ดนตรีอีสาน โหวด


ดนตรีอีสาน โหวด

 

ตำนานของโหวด

โหวดเป็นเครื่องดนตรีของชาวอีสาน หรือ ของเล่นชนิดหนึ่งของชาวอีสาน
ใช้แกว่งเล่นเหมือนธนู ต่อมาโหวดได้ดัดแปลงมาเป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองอีสาน
โหวดเกิดขึ้นในสมัยใดนั้น ยังไม่สามารถบอกได้แน่นอนหรือยืนยันได้
แต่ก็มีประวัติที่เล่าเป็นนิยายปรัมปรา สืบต่อกันมา ดังนี้

           
ในสมัยก่อนพุทธกาล มีเมืองหนึ่งชื่อเมืองพันทุมาลัย
เมืองนั้นมีพระโพธิสัตว์ เสวยชาติมาเป็นพระยาคางคก
สมัยก่อนมีความเชื่อเรื่องพระยาแถน เรื่องฝน ฟ้า อากาศ
เจ็บไข้ได้ป่วยก็ไปบนบานศาลกล่าวต่อพระยาแถน แต่พอมีพระยาคางคก
ก็ทำให้คนและสัตย์หันไปนับถือพระยาคางคก ทำให้พระยาแถนไม่พอใจ
ฝนฟ้าที่เคยตกต้องตามฤดูกาล ก็ทำให้เมืองนี้แห้งแล้งเป็นเวลา
7 ปี 7
เดือน
คนและสัตย์รวมทั้งพืชพันธ์ธัญญาหารล้มตาย
ทำให้มวลมนุษย์และสัตย์เดือดร้อนก็เลยทำสงครามกับพระยาแถน แต่มนุษย์ก็ไม่ชนะสักที
จึงมาปรึกษากับพระยาคางคก พระยาคางคกก็รับอาสาจะไปสู้กับพระยาแถน
พระยาคางคกก็นำทัพไปรบกับพระยาแถน
แต่งตั้งให้พระยาปลวกทำสะพานดินเป็นถนนขึ้นสู่เมืองพระยาแถน
ให้พระยามดขึ้นไปสู่เมืองพระยาแถนก่อนเพื่อไปเจาะดาบ
อาวุธยุทธโธปกรณ์
ให้จวนจะหัก และพระยาตะขาบ แมงป่อง อสรพิษทั้งหลายไปดักอยู่ตามเสื้อผ้า
อุปกรณ์ต่างๆ ที่ทหารพระยาแถนใช้
      พอถึงวันแรม 7 ค่ำ
พระยาคางคกก็นำทัพขึ้นไปเจรจาขอฝนกับพระยาแถน พระยาแถนก็โกรธและไม่ประธานฝนให้
แล้วก็ประกาศสงครามกัน แผนต่างๆ ที่พระยาคางคก วางเอาไว้ก็เริ่มปฏิบัติการ ตะขาบ
แมงป่อง ก็ออกมากัดทหารให้ล้มตาย
   ส่วนพระยาคางคกกับพระยาแถนก็ต่อสู้กันบนหลังช้าง สู้กันไปกันมา
พระยาแถนใช้ดาบฟันพระยาคางคก ดาบก็หัก จะใช้ตะขอเกี่ยว ตะขอก็หัก
ในที่สุดพระยาคางคกได้จังหวะ ก็ใช้บ่วงศ์
(บ่วงนาคบาศก์) ดับพระยาแถนได้จนตกจากหลังช้าง
พระยาแถนจึงยอมตกลงตามสัญญา โดยมีเงื่อนไขกันอยู่
3 ประการ
คือ

              ประการที่ 1 ให้พระยาแถน ประทานน้ำฝนให้เหมือนเดิม ถึงเดือนหก
ถ้าฝนไม่ตกมนุษย์จะทำบั้งไฟ จุดขึ้นไปเป็นการบอกกล่าว
เตือนพระยาแถนให้ประทานฝนลงมาให้มนุษย์

               ประการที่ 2   การได้ยินเสียง กบ อึ่งอ่าง
เขียดร้อง แสดงว่ามนุษย์ได้รับน้ำฝนแล้ว

            ประการที่ 3  เมื่อใดที่ได้ฝนเพียงพอแล้วก็จะแกว่งโหวดขึ้นสู่ท้องฟ้าให้เกิดเสียงดังเป็นสัญญาณ
ให้พระยาแถนทราบว่าได้รับน้ำฝนเพยงพอแล้วเพื่อให้ลดปริมาณฝนลง
หรือให้ฝนหยุด

ปัจจุบันนี้โหวดเป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมมาก
และเป็นเครื่องดนตรีที่นำมาบรรเลงเข้ากับเครื่องดนตรีอีสานได้ เช่น พิณ แคน โปงลาง
กลอง และเกิดเป็นวงดนตรีพื้นเมืองอีสานดังปรากฏในปัจจุบันนี้

.

การทำโหวด

  • คัดเลือกไม้กู่แคน เรียงลำดับจากใหญ่ไปหาเล็ก (เลือกขนาดที่เหมาะสม)
  • ลูกที่ใหญ่ที่สุดตัดให้ยาวที่สุด ประมาณ 25 ซ.ม. ลูกถัดไป
    ให้สั้นลดหลั่นกันไปเรื่อยๆ เพื่อความสวยงาม
    เฉือนด้านหัวแต่ละลูกเป็นรูปปากฉลาม เฉียงประมาณ 45 องศา
    นำขี้สูดปั้นเป็นก้อนพอใส่ในรูลูกโหวดได้ ใส่ลงไปในรู และใช้ไม้จูนเสียง
    แหย่ปรับให้ขี้สูดอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม... ขณะที่จูนเสียง ก็ลองเป่าดู
    เทียบเสียงดูจนได้เสียงที่ถูกต้อง... ปรับจูนเสียงจนครบทุกลูก
    (ขั้นตอนการปรับจูนเสียง ระวังอย่าให้ตรงปากฉลามเสียหาย)
    เตรียมแกนโหวด โดยนำลำไม้ไผ่มาเหลา ให้ได้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่เหมาะสม
    สำหรับติดลูกโหวดรอบแกน ให้ได้ทั้งหมดที่เตรียมไว้ (13-15ลูก) ด้านหัวของแกน
    เป็นปล้องไม้ไผ่ที่ไม่ทะลุปล้อง ด้านท้ายปาดให้มีลักษณะเวียน เหลาทำเป็นหางโหวด
    โดยส่วนหางโหวดต้องยาวกว่าลูกโหวดที่ยาวที่สุด
    นำลูกโหวดมาติดเข้ากับแกน ด้วยขี้สูด โดยติดเริ่มจากลูกที่ยาวที่สุด
    เรียงลำดับไปเรื่อยๆ จนครบทุกลูก
    นำขี้สูดซึ่งผสมขี้ซีแล้ว มาติดตกแต่งหัวโหวด ให้มีลักษณะสอบแหลม ปลายมน
    ตกแต่งขี้สูดตรงปากฉลามลูกโหวด ให้ได้องศาที่รับกัน เพื่อให้เป่าดังง่าย....
    ทดสอบเป่าเป็นเพลง หากเสียงเพี้ยน ให้ปรับจูนเสียงใหม่ ตกแต่งขอบปากใหม่
    จนเสร็จเรียบร้อย
    หากต้องการให้ลูกโหวดติดกับแกนอย่างมั่นคงถาวร ให้หยอดกาวติดซ้ำเข้าไป
    นำแผ่นพลาสติกอ่อนบาง มาแปะติดที่หัวโหวด เพื่อป้องกันขี้สูดติดคางเวลาเป่า

    เดี่ยวโหวด สาวน้อยหยิกแม่

    ..

     

    คำสำคัญ (Tags): #ดนตรีอีสาน โหวด
    หมายเลขบันทึก: 453501เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2011 08:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท