พระพุทธศาสนากับสตรี


พระพุทธศาสนากับสตรี
พระพุทธศาสนากับสตรี
       ต้องยอมรับว่าสถานภาพของสตรีเพศในสมัยพุทธกาลหรือแม้กระทั่งในปัจจุบันนี้ ผู้หญิงถูกกดขี่ทางเพศอยู่ในฐานะเหมือนกับเป็นทาสของบุรุษ สังคมไม่ยอมรับความสามารถของสตรี หาเสรีภาพความเสมอภาพไม่เจอ พระพุทธเจ้านับเป็นศาสดาองค์แรกที่ทรงประทานเสรีภาพความเสมอภาพให้แก่สตรี ตลอดจนประทานให้อุปสมบทเป็นภิกษุณีได้ เพราะทรงเห็นว่าสตรีนั้นมีความสามารถไม่น้อยไปกว่าบุรุษเลย พระพุทธเจ้าทรงยอมรับให้สตรีได้บวชในพระพุทธศาสนาได้ ซึ่งในสมัยนั้นผู้หญิงเป็นที่ดูถูกดูแคลนของสังคมยุคนั้น ในกรณีที่ว่าผู้หญิงไม่ควรได้รับการอุปสมบทและไม่อาจจะบรรลุธรรมได้
      พระพุทธศาสนายกย่องสถานภาพของสตรี (ภริยา ปรมา สขา) ภรรยาเป็นเพื่อนที่ดีที่สุดของสามีสามีไม่ควรปฏิบัติต่อเธอเยี่ยงทาสในครัวเรือน จะเห็นได้ว่าในหลักของคิหิปฏิบัติพระพุทธเจ้าทรงยกย่องฐานะของสตรีไว้ ๕ ประเภท ซึ่งสามีจะต้องปฏิบัติต่อเธอก็คือ

๑. ด้วยการยกย่องนับถือว่าภรรยาอย่างแท้จริง
๒. ไม่ดูหมิ่นเหยียดหยามหรือทำให้ภรรยาเสียใจสะเทือนใจ
๓. ทะนุถนอมน้ำใจภรรยารักใคร่ไม่จืดจาง
๔. มอบความเป็นใหญ่ให้ภรรยารับผิดชอบการเรือนอย่างเต็มที่
๕. มอบของขวัญเครื่องประดับอาภรณ์บ้างในโอกาสอันสำคัญ

      พระพุทธศาสนายกย่องสตรีทุกคนไว้ในฐานะดุจเพศแม่ บุรุษจะต้องให้ความเคารพรักสตรีเช่นกับแม่ของตน ในสมัยพุทธกาล บุรุษเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาบำเพ็ญตนจนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นผู้เลิศในลักษณะที่แตกต่างกันออกไปฉันใด สตรีก็เหมือนกัน เมื่อเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาสามารถบำเพ็ญตนจนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ก็ได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นผู้เลิศในลักษณะที่แตกต่างกันออกไปฉันนั้น
Retrieved from  
http://board.palungjit.com/f10/ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา-159123-2.html
คำสำคัญ (Tags): #พุทธศาสนา#สตรี
หมายเลขบันทึก: 453988เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2011 12:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 01:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท