ประสบการการทำงานการดูแลผู้ป่วยจิตเวช (ต่อ)


เทคนิคการเยี่ยมบ้าน

ต่อจากตอนที่แล้วได้เขียนบทบาทหน้าที่ของพระที่มีต่อชุมชนสังคมและพระศาสนาเพื่อให้เห็นว่าพระสงฆ์มีหน้าที่อะไรบ้างก่อนที่จะได้มองไปถึงผู้ป่วยจิตเวชที่ทุกคนมองว่าผีบ้า คนบ้า ไอ้บ้าแล้ว จะถามท่านผู้อ่านว่า ถ้าเห็นคนตาบอดและคนซึมเศร้าจะเดินข้างถนน  ถามว่าท่านจะช่วยไครก่อน(ตอบตอนท้าย) แล้วอีกคำถาม ถามว่า หรือถามให้ใกล้เข้าไปอีกว่า ถ้ามีคนมาว่าเราบ้า เราจะคุยกับเขาไหม จะคบกับคนนั้นไหม ขอให้คิดเอาเองนะ นี้คือคำตอบว่าทำไม่ผู้ป่วยจิตเวชจึงไม่ออกสู่สังคม ก็เพราะเราไม่ให้โอกาส ยังตีตราหรือมีอคติต่อผู้ป่วยจิตเวชอยู่ ทำอย่างไรชุมชนสังคมจึงจะไม่รังเกียจและให้โอกาสแก่ผู้ป่วยจิตเวช เขาก็เหมือนเรานี้แหละ ร่างกายดี คือ มีแขน มีขา มีตา มีหู มีจมูก มีปาก สรุปแล้วก็มีอาการครบ ๓๒ ประการ แต่ทำไม่เขาถึงป่วยทางจิต  หรือทำไมจึงเรียกว่าคนพิการทางจิตทั้งๆที่คนพิการทางอื่นนี้มองเห็นเช่นพิการทางการเคลื่อนไหว แขนขาด ก็รู้ว่าพิการ  ตาบอดสองข้าง ก็บอกว่าพิการ พูดไม่ได้ เป็นใบ้ ก็บอกว่าคนพิการ แต่ทว่าคนพิการทางจิตนี้ ตาดี หูดี แขนดี ขาดี แต่ทำไม่บอกว่าคนพิการ ก็เพราะเขามีความผิดปกติทางด้านสมอง ทางด้านความคิด อารมณ์ พฤติกรรม จึงต้องเรียกเขาว่าผู้พิการทางจิต หรือผู้ป่วยจิตเวชนั้นเอง 

ต่อไปนี้จะพูดถึงการเยี่ยมบ้าน หรือเทคนิคการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวช

การเยี่ยมบ้านก็เป็นเรื่องธรรมดาของผู้ป่วย ซึ่งหมอเขาก็ไปลงเยี่ยมอยู่แล้ว แต่ทำไมชุมชนจึงต้องลงไปเยี่ยมเขาละ  หมอลงไปเยี่ยมคนเดียวไม่พอแล้วหรือ  ท่านได้อะไรจากการเยี่ยมบ้าน การลงไปเยี่ยมบ้านของหมอนั้นหมอก็ได้ใจคนไข้แต่ชุมชนไม่รู้เรื่องของผู้ป่วยจิตเวชเลย การลงไปของหมอคือชุมชนไม่มีส่วนร่วมในการลงแล้วจึงไม่เป็นการทำให้ชุมชนลบคำตีตราผู้ป่วยจิตเวชไม่ได้ แถมยังถูกมองหนักเข้าไปอีก

ดังนั้นการที่จะลดการตีตราจากชุมชนสังคมต้องทำให้ชุมชนมีส่วนร่วมจึงจะทำให้ชุมชนและผู้ป่วยจิตเวชญาติผู้ป่วยเกิดการยอมรับซึ่งกันและกัน ดังรูปแบบการเยี่ยมบ้านนี้ คือ การเยี่ยมบ้านมี  ๒ แบบ

๑  เยี่ยมแบบปกติ

๒  เยี่ยมแบบเป็นกลุ่มเป็นทีม

 นี้นี้คือรูปแบบการเยี่ยมแบบปกติ

คือการเยี่ยมแบบว่าว่างก็ลงไปหาไปพูดคุย โดยใช้คติธรรมของหลวงพ่อเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา พระธรรมวรนายก  ว่า อย่าว่าง  อย่าห่าง  ไปมาหาสู่

คือไม่ต้องรอทีม ขอให้เยี่ยมแบบใกล้บ้านใกล้ใจ (เยี่ยมแบบไม่เป็นทางการ)

การเยี่ยมปกติ เราจะได้ใจผู้ป่วย และญาติ / จะได้ปัญหาแนวทางแก้ไขปัญหา /จะได้ความคุ้นเคยเป็นกันเอง  / ได้อีกมากมาย

 รูปแบบที่ ๒  การเยียมเป็นทีม

คือรูปแบบการลงเยี่ยมอย่างเป็นทางการโดยมี  ผู้นำชุมชน ได้แก่  กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน  อบต. อสม. ครู นักเรียน ตำรวจ พระ หรือผู้นำทางศาสนา จิตอาสา ญาติ หมอ หรือ รพ.สต.เป็นต้น  ได้แบ่งกลุ่มกันลงไปเยี่ยมบ้านคนไข้ แล้วนำปัญหานี้มาสรุปกัน มาวิเคราะห์หาทางปรับปรุงแก้ไข  ปรับปรุงพัฒนางานให้ยิ่งๆขึ้นไป มีกติกาว่า  จะไม่ไปเยี่ยมในหมู่บ้านของตน แต่จะไปเยี่ยมของหมู่บ้านอื่น

สรุป การเยี่ยมแบบนี้ จะได้ทั้งใจชุมชนและผู้ป่วยญาติ / จะได้ลดการตีตราจากชุมชนเอง / จะทำให้ญาติมีกำลังใจที่ดี / ชุมชนจะมีวิธีดำเนินแก้ไขแบบชุมชนบำบัด / และมีแนวทางการดูแลแบบของชุุมชนเอง โดยการใช้ภูมิปัญญาวัฒนธรรมประเพณีในการดูผู้ป่วยจิตเวช

อีกอย่างการลงเยี่ยมบ้านคนไข้หรือผู้ป่วยก็อย่าลงไปเยี่ยมเฉพาะบ้านคนไข้  เราต้องลงไปเยี่ยมบ้านคนที่อยู่รอบข้างของผู้ป่วยจิตเวชด้วย เพราะเราจะได้ คือ คนรอบข้างที่ไม่รู้เรื่องนี้ หรือรู้ เขาก็จะ ได้ลดอคติ ตีตราคนของเรา / เขาจะได้สอดส่องดูแลคนของเรา / เราจะได้รู้ว่าเขาคิดอย่างไรกับผู้ป่วยและครอบครัว

สุดท้าย ตอบคำถามที่ว่าถ้าเห็นคนตาบอดและคนซึมเศร้าจะเดินข้างถนน ใหนฐานะที่ท่านคิดจะช่วย ถามว่าท่านจะช่วยไครก่อน

ในความคิดเห็นคือน่าจะช่วยคนซึมเศร้าก่อนเพราะคนซึมเศร้าตอนนั้นเราไม่รู้ว่าเขาคิดจะทำอะไร เขาอาจจะไม่คิดจะข้ามถนนก็ได้ แต่คิดจะทำอย่างอื่น ................  แต่คนตาบอดนี้เขาคิดจะข้ามถนนอยู่แล้ว ดังนั้นจึงต้องใช้วิจารณญาณในการคิดและตัดสินใจ

Large_4968 

ความรู้สึกของผู้ป่วยที่เห็นคณะของชุมชนมาเยี่ยม (ถึงขนาดน้ำตาไหลเลย)

 

 เล่นกีฬาพื้นบ้าน ระหว่างชุมชนกับผู้ป่วย ผู้สูงอายุ  ลดการตีตรา

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 453689เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2011 21:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 02:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท