การยกและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย


patient handling การยกและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย พยาบาล
การยกและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย –นพอดุลย์
การบาดเจ็บหรือปวดหลังเป็นปัญหาที่พบได้ทั่วโลก และทำให้เกิดอัตราการป่วยรวมทั้งค่าใช้จ่ายในการรักษามากที่สุด ในประเทศแคนาดาพบว่าพยาบาลเป็นอาชีพที่มีวันหยุดงานมากที่สุด และมีจำนวนเปอร์เซ็นต์ของการหยุดงานจากการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บมากที่สุดเมื่อเทียบกับอาชีพอื่น และในการติดตามประเมินการเจ็บป่วยในพยาบาลยังพบว่ากว่า 90% คือการบาดเจ็บและเจ็บป่วยของกล้ามเนื้อและกระดูก และงานที่ทำให้มีอาการปวดหลังที่พบบ่อยในบุคลากรทางการแพทยัคือการยกหรือเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
สาเหตุของโรคกล้ามเนื้อและกระดูก
1.             มีการยกน้ำหนักมากเพียงครั้งเดียว
2.             มีการยกหรือเคลื่อนย้ายในท่าที่ผิดโดยอยู่ในท่านั้นเป็นเวลาระยะเวลาหนึ่ง
3.             มีการยกหรือเคลื่อนย้ายต่อเนื่องเป็นเวลานานโดยไม่มีเวลาพักให้เนื้อเยื่อกลับคืนเป็นปกติ
4.             มีความเครียด (strain) ในกล้ามเนื้อและข้ออย่างเรื้อรัง
5.             มีกิจกรรมที่ไม่สมดุล เช่น การเคลื่อนไหวซ้ำๆ (repetitive) และการเกร็ง (sustained activities) ในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง เป็นต้น
6.             การใช้ชีวิตทั่วไปในทางที่ไม่ดี (stressful living) เช่นการสูบบุหรี่ หรือมีภาวะทุโภชนาการ เป็นต้น
7.             กระบวนการเสื่อมจากการเคลื่อนไหวซ้ำซาก ทำให้การยืดหยุ่นของกระดูกสันหลังลดลง
8.             ปัจจัยทางจิตสังคม เช่น ความกดดันเรื่องเวลา การทำงานชนิดเดียวติดต่อกัน ความรับผิดชอบสูงขึ้น มีงานมากชนิดเกินไป ไม่มีการหยุดพักระหว่างงานเพียงพอ ไม่สามารถควบคุมหรือออกแบบงานเองได้ ไม่มีการยอมรับหรือสนับสนุนจากเพื่อนหรือผู้ดูแลงาน เป็นต้น
โรคกระดูกและกล้ามเนื้อของหลังที่พบบ่อย
แรงที่กระทำที่เส้นเอ็น (Strained ligaments)
แรงขนาดมากและเร็วที่กระทำต่อเส้นเอ็นที่หลัง เช่นการลื่นหรือหกล้มโดยหงานไปด้านหลังจะทำให้เกิดการฉีกขาดหรือเกิดแรงเครียดที่เส้นเอ็น ทำให้เกิดการปวด ถ้าเป็นแรงที่กระทำช้าๆจะทำให้เอ็นที่ยึดกระดูกฉีกขาดได้ ถ้ามีแรงที่ยืดเส้นเอ็นนานๆ เช่น จากการงอตัวนานๆ จะทำให้กล้ามเนื้อมีอาการเกร็ง ดังนั้นควรจะมีที่นั่งทำงานที่เหมาะสมหรือมีการเปลี่ยมท่าทางการทำงานบ่อยๆ
แรงที่กระทำที่กล้ามเนื้อ (Strained muscles)
แรงที่กระทำที่กล้ามเนื้อเกิดในขณะทำงานซึ่งกล้ามเนื้อจะต้องออกแรงดึงมาก กล้ามเนื้อจะมีความเครียดเพราะมีการยืดตัวที่ไม่ถูกต้อง หรือมีการ warm ไม่เพียงพอ และ กล้ามเนื้อมีการบาดเจ็บอยู่แล้ว และไม่มีเวลาเพียงพอให้กล้ามเนื้อกลับเป็นปกติ ความเครียดที่กล้ามเนื้อเกิดระหว่างออกกำลัง การเล่นกีฬา และในการยกของหนัก
นอกจากนี้ยังมีการปวดหลังแบบต่างๆ
อะไรคือความผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูกที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงาน (Work Related Musculoskeletal Disorders- WRMDs)
                WRMDs หมายถึงการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อ หรือเส้นประสาทที่ถูกทำให้เป็นมากขึ้นจากการทำงาน ซึ่งส่วนใหญ่หมายถึงความผิดปกติที่เกิดจากความเครียดจากการเคลื่อนไหวซ้ำ (Repetitive strain disorders) การบาดเจ็บสะสม (cumulative trauma disorders)  ความผิดปกติของแขนขาส่วนบน ซึ่งปัจจัยในที่ทำงานบางอย่างทำให้เป็นมากขึ้น เช่น การทำงานมากเกินไป  ความเครียดในที่ทำงาน หรือความเครียดจากระยะเวลาการทำงานที่สั้น การทำงานในท่าทางผิดปกติเป็นระยะเวลานาน หรือการยกหรือเคลื่อนย้ายสิ่งของหนักซ้ำกัน เป็นต้น
กฎในการยกที่ปลอดภัย
B = Back Straight ทำงานในท่าทางหลังตรง
A = Avoid Twisting อย่าบิดตัวขณะยก
C = Close to the Body ยกสิ่งของให้ใกล้ตัว
K =  Keep Smooth ค่อยๆ ทำ
 
 
ทำงานในท่าทางหลังตรง (Back Straight)
·       หมอนรองกระดูกสามารถทนต่อแรงกดได้มากกว่าในท่าหลังตรง
·       หมอนรองกระดูกจะทนได้น้อยลงเมื่อยกในท่างอตัว
·       พยายามให้กระดูกสันหลังอยู่ในท่า neutral position
·       พยายามเคลื่อนไหวหลังช้าๆ
·       ลดแรงกดที่กระดูกสันหลังให้เหลือน้อยที่สุด
·       พยายามนึกถึงรูปโค้งปกติเมื่ออยู่ในท่าตรงทุกครั้งที่มีการเคลื่อนไหว
อย่าบิดตัว (Avoid Twisting)
·       หมอนรองกระดูกจะทนต่อแรงกดได้น้อยลงเมื่อยกและบิดตัวพร้อมกัน
·       ข้อต่อของกระดูกสันหลังถูกออกแบบเพื่อป้องกันการหมุน
·       ถ้ามีการบิดตัวขณะยกข้อจะอักเสบและมีอาการปวด
ยกสิ่งของให้ใกล้ตัว (Close to the body)
·       ถ้าสิ่งของที่ยกอยู่ในระยะห่างจากตัว กล้ามเนื้อหลังและข้อหลังจะทำงานมากเพื่อยกน้ำหนักทำให้เกิดความเครียดที่หลัง
·       ถ้าพยายามยกให้ใกล้ตัว ยิ่งใกล้ตัวมากเท่าใดก็จะมีน้ำหนักและความเครียดต่อหลังน้อยลงเท่านั้น
ค่อยๆทำ (Keep Smooth)
·       การยกหรือเคลื่อนไหว แบบทันทีทันใดจะเพิ่มแรงกดลงบนหมอนรองกระดูกมากขึ้น
สิ่งที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติม
·       พยายามใช้เครื่องผ่อนแรงเข้าช่วย
·       ระหว่างเคลื่อนไหวควรใช้กล้ามเนื้อขา สะโพก และเข่าช่วยยก
·       เมื่อยกให้เกร็งกล้ามเนื้อท้องและเชิงกรานเพื่อให้ของหรือผู้ป่วยอยู่ใกล้ตัวเรามากที่สุด
·       พยายามอย่าเอื้อมตัวเพื่อยกเพื่อป้องกันความเครียดต่อข้อต่อต่างๆของกระดูกสันหลัง
  • ถ้ายกไม่ไหวหรือผู้ป่วย สิ่งของลื่นหลุด ให้ค่อยๆย่อตัวลงกับพื้น และพยายามเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องเพื่อป้องกันการหมุนตัว
  • ให้ทำตามกฎที่กล่าวไว้ตาม NIOSH โดยคนปกติจะยกน้ำหนักได้ 23 กิโลกรัมหรือ 51 ปอนด์
การยกน้ำหนักให้น้อยที่สุด
                การยกน้ำหนักให้น้อยที่สุดจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดอาการบาดเจ็บหรือโรคของกล้ามเนื้อและข้อที่หลัง โดยความช่วยเหลือหรือใช้เครื่องมือเช่นเครื่องยกผู้ป่วย  เข็มขัดช่วยพยุงเดิน เก้าอี้ช่วยอาบน้ำ กระดานเคลื่อนย้าย และ ผ้าสำหรับใช้เคลื่อนย้าย ในการใช้เครื่องมือเหล่านี้จะต้องมีการฝึกอบรมการใช้ด้วย
 
นิยามของคำว่าเคลื่อนย้าย (transfers) ยก (lifts) และ จัดท่า (repositioning)
การเคลื่อนย้าย
เป็นการนำหรือช่วยผู้ป่วยจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง ผู้ป่วยสามารถพยุงตนเองโดยการเดิน หรือใช้แขนได้ และมีการใช้เครื่องช่วยเช่นกระดานเคลื่อนย้าย walker หรือไม่เท้าเพื่อพยุงในส่วนที่ผู้ป่วยไม่สามารถช่วยตนเองได้
การยก
เป็นกระบวนการที่ต้องรับน้ำหนักตัวทั้งหมดของผู้ป่วย (entire body weight) โดยคนอื่น (ผู้ป่วยไม่สามารถทำหรือช่วยได้)  หรือเครื่องมือเช่น เครื่องช่วยยก เพื่อจัดท่าหรือเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปยังสถานที่อื่น
การจัดท่า
เป็นการพลิก ปรับ หรือเปลี่ยน ท่าทางของผู้ป่วยในเตียง รถเข็น เก้าอี้ เป็นต้น
การประเมิน
การประเมินก่อนเคลื่อนย้ายหรือยกผู้ป่วยเป็นเรื่องสำคัญเนื่องจาก เป็นการช่วยค้นหาความเสี่ยงของการบาดเจ็บ ทำให้มีการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง  ช่วยในการเตรียมพร้อมต่อความเสี่ยงที่เป็นไปได้ และช่วยลดความเสี่ยงในบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย
การประเมินบริเวณที่ทำงาน
·       ควรเข้าถึงผู้ป่วยได้ง่าย
·       ไม่ควรมีเฟอร์นิเจอร์หรือเครื่องมือเกะกะมาก
·       การที่มีของวางมากในห้องจะเป็นสาเหตุของการลื่นและหกล้ม
·       ในห้องเล็กๆ เช่นห้องน้ำจะยกหรือเคลื่อนไหวผู้ป่วยในท่าที่ถูกต้องได้ลำบาก
·       การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยสู่เก้าอี้อาบน้ำนอกห้องน้ำจะสะดวกกว่าการเคลื่อนย้ายเข้าไปในห้องน้ำโดยตรง
·       ในห้องเล็ก อาจจะไม่มีสถานที่พอสำหรับเครื่องยกผู้ป่วยชนิดเคลื่อนที่ จะมีเครื่องช่วยยกผู้ป่วยซึ่งติดกับรางเลื่อน ซึ่งไม่ต้องใช้พื้นที่มากนัก
·       จะต้องมีบริเวณที่เป็นที่ว่างรอบเตียงและห้องน้ำเพื่อทำให้เข้าหาผู้ป่วยได้ทั้งสองด้าน (อย่างน้อย 90 เซนติเมตร)
·       ต้องระวังพื้นที่ขัดเงาจนเรียบ หรือพื้นกระเบื้องเพราะจะทำให้มีการลื่นได้
·       ให้คลุมพื้นที่เปียกด้วยวัสดุกันลื่น
·       การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจะง่ายขึ้นถ้ามีรถเข็นที่สามารถเคลื่อนที่ท้าวแขนหรือที่พักขาเข้าออกได้
·       เตียงที่สามารถเลื่อนขึ้นลงได้จะทำให้การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยง่ายขึ้น
·       เสื้อผ้าที่สามารถถอดเข้าออกง่าย หรือ มีเจาะรูบริเวณทวารหนักจะทำให้ผู้ป่วยขับถ่ายได้ง่ายขึ้น
·       ฝักบัวที่ดึงขึ้นลงได้ ทำให้สามารถอาบน้ำได้ง่ายขึ้น
·       จะต้องมีพยาบาลหรือผู้ช่วยพยาบาลเพียงพอเพื่อให้การเคลื่อนย้ายหรือยกผู้ป่วยสะดวกขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่มีผู้ป่วยหนักจำนวนมาก
·       ควรมีการประเมินการรับรู้ สติ ความจำ การสื่อสาร โรคและอาการ และสภาพร่างกายก่อนการยกหรือเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
                                                                            
 
รูปที่ 1 ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวได้โดยอิสระ
·       ให้ผู้ป่วยเคลื่อนย้ายด้วยตนเองถ้าสามารถทำได้โดยไม่มีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บและไม่มีอาการเจ็บปวดขณะเดิน
 
 
 
 
 
 
 
รูปที่ 2 การเคลื่อนย้ายโดยมีผู้ดูแล .
·       ควรใช้การเคลื่อนย้ายชนิดนี้ถ้าผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวได้เองแต่อาจจะต้องคองบอกหรือการเตรียมเข้าช่วยเหลือ บ้าง
ในกรณีนี้การใช้เข็มขัดเพื่อช่วยย้ายจะมีประโยชน์
 
 
 
 
 
 
 

 

รูปที่ 3 การเคลื่อนย้ายโดยใช้คนช่วยและมีเข็มขัดเคลื่อนย้าย
·       ใช้วิธีนี้เมื่อผู้ป่วยสามารถยืนโดยมีคนช่วยเหลือ ซึ่งจะแบกรับน้ำหนักประมาณ 18 กก (40 ปอนด์)
·       เมื่อแพทย์สั่งให้ผู้ป่วยมีการลงน้ำหนักได้บ้าง
·       จะต้องใช้เข็มขัดช่วยทั้งสองกรณีเพื่อความปลอดภัย
For safe handling a transfer belt must be used. (5)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
รูปที่ 4 การเคลื่อนย้ายโดยใช้สองคนช่วย
·         ใช้เมื่อผู้ป่วยสามารถลงน้ำหนักที่ขาได้ แต่อาจจะหกล้มได้ทุกเมื่อ  จะต้องใช้คนช่วยสองคน โดยคนตัวสูงจะอยู่ข้างหลังผู้ป่วย และจะต้องใช้เข็มขัดเคลื่อนย้ายตลอดเวลา
 
 
 
 
 
 
 
 
รูปที่ 5 การเคลื่อนย้ายโดยใช้ Walker
·       ควรใช้วิธีนี้เมื่อผู้ป่วยสามารถลงน้ำหนักที่ขาได้ข้างหนึ่ง  และแขนส่วนบนมีแรงและเคลื่อนไหวได้พอสมควร หรือแพทย์สั่งให้ลงน้ำหนักน้อย
or partial weight bearing.(5)
 
 
 
 
 
 
 
รูปที่ 6 การใช้เครื่องช่วยยกในท่านั่ง-ยืน (SARA lift)
·       ใช้เมื่อผู้ป่วยสามารถนั่งได้ดีที่ข้างเตียงและสามารถพยุงตัวได้บ้าง ผู้ป่วยจะต้องมีสติดี เข้าใจและทำตามสั่งได้ และทนต่อแรงกดของเครื่องพยุงที่ใต้ท้องแขนได้ ไม่ควรใช้กับผู้ป่วยที่เป็นอัมพาต
 

 

 
 
 
 
 
 
 
 
รูปที่ 7 การใช้เครื่องมือช่วยยกทั้งตัว
·       ใช้เมื่อผู้ป่วยเคลื่อนย้ายได้เล็กน้อยหรือไม่สามารถเดินเองโดยการช่วยเหลือใดๆได้  สามารถใช้กับคนที่ไม่ร่วมมือ ไม่ค่อยรู้สติ น้ำหนักตัวมากได้
 
รูปที่ 8 เข็มขัดช่วยย้าย
·       ควรใช้เมื่อผู้ป่วยต้องการผู้ช่วยเหลือในการเคลื่อนไหวหรือย้าย
 
รูปที่ 9 แผ่นปูสำหรับเคลื่อนย้าย
·       ควรใช้เมื่อมีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปยังบริเวณที่มีความสูงเท่ากัน และยังช่วยย้ายผู้ป่วยไปยังรถเข็น สำหรับผู้ป่วยที่อ่อนแรงที่ขา
 
รูปที่ 10 แผ่นผ้าสำหรับเลื่อนตัว
·       ใช้ในการปรับท่าผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายตนเองโดยอิสระได้ ในเตียงต้องใช้คนช่วยสองคน แผ่นผ้ายังช่วยเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากเตียงไปยังรถเข็นหรือกรณีที่ผู้ป่วยตกเตียง หรือในที่แคบ และยังใช้สำหรับเครื่องยกได้ด้วย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

การป้องกัน
·       ตรวจสอบสภาพแวดล้อมในการทำงานสม่ำเสมอ
·       หลีกเลี่ยงท่าทางการทำงานที่ไม่ถูกต้อง หรือการทำงานที่ต้องมีการเกร็งกล้ามเนื้อนานๆ หรือการเคลื่อนไหวซ้ำๆ โดยการทำงานหลายรูปแบบตลอดวัน
·       พยายามเคลื่อนไหวช้าๆ อย่าเคลื่อนไหวเร็วขณะต้องยกผู้ป่วยน้ำหนักมากเพี่อลดการบาดเจ็บที่หลัง
·       อยู่ในท่า neutral และพยายามผ่อนคลาย
·       พยายามใช้เครื่องมือในการช่วยย้ายผู้ป่วย
·       ดูแลอัตราผู้ป่วยต่อเจ้าหน้าที่ให้พอเพียง
·       พยายามให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้เครื่องมือช่วยเหลือที่เหมาะสม และมีการดูแลอย่างดี
·       พยายามอย่าให้ห้องรก
·       วางแผนในการเคลื่อนย้ายหรือยกผู้ป่วยล่วงหน้า
·       ปรับความสูงของเครื่องมือเพื่อป้องกันการงอ ยืดตัว หรือบิดตัว
·       /พยายามใช้เครื่องกลมาช่วย
·       ออกกำลังสม่ำเสมอ
·       พยายาม warm up กล้ามเนื้อก่อนการยกหรือเคลื่อนย้าย
หมายเลขบันทึก: 454302เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2011 23:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 00:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท