ความรู้เกี่ยวกับแผนภูมิแกนต์


แผนภูมิแกนต์  (Gantt chart)

     หมายถึง  แผนผังคุมกำหนดงาน  มักใช้ในด้านการจัดการโครงการต่าง ๆ  ในองค์การขนาดใหญ่  ซึ่งอาจมีขั้นตอนซับซ้อน  และมากมาย  โดยจะใช้เป็นเทคนิคเครื่องมือช่วยการปฏิบัติงานของผู้บริหาร  ในการดำเนินการแก้ไขการควบคุม  การวางแผนที่เหมาะสม  เพื่อช่วยสนับสนุนให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย  และวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ   ผังในลักษณะนี้จะแสดงถึงปริมาณงานและกำหนดเวลาที่จะต้องใช้  เพื่อทำงานนั้นให้ลุล่วง  เป็นแผนภูมิที่ประกอบด้วย  แกนหลัก  2  แกน  คือ  แกนนอน  แสดงถึงเวลาในการทำงานตลอดโครงการ  และแกนตั้ง  แสดงถึงงานหรือกิจกรรมที่ต้องทำในแนวตั้งเสมอ  ในรูปของกราฟแท่ง  โดยใช้แกน x  แทนงานต่าง  และแกน  y  แทนเวลาที่ใช้ในการทำงานแต่ละงาน  ความยาวของแท่งกราฟเป็นสัดส่วนโดยตรงกับระยะเวลาในการทำงาน

     แผนภูมิแกนต์  พัฒนาขึ้นในปี  1917  โดย  Henry L. Gantt  เป็นผู้พัฒนาแผนภูมินี้ขึ้นมา  เพื่อใช้ในการวางแผนเกี่ยวกับเวลา  ใช้แก้ปัญหาเรื่องการจัดตารางการผลิต  การควบคุมแผนงานและโครงการการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์  เรียกว่า  แผนภูมิแกนต์  ซึ่งมีลักษณะเป็นแถบหรือเส้น  โดยใช้แกนนอนเป็นเส้นมาตราส่วนแสดงเวลา  ส่วนแกนตั้งเป็นมาตราส่วนแสดงขั้นตอนของกิจกรรมหรืองาน  หรืออัตรากำลังขององค์การ

      หลักการของแผนภูมิแกนต์  จะเป็นแบบง่าย ๆ  กล่าวคือ  กิจกรรมต่าง ๆ  จะถูกกำหนดให้มีการดำเนินเป็นไปตามแผนการผลิตที่ต้องการ  และถ้ามีความเบี่ยงเบนเกิดขึ้นในเวลาใด ๆ  ก็จะมีการจดบันทึกและแสดงสภาพที่เกิดขึ้น  เพื่อจะได้หาทางแก้ไข  เช่น  เรื่องการกำหนดงาน  สาเหตุของการล่าช้า  ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงและการจัดแจกภาระงานในการผลิต

         N         

กิจกรรม

สัปดาห์ 5

สัปดาห์ 6

สัปดาห์ 7

สัปดาห์ 8

สัปดาห์ 9

A

 

 

 

 

 

B

 

 

 

 

 

C

 

 

 

 

 

D

 

 

 

 

 

 

             *  ในตลอดระยะเวลาที่ดำเนินโครงการ  จะมีการประชุมในทุกขั้นตอนสำคัญของการดำเนินงาน

ข้อจำกัด 

1.  ไม่สามารถแสดงความสัมพันธ์ระหว่างงานย่อยต่าง ๆ  จึงบอกไม่ได้ว่า 

     -  กิจกรรมใดบ้างที่ต้องทำให้เสร็จก่อนจะเริ่มต้นกิจกรรมอื่น

     -  กิจกรรมใดบ้างที่สามารถเริ่มต้นทำพร้อมกันได้

     -  กิจกรรมใดสามารถล่าช้าได้เท่าใด  โดยไม่กระทบต่อกิจกรรมอื่นหรือต่อความสำเร็จของโครงการ

2.  ไม่สามารถบอกได้ว่าควรจะใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดอย่างไร  ให้บริหารโครงการได้มีประสิทธิภาพ

ดังนั้น  แผนภูมิแกนต์จึงใช้ทั่วไปในโครงการที่ไม่ซับซ้อนนัก

               กิจกรรม

 

          กิจกรรม ก.

          กิจกรรม ข.

          กิจกรรม ค.

          กิจกรรม ง.

                             1        2        3        4        5        6        เวลา (สัปดาห์)

     ใน  Gantt Chart  จะใช้ลูกศรแท่งสี่เหลี่ยมผืนผ้า  หรือการแรเงารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  แทนกิจกรรมแต่ละกิจกรรม  ที่เริ่มต้นและสิ้นสุดที่เวลาต่าง ๆ  กัน  ดังในภาพข้างล่าง

กิจกรรม 

.ศ.  2554

มิ.ย.

ก.ค.

.ค.

.ย.

.ค.

.ย.

.ค.

 1. เตรียมงาน/ ประชุม/ วางแผน *

2. ศึกษานำร่อง (Pre-survey) เก็บข้อมูลเบื้องต้น

3. ออกแบบและ ทดสอบ แบบสอบถาม

4. เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ทดสอบแล้วกับกลุ่มเป้าหมาย

5. วิเคราะห์ข้อมูล

6. อภิปรายผลการศึกษา เขียนรายงานสรุปโครงการ

7. นำเสนอโครงการวิจัยแก่ผู้บริหารระดับสูง

 

 

 

 

 

 

 

 

     แผนภูมิแกนต์  มีประโยชน์ในการวางแผนและควบคุมติดตามการผลิตหรือการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  แม้การผลิตนั้นจะมีกระบวนการซ้ำ ๆ  หรือมีการพัฒนา  สามารถบอกได้ว่างานหรือกิจกรรมใดทำในช่วงเวลาใด, ระยะเวลาเร็วที่สุดที่โครงการดังกล่าวจะเสร็จสิ้นเมื่อใด  ใช้ในการบันทึกและดูความกว้าหน้าของงาน  วิเคราะห์ความกว้าหน้าของงาน และปรับเปลี่ยนการวางแผนได้ง่าย  จึงเป็นที่นิยมรู้จักกันแพร่หลาย  แต่ยังไม่สามารถแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของกิจกรรมต่าง ๆ  ได้อย่างชัดเจน  ทำง่าย  เข้าใจง่าย  ไม่มีการคำนวณที่ซับซ้อน  ยุ่งยาก  และไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการทำ

 

หมายเลขบันทึก: 453882เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2011 21:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท