การจัดทำผังเครือข่ายงาน


ความหมายของผังงานและการเขียนผังงาน

 

ผังงาน (Flowchart)

การเขียนผังงาน

                             

          1. ความหมายของผังงาน
                            ผังงาน (Flowchart) คือ แผนภาพแสดงลำดับขั้นตอนการทำงาน เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวางแผนขั้นแรกมาหลายปี โดยใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ ในการเขียนผังงาน เพื่อช่วยลำดับแนวความคิดในการเขียนโปรแกรม เป็นวิธีที่นิยมใช้เพราะทำให้เห็นภาพในการทำงานของโปรแกรมง่ายกว่าใช้ข้อความ หากมีข้อผิดพลาด สามารถดูจากผังงานจะทำให้การแก้ไขหรือปรับปรุงโปรแกรมทำได้ง่ายขึ้น

2. ประเภทของผังงาน
ผังงาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ผังงานระบบ (System flowchart) และ ผังงานโปรแกรม (Program flowchart)

2.1 ผังงานระบบ (System flowchart)
หมายถึง ผังงานที่แสดงขั้นตอนการทำงานของระบบทั้งหมด แสดงถึงอุปกรณ์ในรับข้อมูล เอกสารเบื้องต้น สื่อบันทึกข้อมูล วิธีการประมวลผล สูตรที่ใช้ในการคำนวณ การแสดงผลลัพธ์และอุปกรณ์ที่ใช้แสดงผลลัพธ์ในแต่ละจุดของผังงาน เป็นแสดงการทำงานทั้งระบบอย่างกว้าง ๆ ไม่ละเอียด จึงไม่สามารถเขียนโปรแกรมจากผังงานระบบได้

 
 

2.2 ผังงานโปรแกรม (Program flowchart)
หมายถึง ผังงานที่แสดงขั้นตอนของคำสั่งการทำงานอย่างละเอียด โดยใช้สัญลักษณ์ในการเขียนผังงานเช่นเดียวกับการเขียนผังงานระบบ เป็นการวางแผนการเขียนโปรแกรมโดยผังงานโปรแกรมจะแสดงลำดับคำสั่งเป็นขั้นตอนในการปฏิบัติงานอย่างละเอียด การเขียนผังงานโปรแกรมก่อน จึงเขียนโปรแกรมตามผังงาน จะช่วยลดข้อผิดพลาดในการเขียนโปรแกรมลง ทำให้การเขียนโปรแกรมทำได้ง่ายและถูกต้องกว่าการเขียนโปรแกรมโดยไม่มีผังงาน

 
 

3. สัญลักษณ์ในการเขียนผังงาน
เป็นสัญลักษณ์ตามมาตรฐานของ ANSI (the ANSI flowchart symbols)

 

ยังมีสัญลักษณ์ของผังงานอีกหลายแบบที่ช่วยในการเขียนโปรแกรมให้สะดวกขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบคอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมระบบคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่าย

 
4 การจัดลำดับผังงาน
การเขียนโปรแกรมอย่างมีโครงสร้าง (Structured Programming) ช่วยให้การลำดับขั้นตอนการเขียนคำสั่งการทำงานถูกต้อง ไม่สับสน รูปแบบของผังงานเพื่อใช้ในการเขียนโปรแกรมอย่างมีโครงสร้างมี 4 แบบ คือ
       4.1 แบบตามลำดับ (Sequence structure)
       รูปแบบคือ การทำงานแต่ละคำสั่งจากคำสั่งหนึ่งไปยังอีกคำสั่งหนึ่งตามลำดับ

 
        4.2 แบบทางเลือก (Selection structure)
     รูปแบบคือ เลือกทำตามคำสั่งตามเงื่อนไขที่กำหนด มี 2 แบบ คือ
          1) IF <เงื่อนไข> THEN <ทำคำสั่ง>
          2) If <เงื่อนไข> THEN <ทำคำสั่งที่ 1> ELSE <ทำคำสั่งที่ 2>
     รูปแบบ 1) IF <เงื่อนไข> THEN <ทำคำสั่ง>
     
             
                         
    รูปแบบ 2) IF <เงื่อนไข> THEN <ทำคำสั่งที่ 1> ELSE <ทำคำสั่งที่ 2>                        
                   
 

4.3 แบบวนรอบ (Loop structure)
    รูปแบบ การทำคำสั่งเดิมซ้ำการหลายรอบตามเงื่อนไขที่กำหนด มี 2 แบบคือ
    1) แบบ DOWHILE หมายถึง ทำคำสั่งซ้ำ ๆ กันในขณะที่เงื่อนไขเป็นจริง
    2) แบบ DOUNTIL หมายถึง ทำคำสั่งซ้ำ ๆ กันจนกระทั่งเงื่อนไขเป็นจริง 

1) แบบ DOWHILE เป็นการทำงานซ้ำ ๆ กันภายใต้เงื่อนไขที่เป็นจริง จนกว่าเงื่อนไขจะเป็นเท็จ จึงจะหยุดทำงาน และออกไปทำคำสั่งต่อไป

       
               
                                               
  2) แบบ DOUNTIL เป็นการทำงานซ้ำ ๆ กันภายใต้เงื่อนไขที่เป็นเท็จ จนกว่าเงื่อนไขที่กำหนดไว้จะเป็นจริง จึงจะหยุดและออกไปทำคำสั่งอื่นต่อไป      
                   
  4.4 แบบ Case (Case structure)
    รูปแบบ ทางเลือกหลายทาง การใช้โครงสร้างแบบ CASE ในการเขียนผังงาน จะทำให้ดูง่ายกว่าการใช้แบบ Selection Structure
       
                     
                                               
           
< Home>
<Top >
< Back >
                 

                                       
 
แผนกสารสนเทศและวิเทศสัมพันธ์ ฝ่ายวางแผนและพัฒนา
   
       
                                               

 http://www.kpsw.ac.th/vichit/media/weblogo/flowchat.htm

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 454206เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2011 16:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท