การจัดโครงสร้างองค์การ


การจัดโครงสร้างองค์การและโครงสร้างองค์การสมัยใหม่

 

การจัดโครงสร้างองค์การ หมายถึง

          1. การจัดระเบียบกิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงาน เพื่อให้สอดคล้องและเป็นระบบเพื่อความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ คนที่เชี่ยวชาญแต่ละฝ่าย มีการประสานให้ความร่วมมือ

          2. กระบวนการในการพัฒนาและการปฏิบัติตามโครงสร้าง องค์การที่เหมาะสม เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับชุดของการตัดสินใจ ซึ่งดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

** การจัดโครงสร้างองค์กร หมายถึง การจัดสรรทรัพยากร การแบ่งหน้าที่ในแต่ละฝ่าย

 โดยจัดเป็นรูปต่างๆ กันเพื่อให้การบริหารงานบรรลุจุดมุ่งหมาย

            วงจรชีวิตขององค์การ (Organization life cycle) 4 ขั้นตอน

ระยะแรก - ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ องค์กรขนาดเล็ก กฎระเบียบน้อย ผู้เชี่ยวชาญไม่มาก

รวมศูนย์ ตัดสินใจ

ระยะที่สอง - ขยายกำลังคน ผู้เชี่ยวชาญมากขึ้น มีกฎระเบียบเป็นทางการมากขึ้น ร่วมกัน

ตัดสินใจ

ระยะที่สาม – ช่วงกลาง มีการเติบโตเต็มที่ ผจก. แบ่งอำนาจหน้าที่กันอย่างชัดเจนไปตาม

ความ ชำนาญเฉพาะด้าน มีการกระจายอำนาจ

ระยะสุดท้าย – เป็นช่วงที่องค์การเติบโตเต็มที่และเริ่มเติบโตช้าลง

             รูปแบบการจัดโครงสร้างองค์การ มี 3 รูปแบบ ได้แก่

1.โครงสร้างองค์การแบบแนวดิ่ง ยึดองค์ประกอบ 5 ประการ

   1.1 สายการบังคับบัญชา : หน่วยงาน – หัวหน้า – ผู้จัดการ – ผู้บริหารสูง

   1.2 การมอบหมายอำนาจหน้าที่ : ทุกตำแหน่งต้องมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย อำนาจตัดสินใจ

   1.3 การรวมอำนาจและการกระจายอำนาจ : สูงกระจายการตัดสินใจให้ระดับล่าง

   1.4 ช่วงการจัดงาน : การทำงานอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้จัดการกับผู้ใต้บังคับบัญชา

   1.5 ตำแหน่งหน่วยงานหลักและหน่วยงานที่ปรึกษา : ตำแหน่งเท่ากันทั้งหลักและที่ปรึกษา

2. โครงสร้างองค์การแบบแนวนอน หรือการจัดแผนก คือเป็นการประสานงานความร่วมมือ (ผู้จัดการจะต้องมีการจัดแผนกและประสานความร่วมมือในแนวนอน)

   2.1 การจัดแผนกโดยจำนวนพนักงาน - จัดไปกับองค์กรระดับต่ำที่ไม่ต้องการความรู้ ความชำนาญ

   2.2 การจัดแผนกโดยเวลา - รวมกลุ่มโดยใช้เกณฑ์เวลา

   2.3 การจัดแผนกตามหน้าที่

3. โครงสร้างองค์การแบบแยกธุรกิจและ องค์การแบบอิสระ (Matrix Organization) ผู้นำเรียกว่า Matrix boss แนวโน้มโครงสร้างองค์การสมัยใหม่ องค์การสมัยใหม่จะเน้นให้ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมมากขึ้น

    3.1 สายการบังคับบัญชาสั้นลงหรือน้อยลง ยิ่งสั้นลงก็ทำให้งานเร็วขึ้น

    3.2 ขนาดการควบคุมกว้างขึ้น ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและการสั่งงานเร็วขึ้น ผู้ใต้บังคับบัญชามีอิสระมากขึ้น 

    3.3 ความเป็นเอกภาพของการบังคับบัญชาน้อยลง โครงสร้างองค์การในปัจจุบันมีแน้วโน้มในการใช้การทำงานเป็นทีมข้ามหน้าที่ การใช้หน่วยเฉพาะกิจ และการจัดโครงสร้างองค์การแบบแมททริกซ์

    3.4 การมอบหมายงานและการให้คนมีอำนาจและความรับผิดชอบมากขึ้น

    3.5 โครงสร้างขนาดเล็กอยู่ในขนาดใหญ่ ทำให้ยืดหยุ่นและสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ได้ง่ายกว่า

    3.6 ลดจำนวนที่ปรึกษาให้อยู่ในระดับที่เป็นประโยชน์ต่องานของฝ่ายบริหาร 

       โครงสร้างองค์การสมัยใหม่ (New Organization Structure)

1. การปรับโครงสร้างองค์การโดยการจัดโครงสร้างองค์การแบบพีรามิดหัวกลับ

2. การจัดองค์การแบบแบนราบ (Flat organization)

3. การจัดองค์การแบบยืดหยุ่นและเปิดกว้าง และแสวงหาการจัดองค์การใหม่ๆ เช่น การรื้อปรับระบบ องค์การแห่งการเรียนรู้ การสร้างฐานความรู้ การเพิ่มอำนาจ

knowledge
เพื่อเรียนรู้ ..อ่านเจอ จดจำ นำใช้
Permalink : http://www.oknation.net/blog/knowledge09

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 454067เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2011 20:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท