิกTQM  มี หลักการที่สำคัญ   ด้วยการปฏิบัติงานประจำวันให้ดีที่สุด สามารถทำงานข้ามสายงานได้เป็นอย่างดี  ทำการกระจายนโยบายให้เป็นผลต่อองค์กร 3 ประการ

               1. การมุ่งเน้นที่คุณภาพ 

               2. การปรับปรุงกระบวนการ   

               3.ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วม

              วัตถุประสงค์ของ     TQM      คือ การพัฒนาบุคลากรให้สามารถใช้ศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ ด้วยการมีส่วนร่วมใน การปรับปรุงคุณภาพของสินค้าหรือบริการ  อันจะทำให้คุณภาพชีวิต   ของพนักงานทุกคนดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ  อย่างต่อเนื่อง   ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key Success factor : KSF  ของระบบ TQM )      

               1. ความยึดมั่นผูกพันอย่างจริงจังจากผู้บริหารทุกระดับ

               2. การให้การศึกษาและการฝึกอบรมให้พนักงานทุกคนได้เรียนรู้

               3. โครงสร้างขององค์กรที่สนับสุนนวิธีคิดและวิธีทำงานอย่างเป็นกระบวนการ          

               4. การติดต่อสื่อสารจะต้องทั่วถึงทั้งแนวดิ่งตามสายงาน และแนวราบของการประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ

               5.การให้รางวัลและการยอมรับทีมงาน      สมควรได้รับจากผลงานที่ปรากฎการณ์ส่งเสริม

               6. การวัดผลงานอย่างเหมาะสม

               7. การทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

อ้างอิง    sesame
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=36226
              
การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร Total Quality Management ( TQM )

           วัตถุประสงค์ที่สำคัญของ TQM คือ การปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การดำเนินงานในทุก ๆ ด้านมีคุณภาพ

           หลักการสำคัญ คือ การมุ่งความสำคัญของลูกค้า การปรับปรุงกระบวนการทำงาน การให้ทุกคนได้มีส่วนร่วม
องค์ประกอบหลักคือ มีภาวะผู้นำ การศึกษาและการอบรม โครงสร้างองค์กรที่เกื้อหนุน การติดต่อสื่อสาร การพิจารณาความดีความชอบ การใช้กระบวนการทางสถิติ และการทำงานเป็นทีม

            สรุป การบริหาร TQM คือ ศึกษาหลักการบริหารคุณภาพให้เกิดความเข้าใจกำหนดนโยบายด้านคุณภาพ จัดองค์การเพื่อการดำเนินการตามนโยบายคุณภาพ วางแผนและออกแบบเกี่ยวกับทรัพยากร ระบบงาน      และวิธีการทำงาน จัดระบบคุณภาพ กำหนดมาตรการการควบคุมของการทำงานแต่ละด้าน การทำงานเป็นทีม การฝึกอบรมบุคลากรทุกระดับ และ การนำไปปฏิบัติ

           แนวทางการปรับปรุงคุณภาพงาน TQM คือผู้บริหารสร้างความเข้าใจให้กับบุคลากรทุกระดับ กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติให้ชัดเจนเปลี่ยนแนวความคิด เกี่ยวกับการบริหารคุณภาพ องค์กรต้องมีปรัชญาเรื่องของคน ผู้บริหารระดับสูงต้องให้การสนับสนุนและแสดงออกอย่างเป็นรูปธรรม เน้นเรื่องการฝึกอบรมและการทำงานเป็นทีมประยุกต์ใช้ในสถานศึกษาคือ การมุ่งให้ความสำคัญกับนักเรียน การปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง การเข้ามีส่วนร่วมของทุกคนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

หมายเลขบันทึก: 454670เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2011 14:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 09:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท