การจัดการความเสี่ยง


การจัดการ/บริหารความเสี่ยงและการประเมินความเสี่ยง

  

-การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการความเสี่ยง

- การจัดการ/บริหารความเสี่ยง

- การจัดการ/บริหารความเสี่ยงในภาครัฐ

- ความเสี่ยงคืออะไร

- แนวคิดพื้นฐานในการจัดการ/บริหารความเสี่ยง

- กระบวนการจัดการความเสี่ยงเป็นอย่างไร

- การประยุกต์ใช้การจัดการความเสี่ยงในองค์กร

 - ความเสี่ยงในการศึกษาและการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษา    

          ทำไมต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยง เพราะความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงเป็นเรื่องที่ละเลยไม่ได้ การเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงขึ้น   ความเสี่ยงเป็นผลมาจากความไม่แน่นอน

          ความเสี่ยงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอนาคตความเสี่ยงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการตัดสินใจ

          ทำสิ่งใหม่ นโยบายใหม่ โครงการใหม่ (ไม่แน่ใจเพิ่มความสงสัย)ปัจจัยที่อยู่รอบตัวเรามีความสัมพันธ์กัน
          การจัดการ/บริหารความเสี่ยง (RISK MANAGEMENT)    คือ กระบวนการระบุและวิเคราะห์ความเสี่ยงในมุมของภาพที่เป็นองค์รวมแบบบูรณาการ และทั่วทั้งองค์กร ครอบคลุมทุกกิจกรรมที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย

         การจัดการความเสี่ยงมีส่วนช่วยให้องค์กรในภาครัฐสามารถที่จะวางแผนการดำเนินงาน เป้าประสงค์ และ การดำเนินงานได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

         ความหมายของความเสี่ยง 

         ความเสี่ยง  (Risk)  เป็นสิ่งที่เกิดจากการรวมตัวกันของข้อจำกัด  (Constraint)  และความไม่แน่นอน  (Uncertainty)  เราต้องการเผชิญข้อจำกัดและความไม่แน่นอนของโครงการ  ด้วยการลดความเสี่ยงของโครงการให้ต่ำสุดโดยการขจัดข้อจำกัดหรือลดความไม่แน่นอน  ลงให้มากที่สุด

          ความเสี่ยงคือ การวัดการไร้ความสามารถที่จะดำเนินการให้วัตถุประสงค์ของโปรแกรมประสบความสำเร็จ  ภายใต้งบประมาณ  กำหนดเวลาและข้อจำกัดด้านเทคนิคที่เผชิญอยู่  ดังนั้นความเสี่ยงจึงประกอบด้วยองค์ประกอบ  2  ส่วน  คือ  โอกาสที่จะไม่สามารถประสบความสำเร็จตามผลลัพธ์ที่ต้องและการจัดการแก้ไขผลที่ตามมาของความล้มเหลวนั้น  ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง 

                      ทำไมจึงต้องการบริหารความเสี่ยง

          การบริหารความเสี่ยง  (Risk  Management)  เป็นงานด้านหนึ่งของการบริหารโครงการ  อันเนื่องมาจากการประสบปัญญาทำให้งานไม่เสร็จตามเวลาที่กำหนดไว้  หรือการใช้จ่ายงบประมาณเกินวงเงินของโครงการ  หรือการส่งมอบงานที่ลูกค้าไม่ถึงพอใจจนต้องปรับปรุงแก้ไข  การป้องกันความเสี่ยงข้างต้น  อาจดำเนินการได้โดยการบริหารความเสี่ยง  หรือ  การควบคุมไม่ให้ภาวะคุกคามเหล่านั้นเกิดขึ้นกับโครงการ

            ความเสี่ยงอาจเกิดจากหลายสาเหตุโดยเฉพาะอย่างยิ่ง  ข้อจำกัดของโครงการและความไม่แน่นอนอันเนื่องมาจากอิทธิพลการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมโครงการ จนเป็นเหตุให้การคำนวณกิจกรรมของโครงการคาดเคลื่อนจากความจริง  ผลที่ตามมาที่เห็นได้ชัดเจนคือ 
หากยอมรับความล่าช้านั้น  ก็ต้องเพิ่มงบประมาณและผลกระทบคือ  ค่าใช้จ่ายเกินกว่าที่กำหนดไว้  วันสิ้นสุดของโครงการผิดพลาดและก่อให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงของธุรกิจหรือโครงการ 
            ในกรณีที่ต้องจัดสรรทรัพยากรเพิ่มเติมผลก็จะจบลงที่ค่าใช้จ่ายของโครงการเกินวงเงินที่กำหนดไว้เช่นเดียวกันการบริหารความเสี่ยงจึงเป็นเรื่องสำคัญแม้ความเสี่ยงนั้นจะยังคงไม่หมดสิ้นไป   แต่ก็เป็นการควบคุมมิให้ปัญหาการบริหารโครงการเกิดขึ้นในระดับรุนแรงจนยากแก่การแก้ไขหรือ  เกินความเสียหายต่อองค์การ    การบริหารความเสี่ยงอาจมีขั้นตอนสำคัญ 5 ขั้นตอน  คือ 
1) การกำหนดโครงสร้างพื้นฐานการจัดการ 2) การกำหนดของเขตการบริหารความเสี่ยงของ
โครงการ  3)  การวิเคราะห์จุดมุ่งหมายของโครงการ  4)  การระบุความเสี่ยง  5)  การวิเคราะห์
ความเสี่ยง  6)  การวางแผนควบคุมความเสี่ยง  7)  การควบคุมความเสี่ยง  และ  8)  การตรวจติดตามความเสี่ยง 

           แนวคิดพื้นฐานในการจัดการ/บริหารความเสี่ยง

           การจัดการความเสี่ยงขององค์กร (Enterprise Risk Management – ERM)   การจัดการความเสี่ยงขององค์กร เป็นกระบวนการที่คณะกรรมการบริหาร และพนักงานทุกคน/ผู้ที่เกี่ยวข้องขององค์กร ประยุกต์ใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ที่ออกแบบมาเพื่อจัดการกับเหตุการณ์ที่เป็นความไม่แน่นอนที่อาจส่งผลกระทบต่อองค์กรและบริหารความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ อันเป็นการประกันการบรรลุวัตถุประสงค์อย่างสมเหตุสมผลอย่างเป็นระบบตามหลักการบริหารงานยุคใหม่คำจำกัดความดังกล่าวสะท้อนให้เห็นแนวคิดพื้นฐานของ ERM ดังนี้
         1. เป็นกระบวนการ
มีเป้าหมายแต่ไม่มีจุดสิ้นสุดในตัวเอง ไม่ได้เป็นเพียงเหตุการณ์หรือสถานการณ์เพียงครั้งเดียวแต่มีลักษณะเป็นชุดของการกระทำที่ซึมซับเข้าไปเป็นกิจกรรมขององค์กรในการดำเนินธุรกิจ

        2. ส่งผลกระทบต่อบุคลากร
ไม่ได้เป็นเพียงนโยบาย การสำรวจหรือรูปแบบ แต่เกี่ยวเนื่องกับคนทุกระดับขององค์กร ตั้งแต่คณะกรรมการบริหาร จนถึงพนักงานระดับปฏิบัติการ ผู้บริหารและพนักงาน จะเป็นผู้กำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ กลยุทธ์และวัตถุประสงค์ขององค์กรและนำเอา ERM มาเป็นเครื่องมือในการทำให้สิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้นจริงและมีผลในทางปฏิบัติ

        3. นำมาประยุกต์ใช้กับการกำหนดกลยุทธ์
องค์กรจะกำหนดวิสัยทัศน์ หรือภารกิจ และกำหนดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ และกลยุทธ์/ยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องในการทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ขึ้นมา

ERM จะถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการกำหนดกลยุทธ์โดยฝ่ายบริหารจะพิจารณาถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์ที่เป็นทางเลือก เช่น ทางเลือกที่ 1 คือต้องการให้องค์กรมีส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้น ทางเลือกที่ 2 คือต้องการตัดต้นทุนค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้กำไรมากขึ้น แต่ละทางเลือกก็จะประกอบด้วยความเสี่ยงจำนวนมาก ถ้าฝ่ายบริหารเลือกทางเลือกที่ 1 โดยอาจขยายธุรกิจไปสู่ตลาดใหม่ ๆ ที่ไม่คุ้นเคย อาจทำให้องค์กรไม่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งที่อยู่ในตลาดเดิมอยู่แล้วได้อันจะทำให้องค์กรไม่สามารถนำกลยุทธ์นั้นไปปฏิบัติได้ สำหรับทางเลือกที่ 2 ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นคือ การใช้เทคโนโลยีและ suppliers ใหม่ ๆ หรือจากพันธมิตรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงต้องมีการประยุกต์นำ ERM มาใช้ในระดับนี้ เพื่อกำหนดกลยุทธ์/ยุทธศาสตร์ขององค์กร

         4. นำมาประยุกต์ใช้ทุกระดับและทุกหน่วยงาน
การนำ ERM มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ฝ่ายบริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องของ องค์กร จะต้องพิจารณาขอบข่ายของกิจกรรมทั้งหมดในทุกระดับขององค์กร ตั้งแต่กิจกรรมในระดับองค์กร เช่น การวางแผนกลยุทธ์และการจัดสรรทรัพยากร ในระดับกิจกรรมของหน่วยธุรกิจ การตลาดและทรัพยากรมนุษย์ ในระดับกระบวนการทางธุรกิจ เช่น การผลิตและการตรวจสอบเครดิตลูกค้าใหม่ ERM ยังสามารถประยุกต์ใช้กับโครงการพิเศษและนวัตกรรมใหม่ ๆ ได้ด้วย ฝ่ายบริหารต้องพิจารณาความเสี่ยงที่เกี่ยวเนื่องและบริหารจัดการให้เหลือความเสี่ยงที่ยอมรับได้ที่มีผลต่อแผนงาน/โครงการตามพันธกิจและกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้อง

         5. ออกแบบมาเพื่อกำหนดเหตุการณ์ที่เป็นไปได้ที่จะมีผลกระทบกับองค์กร และมีการบริหารความเสี่ยงให้อยู่ภายในความเสี่ยงที่ยอมรับได้  ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ คือ จำนวนความเสี่ยงที่องค์กรเต็มใจที่จะยอมรับ  กลยุทธ์ที่แตกต่างกันย่อมทำให้องค์กรต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่แตกต่างกัน ERM จะช่วยให้ฝ่ายบริหารสามารถเลือกกลยุทธ์ที่มีความเสี่ยงที่ยอมรับได้ให้กับองค์กร     ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ขององค์กร จะเป็นแนวทางในการจัดสรรทรัพยากร ฝ่ายบริหารจะจัดสรรทรัพยากรให้กับหน่วยธุรกิจ โดยพิจารณาจากความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของธุรกิจและกลยุทธ์ในการสร้างผลตอบแทนจากทรัพยากรที่ลงทุนไปของแต่ละหน่วยธุรกิจ

         6. สร้างความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลต่อการบริหารขององค์กร และคณะกรรมการ การออกแบบและบริหาร ERM ที่ดีช่วยให้คณะกรรมการบริหารเกิดความมั่นใจในการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร ในเรื่องดังนี้
          - เข้าใจขอบเขตในการบรรลุวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ขององค์กร
          - เข้าใจขอบเขตของการบรรลุวัตถุประสงค์เชิงปฏิบัติการขององค์กร
          - รายงานขององค์กรมีความเชื่อถือได้
          - การปฏิบัติตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ

        7. เป็นเครื่องมือในการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร    คำจำกัดความนี้เป็นแนวคิดพื้นฐานว่า องค์กรทั่วไปจะบริหารความเสี่ยงได้อย่างไร โดยจะมุ่งเน้นถึงการบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายรวมขององค์กร กรอบแนวคิดนี้แสดงให้เห็นวัตถุประสงค์ขององค์กรในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
          - กลยุทธ์ เกี่ยวข้องกับเป้าหมายในระดับสูง โดยการสร้างความสอดคล้องและสนับสนุนภารกิจขององค์กร
          - การดำเนินงาน เกี่ยวข้องกับประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรขององค์กร
          - การรายงาน เกี่ยวข้องกับความน่าเชื่อถือของรายงานขององค์กร
          - การปฏิบัติตาม เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ

          การประเมินความเสี่ยง 

1.ระบุความเสี่ยงหรือผลของความเสี่ยง (Risk Category)  ในแต่ละขั้นตอน

2. ระบุปัจจัยเสี่ยงหรือสาเหตุของความเสี่ยง (Risk Factor)

3. วิเคราะห์ความเสี่ยงโดยประเมินโอกาสที่จะเกิด ความเสี่ยงและความเสียหายจากผลกระทบ

4. จัดลำดับความเสี่ยง

5. ระบุความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญที่ต้องควบคุมในแต่ละขั้นตอน
          การประยุกต์ใช้การจัดการความเสี่ยง  

วัตถุประสงค์  (Enterprise Wide Risk Management)

            ส่งเสริมให้ทุกคนตระหนักถึงการจัดการความเสี่ยงดูแลความเสี่ยงในความรับผิดชอบของตัวเองเข้าใจผลกระทบจากการทำงานของตนเองต่อผู้อื่นและองค์กรโดยรวม ยึดหลัก การจัดการการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิภาพการสนับสนุนจากผู้บริหาร จัดโครงสร้างในการสนับสนุนระบบการจัดการความเสี่ยงทำระบบ training (โดยใช้ ทีมการจัดการความเสี่ยง/หน่วยงาน/ที่ปรึกษา)พัฒนาระบบการจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสมกับองค์กรปรับให้เหมาะสมกับสภาพองค์กรและขยายขอบเขตการประยุกต์ใช้การจัดการความเสี่ยง และการตรวจสอบภายในและการจัดการความเสี่ยงเป็นเรื่องของทุกคนในองค์กร

โดย.  นายสาคร  มหาหิงค์ 

นักศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารจัดการการศึกษา








 

หมายเลขบันทึก: 454001เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2011 14:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท