ระบบการจัดการความรู้


สำนักพัฒนานักศึกษา

หน่วยงาน สำนักพัฒนานักศึกษา

 

หน่วยงานดังกล่าวมีแนวทางเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับทฤษฎีดังต่อไปนี้

1. ความใฝ่ฝันถึงอนาคตร่วมกัน (SHARED  VISION)

คือ ความมุ่งมั่นและความพยายามในการทำงานให้ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้

-ทำงานแบบเดิมๆ

•มีความมุ่งมั่นในการทำงานน้อย ทำงานเฉพาะที่ตนเองเคยทำเท่านั้น

•ไม่วางแผนในการทำงาน

•ไม่กำหนดเป้าหมายในการทำงาน

•ไม่มีความเชื่อมั่นในตนเอง ต้องขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นบ่อยครั้ง

 

-มุ่งมั่นทำงาน และสามารถบรรลุเป้าหมายเป็นบางครั้ง

•มีความมุ่งมั่นทำงานเมื่อได้รับแรงจูงใจ

•มีการวางแผนในการทำงานและกำหนดเป้าหมายในการทำงานร่วมกับผู้อื่น

•มีความเชื่อมั่นในตนเองบ้าง แต่อาจจะต้องขอความช่วยเหลือจากผู้บังคับบัญชาบ้าง  

 

-มุ่งมั่นทำงาน และสามารถบรรลุเป้าหมาย

•มีความมุ่งมั่นทำงาน โดยสร้างแรงจูงใจให้แก่ตนเอง

•สามารถวางแผนและกำหนดเป้าหมายในการทำงานได้ด้วยตนเอง

•มีความเชื่อมั่นในตนเอง พยายามแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคด้วยตนเอง

 

-มุ่งมั่นทำงานสูงจนบรรลุเป้าหมาย และประเมินผลงานได้

•มีความมุ่งมั่นทำงานสูง โดยสร้างแรงจูงใจให้แก่ตนเองและผู้อื่น

•สามารถวางแผนและกำหนดเป้าหมายในการทำงานได้ด้วยตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นในทีมงานได้ด้วย

•มีความเชื่อมั่นในตนเอง พยายามแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคด้วยตนเอง พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนวิธีการใหม่ๆ

•สามารถตรวจสอบและประเมินผลงานได้ด้วยตนเอง

 

-มุ่งมั่นทำงานสูง  ประเมินผลงานได้และท้าทายงานใหม่

•มีความมุ่งมั่นทำงานสูง โดยสามารถวางแผนงานได้ล่วงหน้า

•กำหนดเป้าหมายที่ท้าทายตลอดเวลา

•มีความเชื่อมั่นในตนเอง สามารถแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคของตนเองและของทีมงานได้ด้วยตนเอง  พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนวิธีการใหม่ๆ แต่ยังคงเป้าหมายที่ท้าทาย

•สามารถตรวจสอบและประเมินผลงานได้ด้วยตนเอง และกำหนดการแก้ไขและป้องกันปัญหา

 

2. การคิดเชิงระบบ (SYSTEMS  THINKING)

                จากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน การรักษาสถานะขององค์กรให้อยู่รอดเป็นเรื่องที่สำคัญแต่เท่านั้นยังไม่เพียงพอ องค์กรจะต้องเจริญเติบโตและมีความก้าวหน้าอย่างมั่นคง จึงจะสะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จขององค์กร แล้วจะทำอย่างไรองค์กรจึงจะเจริญเติบโตอย่างมั่นคงทรัพยากรบุคคล ถือเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าขององค์กร ดังนั้น องค์กรควรให้ความสำคัญในการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพการเรียนรู้ เพราะบุคลากรที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาอย่างมีคุณภาพ จะเป็นต้นแบบที่ดีในการสร้างวิธีคิด และวิธีการทำงานอย่างมืออาชีพ การพัฒนาให้บุคลากรเกิดการเรียนรู้ร่วมกันเรื่อยๆ จึงเป็นวิธีที่จะทำให้องค์กรมีความแข็งแกร่ง มั่นคง และมีศักยภาพการแข่งขันที่เหนือคู่แข่ง

 

3. การเรียนรู้ร่วมกันของทีมอย่างต่อเนื่อง (TEAM LEARNING)

-สามารถเข้าใจคุณสมบัติของทีมที่มีการเรียนรู้ และนำไปใช้ในการทำงานเป็นทีม

-ทีมสามารถพัฒนาทักษะได้อย่างรวดเร็ว หากได้รับการแนะนำ จากผู้มีความรู้เฉพาะด้านจากภายนอก               

-ทีมจะสร้างกฎพื้นฐานเพื่อใช้ในการกำกับสนทนาระหว่างกันภายในทีม

 

ปัจจัยที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันในทีม

-การรวมพลังสมาชิกในทีม

-การแลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็นประสบการณ์ ต่อเนื่องกระตุ้นให้เกิดการสนทนา (Dialogue)

-มีการอภิปรายร่วมกันอย่างเปิดเผย

- การนำวิสัยทัศน์ของแต่ละคนมาแลกเปลี่ยนกัน

- หาข้อสรุปเพื่อเกิดกิจกรรมร่วมกัน

 

วิธีการเรียนรู้ร่วมกัน

-ทุกคนในองค์กร มีการเรียนรู้ร่วมกันในการสร้างจิตสำนึกด้านการรักษาคุณภาพของการทำงานปละมีการพัฒนาแก้ไขตลอดเวลา

-มีการนำเอาสิ่งที่เรียนรู้มา ทั้งปัจจุบัน/อดีต มาประยุกต์ใช้กับงานโดยใช้เทคนิคการเสวนา และประชุมกลุ่ม

-มีการหลีกเลี่ยงที่จะตำหนิกัน ทุกคนเปิดใจและซื่อสัตย์ต่อกันในการอภิปรายถึงสาเหตุในแต่ละจุดของงาน จนได้ข้อสรุป

หมายเลขบันทึก: 454648เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2011 14:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ไม่ได้วิเคราะห์ Competency นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท