การจัดการความรู้


การจัดการความรู้

การจัดการความรู้

ธุรกิจของการแข่งขันในเชิงอนาคต (Scale-based competition) เป็นการแข่งขันที่ต้องใช้ความเร็ว และต้องสร้างความได้เปรียบด้านการผลิตโดยอาศัยสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ (Intangible assets) ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ เทคโนโลยี มากขึ้นกว่าการใช้สินทรัพย์ที่จับต้องได้ (Tangible assets) เช่น อาคาร เครื่องจักร อุปกรณ์สำนักงาน นอกจากนี้แล้วยังต้องใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์(Creative-based) มากกว่าการใช้ทุน (Capital-based) และให้ความสำคัญกับลูกค้ามากว่าการมุ่งเน้นที่การผลิต ถ้าจะพูดอย่างง่ายๆ ก็คือการแข่งขันในยุคปัจจุบันขึ้นอยู่กับความสามารถขององค์กรในการสร้าง และใช้สินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ดังที่กล่าวมานั้นในการเพิ่มคุณภาพ ช่วยลดต้นทุน ลดระยะเวลาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆ และสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการ ความคาดหวังของลูกค้าได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว

ความรู้เป็นสินทรัพย์ที่โดดเด่นมกกว่าสินทรัพย์อื่นใดในองค์กรนอกจากจะมีคุณค่ามากที่สุดในองค์กรแล้วยังเป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีขีดจำกัด ยิ่งใช้มากเท่าไหร่ก็ยิ่งเพิ่มคุณค่ามากขึ้นเท่านั้น หากผู้ที่ใช้รู้จักที่จะใช้และบูรณาการความรู้เดิมที่มีผสมผสานกับความรู้ใหม่ๆ ที่ได้รับมาผนวกกับการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมาจากความรู้นั้นๆ ก็จะส่งผลให้องค์กรของตนได้เปรียบคู่แข่งขันมากขึ้น และการที่องค์กรจะรักษาความได้เปรียบคู่แข่งขันได้นั้น ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถขององค์กรในการทำให้คนในองค์กรเกิดวงจรของการเรียนรู้ร่วมกันและเกิดการแบ่งปันความรู้ให้แก่คนในองค์กรเดียวกันแล้ว จะเป็นการต่อยอดความรู้ใหม่เพิ่มให้กับคนในองค์กรอีกทางหนึ่ง

องค์ประกอบที่สำคัญของการจัดการความรู้ คือ คน เทคโนโลยี และกระบวนการความรู้ (Knowledge Process) หากจะลำดับความสำคัญของทั้ง 3 อย่างนี้ จะเห็นได้ว่า คน คือองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด เพราะคนเป็นแหล่งความรู้และเป็นผู้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เทคโนโลยี จะเป็นสิ่งที่คนใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวม ค้นคว้า แลกเปลี่ยน ตลอดจนนำความรู้ทีได้ไปใช้โดยง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น ส่วน “กระบวนการความรู้” จะเป็นการนำไปใช้ในการบริหารจัดการ เพื่อนำความรู้จากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้ใช้ ทำให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนา สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้น ซึ่งองค์กระกอบทั้ง 3 อย่างนี้จะต้องเชื่อมโยงกันและเกิดการบูรณาการอย่างสมดุล

จากเอกสารและงานวิจัยหลายฉบับพบว่า การจัดการความรู้มีผลต่อธุรกิจต่างๆ ในหลายรูปแบบ เช่น

ö สร้างนวัตกรรมซึ่งส่งผลให้ผลิตภัณฑ์หรือบริการเกิดความแตกต่างจากคู่แข่งขันในตลาด จึงทำให้ได้เปรียบในการแข่งขัน การต่อรองและสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า

ö เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) และกระบวนการทำงานต่างๆ เกิดการร่วมมือในการปฏิบัติงาน รวมทั้งเสริมสร้าง กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง

ö เพิ่มศักยภาพในการเพิ่มผลผลิต การแข่งขัน

ö เพิ่มประสิทธิภาพการตัดสินใจในการวางแผนและปฏิบัติงานในระดับต่างๆ รวมถึงการตัดสินใจในการลงทุนและแก้ปัญหา

ö สามารถนำสินทรัพย์ความรู้ที่มีอยู่ทั้งในและนอกองค์กรมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  ที่มา : การจัดการความรู้ สู่ภาคปฏิบัติ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ อาคารยาคูลท์ กรุงเทพฯ
หมายเลขบันทึก: 454368เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2011 11:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท