ประเภทของงบประมาณ


ประเภทของงบประมาณ

ประเภทของงบประมาณ

งบประมาณที่ประเทศต่างๆ ใช้กันอยู่ในขณะนี้มีมากมายหลายประเภท แต่ที่      สำคัญ ๆ  และที่รู้จักกันโดยทั่วไปมีอยู่ประมาณ 5-6 ประเภทด้วยกัน ซึ่งแต่ละประเภทจะมีลักษณะการใช้และการดำเนินการต่างๆ ที่แตกต่างกันออกไปและมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไปอีกด้วย แต่ละประเภทจะเหมาะสมกับประเทศใดประเทศหนึ่งนั้น คงจะต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้านด้วยกันไม่ว่าจะเป็นปัจจัยทางด้านบริหาร ความรู้ความสามารถ ปัจจัยทางด้านการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ และปัจจัยอื่นๆ เช่น ปัจจัยทางด้านสังคม ฯลฯ ดังนั้นแต่ละประเทศจึงใช้งบประมาณในลักษณะแบบรูปที่ไม่เหมือนกันแต่จะแตกต่างกันออกไปตาสถานการณ์ของแต่ละประเทศเป็นสำคัญ สำหรับงบประมาณใน แต่ละรูปแบบนั้นมีรายละเอียดพอสรุปๆ ดังต่อไปนี้ คือ เงินที่กำหนดไว้ไม่ได้ถ้าจะผันแปรหรือจ่ายเกินวงเงินอย่างใดอย่างหนึ่งจะต้องทำความตกลงกับสำนักงบประมาณหรือกระทรวงการคลัง และหาเงินรายจ่ายมาเพิ่มให้พอจะจ่ายเสียก่อน งบประมาณแบบนี้มิได้เพ่งเล็งกิจการวางแผน วัตถุประสงค์ และเป้าหมายตลอดจนถึงประสิทธิภาพของการบริหารงานเท่าใfนัก  ทําให้ขาดการยืดหยุ่นในการปฏิบัติงานทํางานไม่คล่องตัวเพราะเมื่อมีเหตุการณ์ผันแปรไปอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งกระทบกระเทือนไม่อาจทำงานให้เป็นไปตามรายการที่กำหนดไว้อย่างละเอียดตายตัวได้

2) งบประมาณแบบแสดงผลงาน ( Proformance Budget ) เป็นงบประมาณที่ใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมและตรวจสอบการดำเนินงาน ให้ได้ผลตามความมุ่งหมายที่ตั้งงบประมาณรายจ่ายไว้โดยมีการติดตามและประเมินผลของโครงการต่างๆอย่างใกล้ชิดและมีการวัดผลงานในลักษณะวัดประสิทธิภาพในการทำงานว่างานที่ได้แต่ละหน่วยนั้นจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าไรเป็นต้นโดยงบประมาณแบบนี้จะกำหนดงานเป็นลักษณะ ดังนี้

   2.1 ลักษณะของงานที่จะทำเน้นหนักไปในทิศทางที่ว่าจะทํางานอะไรบ้านเป็นข้อสําคัญ

   2.2 แผนของการดำเนินงานต่างๆ เป็นแผนที่แสดงให้เห็นว่า ทำอย่างไร จึงจะทำให้กิจกรรมต่าง ๆ แล้วเสร็จ พร้อมด้วยคุณภาพของงาน

   2.3 วัตถุประสงค์ของการใช้จ่ายเงิน เน้นหนักไปในทิศทางที่ว่าจะใช้งบประมาณเป็นเครื่องมือควบคุมและตรวจสอบการดำเนินงานตามโครงการต่างๆให้ลุล่วงไปตามเจตนาที่ตั้งงบประมาณรายจ่ายเพื่อการนั้นๆ ไว้

3) งบประมาณแบบแสดงแผนงาน (Planning or Programming Budget) มีลักษณะดังนี้

        3.1 เลิกการควบคุมรายละเอียดทั้งหมด

        3.2 ให้กระทรวง ทบวง กรม กำหนดแผนงาน

       3.3 สำนักงบประมาณจะอนุมัติงบประมาณรายจ่ายให้แต่ละแผนงานโดยอิสระ

        3.4 สำนักงบประมาณจะควบคุมโดยการตรวจสอบ และประเมินผลของงานแต่ละแผนงานว่า ได้บรรลุเป้าหมายตามแผนงานเพียงใด ซึ่งประเทศไทยกำลังใช้อยู่ โดยเริ่มใช้ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2525 เป็นต้นมามีรูปแบบตามตารางที่ 3 โดยมีสาระสําคัญที่จะให้มีการใช้ทรัพยากรหรืองบประมาณที่มีอยู่จํากัดให้มีประสิทธิภาพและประหยัด ซึ่งจะประกอบด้วยกระบวนการดำเนินการดังต่อไปนี้ คือ

    (1) ให้มีการจัดแผนงาน งาน หรือโครงการเป็นระบบขึ้นมา โดยจัดเป็นโครงสร้างแผนงาน งานหรือโครงการขึ้นมา

   (2) ให้มีการระบุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของแผนงาน งานให้ชัดเจน

   (3) ให้แสดงค่าใช้จ่ายทั้งหมดของแผนงาน งานหรือโครงการ

   (4) ให้แสดงถึงผลที่ได้รับจากแผนงาน งานหรือโครงการเมื่อสำเร็จเสร็จเรียบร้อยลง

   (5) ให้มีการวิเคราะห์เลือกแผนงาน งานหรือโครงการใดว่าจะมีความเหมาะสมที่จะดำเนินการก่อนหลังกันอย่างไร

หากดำเนินการตามกระบวนการข้างต้นแล้ว จะทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรงบประมาณที่อยู่จํากัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด ทั้งนี้เนื่องจาก

   (1) มีการกําหนดและเลือกแผนงาน งานหรือโครงการที่เหมาะสมที่สุด และมีการกําหนดเป้าหมายต่าง ๆ ไว้ด้วยว่าจะไปแก้ปัญหาด้านไหนอย่างไร ทําให้มีการใช้ทรัพยากรหรืองบประมาณไปในทางที่ดีที่สุด ที่จะให้เกิดประสิทธิภาพและประหยัด

   (2) สามารถที่จะวิเคราะห์แผนงาน งานหรือโครงการได้สะดวกเพราะจัดเป็นระบบขึ้นมาทําให้ง่ายต่อการตรวจสอบว่าแผนงาน งานหรือโครงการใดที่ดําเนินการอยู่ มีความเหมาะสมที่จะดําเนินการต่อไป หรือควรยกเลิก

   (3) ทําให้สามารถมองการใช้จ่ายงบประมาณว่าได้ดําเนินการหนักทางด้านใดอย่างไรควรโยกย้ายหรือสับเปลี่ยนอย่างไร เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ สถานการณ์ และนโยบายของรัฐบาลได้รวดเร็วขึ้น

   (4) ทําให้ส่วนราชการต่าง ๆนําเงินงบประมาณไปใช้ได้คล่องตัวกว่าเพราะสํานักงบประมาณจะพิจารณาในลักษณะผลงานมากกว่าการจัดซื้อ จัดหา

4) งบประมาณแบบแสดงการวางแผนการ กำหนดโครงการ และระบบงบประมาณ(Planning, Programming and Budgeting System) ระบบนี้เป็นการแสดงตัวเลขค่าใช้จ่ายระยะยาวของโครงการที่ได้มีการวางแผนไว้เรียบร้อยแล้ว บวกกับมีข้อมูลที่ถูกต้องในการสนับสนุนโครงการนั้นส่วนประกอบของระบบ    PPBS   นี้ไม่มีอะไรใหม่เลยก็ว่าได้     เพราะเป็นการรวมเอาแนวความคิดของระบบงบประมาณแบบแสดงแผนงาน (Program Budgeting)    แนวความคิดในการวิเคราะห์ค่าหน่วยสุดท้ายทางเศรษฐศาสตร์  (Marginal Analysis)   และการวิเคราะห์ที่เกี่ยวกับผลอันถึงจะได้รับค่าใช้จ่ายในการนั้น ๆ (Cost-Benefit Analysis) หรือ (Cost-Effectionness Analysis) นํามารวมกันเข้ากับการวิเคราะห์อย่างมีระบบ โดยคํานึงถึงเวลาหลายปีข้างหน้า

 สารสําคัญของระบบ PPBS คือ

   4.1) มุ่ง ความสนใจในเรื่องการกําหนดโครงการ (Program) ตามวัตถุประสงค์อันเป็นพื้นฐาน

ของรัฐบาล โครงการอาจจะได้การดําเนินงานจากส่วนราชการต่าง ๆ ซึ่งไม่ได้คํานึงถึงขอบเขตความรับผิดชอบของแต่ละส่วนราชการ

   4.2) พิจารณาถึงค่าใช้จ่ายในอนาคต

   4.3) พิจารณาถึงค่าใช้จ่ายทุกชนิด ทั้งค่าใช้จ่ายโดยตรง ค่าใช้จ่ายประเภททุน และที่ไม่ใช่ประเภททุน รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องด้วย

   4.4) การวิเคราะห์อย่างมีระบบ เพื่อจะหาทางเลือกที่จะดํ าเนินงาน ลักษณะข้อนี้เป็นสาระสําคัญของระบบ PPBS ซึ่งเกี่ยวกับเรื่อง

   - การแสดงวัตถุประสงค์หรือเจตจํานงค์ของรัฐบาล

   - การแสดงทางเลือกดําเนินการต่าง ๆ ที่จะให้บรรลุตามวัตถุประสงค์อย่างชัดเจนและอย่างเป็นธรรม

   - ประมาณค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง ของทางเลือกดําเนินการแต่ละอัน

   - ประมาณผลอันพึงจะได้รับจากทางเลือกดําเนินการนั้น ๆ

   - การเสนอค่าใช้จ่ายและผลอันพึงจะได้รับ เพื่อเปรียบเทียบระหว่างทางเลือกดําเนินการนั้น ๆ พร้อมด้วยสมมุติฐาน

สาระสําคัญของระบบ PPBS ได้แก่ การวิเคราะห์อย่างมีระเบียบ ซึ่งจะใช้ประโยชน์ในการเสนองบประมาณของส่วนราชการอย่างเหมาะสม ส่วนประกอบของการวิเคราะห์ได้แก่เรื่องใหญ่ๆ 5 เรื่อง คือ

    (1) วัตถุประสงค์ที่กําหนดขึ้น จะถูกวางลงในรูป Program Structure ประเภทต่าง ๆ ของ Program ควรจะเป็นตัวแทนของวัตถุประสงค์ของราชการนั้น ส่วนประกอบรองลงมาได้แก่ Program element ได้แก่ กลุ่มกิจกรรมซึ่งจะส่งผลสําเร็จไปสู่วัตถุประสงค์ใหญ่ เทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้ในการวิเคราะห์เกี่ยวกับเศรษฐกิจของระบบ PPBS (จะกล่าวถึงต่อไป) ถูกเปลี่ยนมาใช้ System Analysis

  (2) ในการวิเคราะห์โครงการขั้นสําคัญ ได้แก่ การกำหนดทางเลือกปฏิบัติ ทางเลือกนี้จะถูกนํามาใช้พิจารณาในกิจกรรมแต่ละอย่าง (Activity) หรือกลุ่มของกิจกรรมก็ได้ขอเพียงให้บรรลุวัตถุประสงค์

   (3) ค่าใช้จ่ายที่นํามาวิเคราะห์ ขึ้นอยู่กับทางเลือกดําเนินงานที่นํามาพิจารณาค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันระหว่างทางเลือกดําเนินงานจะต้องพิจารณาด้วย อย่างไรก็ตามค่าใช้จ่ายที่ใช้นี้จะต้องเป็นค่าใช้จ่ายระยะยาว ไม่ใช่แต่ละปี

   (4) Models ที่นํามาใช้ส่วนมาก ได้แก่ เรื่อง Operations Research และเทคนิคต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์มาก

   (5) เกณฑ์ประกอบการพิจารณา ได้แก่ กฎระเบียบต่าง ๆ และมาตรฐาน ซึ่งจะช่วยในการให้ลําดับความสําคัญของทางเลือกดําเนินงานต่าง ๆ และช่วยในการชั่งนํ้าหนักระหว่างค่าใช้จ่ายกับผลอันพึงจะได้รับ

5) งบประมาณแบบฐานศูนย์ (ZERO BASE) งบประมาณแบบฐานศูนย์ ในลักษณะกว้าง ๆ เป็นระบบงบประมาณที่จะพิจารณางบประมาณทุกปีอย่างละเอียดทุกรายการ โดยไม่คํานึงถึงว่ารายการหรือแผนงานนั้นจะเป็นรายการหรือแผนงานเดิมหรือไม่ ถึงแม้รายการหรือแผนงานเดิมที่เคยถูกพิจารณาและได้รับงบประมาณในงบประมาณปีที่แล้วก็จะถูกพิจารณาอีกครั้ง และอาจเป็นไปได้ว่า ในปีนี้อาจจะถูกตัดงบประมาณลงก็ได้ เช่น แผนงาน แผนงานหนึ่ง ปีที่แล้วได้รับงบประมาณรวม 1,000 ล้านบาท เพราะถูกจัดไว้ว่ามีความจําเป็นและสําคัญลําดับ 1 พอมาปีงบประมาณใหม่อาจจะได้รับงบประมาณ 500 ล้านบาทไม่ถึง 1,000 ล้านบาทเดิมก็ได้ ทั้งนี้เพราะเป็นแผนงานที่จําเป็นและสําคัญสําหรับปีที่แล้ว แต่พอมาปีนี้แผนงานนั้น ๆ อาจจะไม่จําเป็นหรือสำคัญเป็นอันดับที่ 1 ต่อไปก็ได้ ไม่จําเป็นต้องได้รับงบประมาณเท่าเดิมต่อไปก็ได้ และในทางตรงกันข้ามแผนงานอีกแผนงานหนึ่งปีที่แล้วถูกจัดอันดับความสําคัญไว้ที่ 3 แต่พอมาปีนี้อาจจะจัดอันดับความสําคัญเป็นที่ 1 และได้รับงบประมาณมากกว่าเดิมปีที่แล้วเพิ่มขึ้นอีกร้อยเปอร์เซ็นต์ก็ได้

6) งบประมาณแบบสะสม (Incremental Budget) การจัดทํางบประมาณในแต่ละปีเป็นภาระหนัก เนื่องจากต้องใช้ข้อมูลมากในการพิจารณาและต้องเกี่ยวข้องกับหน่วยงานหลายหน่วยงานด้วยกัน ดังนั้นต้นใช้เวลามากในการจัดทํางบประมาณหากจะต้องจัดทํางบประมาณใหม่ทั้งหมดทุกปีคงจะทําได้ยาก และคงมีข้อบกพร่องมากด้วย ดังนั้นเพื่อให้ทันกับเวลาที่มีอยู่ และเพื่อให้งบประมาณได้พิจารณาให้เสร็จทันและสามารถนํางบประมาณมาใช้จ่ายได้ จึงได้มีการพิจาณางบประมาณเฉพาะส่วนเงินงบประมาณที่เพิ่มใหม่ที่ยังไม่ได้รับการพิจารณาจากปีที่แล้วนั้น แต่เงินงบประมาณในปีที่แล้วที่ได้เคยพิจารณาไปครั้งหนึ่งแล้ว จะไม่มีการพิจารณาอีกครั้ง เพียงแต่ยกยอดเงินมาตั้งเป็นงบประมาณใหม่ได้เลย เพราะถือว่าได้มีการพิจารณาไปแล้วครั้งหนึ่งคงไม่มีความจําเป็นที่จะต้องไปพิจารณาใหม่อีกครั้ง

สืบค้นจากhttp://km.ru.ac.th/techno/index.php? 

เมื่อ 17  สิงหาคม  2554

หมายเลขบันทึก: 454420เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2011 13:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2012 20:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท