การบริหารโครงการและควบคุมโครงการ


การบริหารโครงการและควบคุมโครงการ

 

  การบริหารโครงการและควบคุมโครงการ
    ช่วงเริ่มดำเนินการ
                       - ดำเนินการติดตามโครงการตามจุดตรวจสอบ
                       - ประเมินผลตามเกณฑ์การวัดผล
    ช่วงดำเนินโครงการ
               -  ติดตามการสื่อสารภายในโครงการ
               -  ตารางการรายงาน
               -  รายงานสถานภาพของกิจกรรมในโครงการ
          - การประชุม
          -  การประชุมเริ่มโครงการ  (Kick off  Meeting)
                    -  ประเภทการประชุม
                    -  การประชุมภายในทิมงาน
                    -  ประชุมระหว่างกรรมการบริหารและทีมงาน
                    -  ประชุมแก้ปัญหาเฉพาะกิจ
                    -   ความถี่ในการประชุม

    การติดตามดูแลโครงการ ( Project Monitoring )
- การตรวจติดตาม  (Audit)
- การติดตามโดยผู้จ้าง
- การตรวจติดตามในระดับโครงการเอง
- การวัดความก้าวหน้าระหว่างการดำเนินงาน
- จัดทำโดยผู้จัดการโครงการ ทุกสัปดาห์ 1  เดือน  3 เดือน
- วัดความก้าวหน้า ทบทวนปัญหา หาทางแก้ไขและป้องกัน

กระบวนการแก้ไขปัญหา 
  - การระบุปัญหา
  - รวบรวมข้อมูล
  - วิเคราะห์หาสาเหตุ
  - ทำแผนปฏิบัติ
  - กำหนดทางเลือกในการแก้ไขปัญหา
  - เลือกทางแก้ไขที่ดีที่สุด
  - นำแผนไปปฏิบัติ
  - ประเมินผลการแก้ไข

ความขัดแย้งในโครงการ
   สาเหตุความขัดแย้ง
  - ความแตกต่างระหว่างบุคคล  อายุ ประสบประการณ์ พื้นฐานความรู้
  - บุคลิกภาพ
  - ทัศนคติ
  - เป้าหมายของโครงการไม่เห็นชอบร่วมกัน
  - ความรับผิดชอบไม่ชัดเจน
  - ความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน

- ประเภทความขัดแย้ง
  . ความขัดแย้งระว่างผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้าง
  . ความขัดแย้งภายในโครงการ
  . ความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม
- การจัดการความขัดแย้ง
  . กำหนดหน้าที่ให้ชัดเจน
  . กำหนดบทบาทในทีม
  . กำหนดบทบาทโดยการปรึกษาหารือ
  . แก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม
- ความตึงเครียดในโครงการ
  . สาเหตุ
  . หาวิธีการจัดการกับความตึงเครียด



 รูปแบบการปิดโครงการ
  - การปิดโครงการเมื่อแล้วเสร็จตามแผน
  - การปิดโครงการกลางคัน
  - การปิดโครงการเดิม และเปิดโครงการใหม่



  การประเมินโครงการ

วงจรการวางแผนแบบดั้งเดิม (Conventional Model)

ความเชื่อบางอย่างเกี่ยวกับการประเมิน
-  การประเมิน เป็นกิจกรรมที่ไร้ประโยชน์ เนื่องจากให้ข้อมูลที่น่าเบื่อ และมีข้อสรุปที่ใช้ประโยชน์ไม่ค่อยได้
-  การประเมินนั้นเกี่ยวข้องกับ การพิสูจน์ว่าแผนงาน/โครงการสำเร็จหรือล้มเหลว
-  การประเมินเป็นงานที่มีลักษณะเฉพาะ และมีความซับซ้อน (ยาก) ซึ่งควรเป็นนักประเมินจากภายนอกองค์กร เท่านั้นจึงจะดำเนินการได้
แนวความคิดเกี่ยวกับการประเมิน
-  กลุ่มที่เชื่อเรื่องความเป็นมาตรฐาน ระบบระเบียบเที่ยงตรงของการประเมิน (Standard-based Evaluation)
-  กลุ่มที่เชื่อเรื่อง การใช้ประโยชน์จากการประเมินของคนกลุ่มต่างๆ (Utilization-based or User Perspective Evaluation)
-  กลุ่มที่เชื่อเรื่องการประเมินที่สร้างความรู้นำสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social change Evaluation)
แนวโน้มสำหรับการประเมินในปัจจุบัน
-  มีการใช้และยอมรับการประเมินภายใน (internal evaluation)  ทั่วไป
-  มีการประเมินใน Not for profit organizations
-  ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative method) มากขึ้น
-  เน้นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่หลากหลาย
-  พัฒนาศักยภาพการประเมินให้แก่ผู้เกี่ยวข้องกับโครงการ เป็นการสร้างสรรค์องค์กรเรียนรู้ทางหนึ่ง
-  มีการกำหนดจรรยาบรรณ/มาตรฐานของการประเมิน
-  มีการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง มาอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประเมิน
ความหมายใหม่ของการประเมินในศตวรรษที่21
-  ความหมายของการประเมินแตกต่างกันไปตาม “จุดเน้น” ของผู้ประเมิน เช่น เน้นเป้าหมาย  เน้นกระบวนการ เน้นผู้รับบริการ เน้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
-  มีคนให้นิยามการประเมินไว้มากกว่า60 แบบ (Patton,2000:7) จึงทำให้ขาดความเป็นเอกภาพ (uniformly definition)
-  มีคำเช่น adjudge, appraise,  analyza, assess, critique,  examine, grade, inspect, judge,rate, rank,review,  score,test ที่มีความหมายทับซ้อนกับ Evaluation
-  ความหมายของการประเมินอย่างกว้างๆ จึงหมายถึง “การดำเนินการอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้สารสนเทศ  ที่เป็น ประโยชน์ และนำไปสู่การเห็นคุณค่าของสิ่งที่ประเมิน”
-  เน้นการดำเนินการที่เป็นระบบมีขั้นตอน กระบวนการ เทคนิค ชัดเจน
-  มีจุดเน้นได้หลากหลาย แล้วแต่ว่าผู้ประเมินให้ความสำคัญกับเรื่องอะไร
-  ปลี่ยนจากความคิดที่จะตรวจสอบ หาความสำเร็จ ล้มเหลว(judge)  มาค้นหาความดีงามหรือคุณค่าของ โครงการ(merit)
- ผูกมัดการประเมินกับการเรียนรู้หรือพัฒนางานมากกว่าจะเป็นเรื่องควบคุม สั่งการ
เหตุผลของการประเมินโครงการ(Why)
- เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Accountability)
-  เพื่อการบริหารโครงการให้มีประสิทธิภาพ
-  เพื่อเป็นเครื่องมือสร้างการเรียนรู้ของ  Stakeholders
-  เพื่อพัฒนาศักยภาพให้กับ Stakeholders
-  เพื่อปรับมาตรฐานการทำโครงการ โดยเฉพาะในเรื่องของวัตถุประสงค์ของโครงการ
ลักษณะวัตถุประสงค์โครงการที่ดี(SMART Objective)
         - Specific            ชัดเจนว่าต้องการบรรลุอะไร
         - Measurable                วัดผลได้
         - Achievable                  สำเร็จได้จริง ไม่ยากหรือเพ้อฝันเกินไป 
         - Realistic              เป็นไปได้จริงภาพใต้ทรัพยากร
         - Time-bound               มีขอบเขตเวลาชัดเจน

 
1. การกำหนดคำถามในการประเมิน
- คำถามซึ่งโครงการควรตอบแก่สังคม เพื่อแสดงคุณค่า จุดยืน แก่นแท้ของโครงการ เช่น
- ผลกำไรของโครงการนี้ คุ้มค่าต่อการลงทุนหรือไม่ อย่างไร
- โครงการได้ตอบสนองต่อกลุ่มเป้าหมายอย่างไร
- การมีส่วนร่วมของชาวบ้านในการจัดการน้ำเสียเป็นอย่างไร
- การบริหารโครงการมีประสิทธิภาพ และทำให้โปร่งใสอย่างไร
- คำถามนี้มาจาก วัตถุประสงค์ เนื้อหา และกิจกรรมของโครงการ
- นักประเมินอาจตั้งคำถามได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับว่าจุดเน้นของการประเมินเป็นอย่างไร

ตัวอย่างคำถามการประเมิน ก่อนการดำเนินการ
- สภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ที่เกี่ยวข้องกับโครงการของเราเป็นอย่างไร
- นโยบายของโลก รัฐ องค์กรในเรื่องที่เกี่ยวกับโครงการเป็นอย่างไร
- ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างไร
- มีการดำเนินการอะไรไปแล้วบ้าง และได้ผลอย่างไร มีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไร เพราะเหตุใดจึงต้องมีการ ดำเนินการต่อไปอีก
- ประสบการณ์ขององค์กรที่รับผิดชอบต่อเรื่องนี้เป็นอย่างไร
ตัวอย่างคำถามการประเมิน ระหว่างการดำเนินการ
         -  การดำเนินการเป็นไปตามแผนหรือไม่ การปรับเปลี่ยนแผนเกิดจากอไร สมเหตุผลหรือไม่
         -  กิจกรรมต่างๆ ลงไปยังกลุ่มเป้าหมายตามแผนที่กำหนดหรือไม่
         -  เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในกลุ่มเป้าหมายระหว่างการดำเนินการอย่างไรบ้าง
         -  กลยุทธ์ ( tactics) ต่างๆถูกใช้อย่างถูกต้องหรือไม่ อย่างไร
         -  มีปัญหาอุปสรรคอะไรบ้างระหว่างการดำเนินการ
         -  ความสามารถของทีมงานที่รับผิดชอบโครงการเป็นอย่างไร
         -  ประสิทธิภาพของการใช้งบประมาณเป็นอย่างไร
         -  การบริหารโครงการเกิดความคล่องแคล่วและโปร่งใสได้อย่างไร
ตัวอย่างคำถามการประเมิน ภายหลังการดำเนินงาน
        -  โครงการบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่
        -  ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้รับการตอบสนองหรือไม่ อย่างไร
        -  ผลการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่  อย่างไร
        -  มีความแตกต่างระหว่างก่อนมีโครงการและหลังมีโครงการอย่างไรบ้าง
        -  มีเงื่อนไขปัจจัยอะไรที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของโครงการ
        -  มีผลอื่นๆนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในโครงการหรือไม่และผลดังกล่าวเป็นอย่างไร

 
2. การกำหนดข้อมูลที่จำเป็น 
        - เราจำเป็นต้องมีข้อมูลที่ดี เพื่อเป็นการตอบคำถามในกาประเมินแต่ละข้อ
        - ในบางยุคสมัย เราเรียกข้อมูลพวกนี้ว่า “ตัวชี้วัด” ซึ่งหมายถึงสิ่งซึ่งเป็นตัวแทนของสิ่งที่ต้องการจะ ประเมิน
        - ที่ว่า “ตัวแทน” เพราะหลายเรื่องที่จะประเมินนั้นเป็นนามธรรมและต้องการข้อมูลหลายๆตัวประกอบ กันเช่น คุณภาพบริการ ความโปร่งใส
ตัวชี้วัด เกณฑ์ ดัชนี
          -  ตัวชี้วัด(indicator) หมายถึง ค่าตัวเลขที่มาจากการสังเกต(observation)ซึ่งพิจารณาแล้วว่าสามารถจะวัดหรือสะท้อนสิ่งที่นักประเมินต้องการทราบได้อย่างเป็นรูปธรรม เช่น ในต่างประเทศถือว่าความสม่ำเสมอในการโบสถ์เป็นตัวชี้วัดของความเคร่งศาสนา
          - เกณฑ์ (criteria)หมายถึงระดับ(degree)ของสิ่งที่จะวัดหรือตัวชี้วัดว่าแค่ไหนถึงจะเป็นที่น่าพอใจหรือได้มาตรฐานเช่น การเข้าโบสถ์เป็นประจำทุกสัปดาห์ไม่น้อยกว่า5ปี ถือว่าได้มาตรฐานของการเคร่งศาสนาเป็นต้น
        ซึ่งที่มาของเกณฑ์อาจมาจากแหล่งอ้างอิง หรือจากนักประเมินเอง
          - ดัชนี (index) หมายถึง ชุดของตัวชี้วัดของสภาพการณ์ทางธรรมชาติ ความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมของมนุษย์เช่น ดัชนี จปฐ. ประกอบด้วยชุดของตัวชี้วัดความจำเป็นพื้นฐาน 
ประเภทของข้อมูล(ตัวชี้วัด)
     -   แบ่งตามการวัดได้แก่ พวกที่วัดได้โดยตรงกับพวกที่เป็นแนวคิด
     -   แบ่งตามลำดับการเกิด ได้แก่ ทรัพยากร กระบวนการ ผลผลิต ผลลัพธ์ ผลกระทบ
     -   แบ่งตามแหล่งข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลปฐมภูมิ และข้อมูลทุติยภูมิ
     -   แบ่งตามวัตถุประสงค์ของการประเมิน ได้แก่ ข้อมูลกระบวนการดำเนินงาน และข้อมูลผลการดำเนินงาน

ขั้นตอนการกำหนดข้อมูล (ตัวชี้วัด)

ทำความกระจ่างในวัตถุประสงค์  และคำถามประเมินแต่ละข้อ


แตกประเด็นจากผลลัพธ์ที่ควรจะเป็น(แตกจาก concept ใน เรื่องนั้น


กำหนดตัวชี้วัดในแต่ละประเด็นย่อย


กำหนดเกณฑ์ของตัวชี้วัด

เพราะเหตุใดจึงต้องแตกประเด็นย่อย ?

การแตกคำถาม

    ประเมินออกเป็น

    ประเด็นย่อยๆ

    (Binning  Approach)

  ทำให้ควบคุมได้ว่า

     การประเมินมีความ

     ครอบคลุม  และถูกต้อง


ลักษณะข้อมูลที่ดี
              -Validity  มีความตรงในการวัด       
              - Reliability  มีความเชื่อถือได้
              - Sensitive  มีความไวต่อสิ่งที่จะวัด
              - Economy  มีความประหยัด
              - Feasible  มีความสะดวกและเป็นไปได้ที่จะวัด
ระเบียบวิธีการประเมิน (Evaluation Strategy)
       -   การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเป้าหมาย ในลักษณะของการสำรวจกับกลุ่มตัวอย่าง (Sample Survey) หรือการสัมภาษณ์เป็นรายบุคคล/กลุ่ม
       -   การทำกรณีศึกษา (Case Study) เป็นการอธิบายหรือวิเคราะห์ในเชิงลึกของโครงการเดียว ภายใต้สภาพแวดล้อมของโครงการนั้นๆอย่างครบถ้วน โดยมีเจตนาที่จะศึกษาโอกาสที่จะแผ่ขยายโครงการ
       -   การทดลองภาคสนาม (Field Experiment) เป็นการศึกษาว่าโครงการในลักษณะที่เป็นสาเหตุ ได้ก่อให้เกิดผลที่ตามมาอย่างไร (Cause-and-Effect)
       -   การใช้ข้อมูลที่มีอยู่ (Available Data) ข้อมูลสถิติ รายงานประจำปี รายงานการวิจัยประเมิน ฯลฯ
การเขียนรายงานการประเมิน

ส่วนนำ
    -  ปกนอก
    -  ปกใน
    -  บทคัดย่อ
    -  กิตติกรรมประกาศหรือคำนำ
    -  สารบัญ
    -  สารบัญตาราง
    -  สารบัญรูปภาพ
บทที่ 1 ( เนื้อเรื่อง )
    - ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
    - วัตถุประสงค์การประเมิน
    - ขอบเขตการศึกษา ( ด้านเนื้อหา/ ด้านพื้นที่ )
    - ข้อตกลง/ ข้อจำกัดของการศึกษา
    - นิยามศัพท์
    - ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

การเขียนรายงานการประเมิน

บทที่ 2  เอกสารที่เกี่ยวข้อง

    -  โครงการที่จะประเมิน

    -  แนวคิดในการประเมินผล

    -  ขั้นตอนในการสร้างตัวชี้วัด

บทที่ 3 วิธีดำเนินการประเมิน

    -  ตัวชี้วัด

    -  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

     - เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล

     - การรวบรวมข้อมูล

     - การวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่  4  ผลการประเมิน

    -  ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง

    -  ลักษณะของตัวชี้วัดที่ศึกษา

    -  ผลการเปรียบเทียบตามเกณฑ์

บทที่ 5 สรุปผลการประเมิน

    -  สรุปผล

    -  อภิปรายผลและเสนอแนะ

ส่วนอ้างอิง

    -  บรรณานุกรม

    -  ภาคผนวก ( แบบสอบถาม ฯลฯ )

 

ตัวอย่างรายละเอียดของโครงการ
  รายละเอียดในการเขียนโครงการ
             ชื่อโครงการ
             หลักการและเหตุผล(RATIONALE  AND  SURVEY)
             รายละเอียดเบื้องต้นของโครงการ
               - ประวัติความเป็นมาของโครงการ (Project Background)
               - หน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการ (Functional Organization)
               - หัวหน้าโครงการและทีมงาน (Project Leader/ Project Team)
               - ระยะเวลา (Project Period)
               - งบประมาณ (Project Budget)
               - คำนิยาม (Terminology)
      เป้าหมายและวัตถุประสงค์โครงการ (OBJECTIVE AND SCOPE OF WORK)
            - เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการ (Objective and goal)   
            - ขอบเขตงาน (Scope of Work)
      การจัดองค์การและการทำงาน
            - การจัดโครงสร้างองค์การ (Project Organization)
            - หน้าที่และบทบาท (Roles and Functions)
            - ผู้รับผิดชอบ (Allocation of Responsibility)
       การสิ้นสุดโครงการ (PROJECT TERMINATION)
       การวิเคราะห์ความเสี่ยง (RISKS)
       แผนงาน (PLANS)
           - ตารางเวลา (Detail Project Schedule)
       งบประมาณ (BUDGET)
           - ตารางค่าใช้จ่าย
       รายการการเปลี่ยนแปลง (HISTORY)
       การอนุมัติ

การนำความรู้ในการอบรมไปใช้ประโยชน์
-  นำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการจัดทำแผนงานพัฒนาจังหวัด ( ในส่วนของสำนักงาน สถิติจังหวัดแพร่ ประจำปีงบประมาณ  2553 )
-  นำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการจัดทำแผนงานพัฒนาจังหวัด 4 ปี ( ในส่วนของ สำนักงานสถิติจังหวัดแพร่ประจำปีงบประมาณ  2553 – 2556 )
-  นำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการจัดทำแบบคำของบประมาณจังหวัด

 

 

 

 

 

 

 

 
 

http://202.29.52.59/~s49042970129/manage/ubrom3.html

หมายเลขบันทึก: 454189เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2011 15:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 20:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท