โจทย์/ประเด็นคำถามการวิจัยด้านยาเสพติด ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2554 – 2556)


คำถามวิจัยด้านยาเสพติด

 

โจทย์/ประเด็นคำถามการวิจัยด้านยาเสพติด 

ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2554 2556)

 

 

         จากเมื่อพิจารณาถึงโจทย์/ประเด็นคำถามการวิจัยที่ควรมุ่งเน้นระยะ 3 ปี (พ.ศ.2554-2556)  ซึ่งจะเป็นผลที่ได้มาจากกระบวนการรวบรวม ประมวล และวิเคราะห์ข้อมูลผลงานวิชาการ วิจัยและองค์ความรู้ในช่วงเวลาที่ผ่านมา การพิจารณาจากเนื้อหาและกระบวนการทางนโยบาย ยุทธศาสตร์  การพิจารณาจากผลการดำเนินงานและการประเมินผลลัพธ์ ผลกระทบของนโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรการที่นำมาใช้ดำเนินการ  ตลอดจนจากกระบวนการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็น ความต้องการผลงานวิชาการ วิจัย หรือ องค์ความรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  รวมทั้งการคำนึงถึงวิกฤติการณ์ สถานการณ์และแนวโน้มของปัญหาที่เกิดขึ้น  เพื่อที่จะเร่งแก้ไขปัญหาและมุ่งที่จะนำเอาผลงานวิชาการ วิจัยและองค์ความรู้ด้านยาเสพติดไปใช้ประโยชน์เชิงสาธารณะอย่างเป็นรูปธรรม  ทั้งนี้ในระดับภูมิภาค คงต้องมุ่งเน้นโจทย์/ประเด็นคำถามการวิจัยที่เป็นความต้องการในพื้นที่ ชุมชน ท้องถิ่นด้วย

            นอกจากนี้  การกำหนดโจทย์/ประเด็นคำถามการวิจัยระยะ 3 ปี (พ.ศ.2554-2556) จำเป็นต้องมีการจัดทำแผนงาน/โครงการวิจัยขึ้นมารองรับ  โดยมีการจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนเป็นรายปี และการจัดทำเนื้อหาในรายละเอียดให้สอดคล้องกับกรอบทิศทางฯ ที่ได้กำหนดไว้  โดยโจทย์/ประเด็นคำถามการวิจัยที่ควรมุ่งเน้นระยะ 3 ปี (พ.ศ.2554-2556) จะมีรายละเอียดที่สามารถแยกเป็นรายด้าน ดังนี้

 

 

           1 ด้านการควบคุมตัวยาและนักค้ายาเสพติด 

                 1) กลุ่มเรื่องตัวยาและพืชเสพติด  ประกอบด้วย

                     1.1) การวิจัยเกี่ยวกับการทบทวนและประเมินผลสัมฤทธิ์การแก้ไขปัญหาการควบคุมพืชเสพติด (ฝิ่น,กัญชา,กัญชง) ของไทย

                     1.2) การวิจัยเกี่ยวกับการกำกับ ควบคุมและการบริหารจัดการที่เหมาะสมต่อการแก้ไขปัญหาพืชกระท่อม

                     1.3) ชุดโครงการวิจัยเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาสารระเหยเชิงระบบและครอบคลุมทุกมิติปัญหา

                     1.4) ชุดโครงการวิจัยเกี่ยวกับการจัดการความรู้และการสังเคราะห์งานเพื่อจัดการปัญหาเรื่องไอซ์ และการนำยารักษาโรคมาใช้ในทางที่ผิด (สารตั้งต้น)

                     1.5) การวิจัยเกี่ยวกับระบบการกระจายยารักษาโรค และสารอื่นๆ  ที่มีฤทธิ์เสพติดที่มีการนำเข้าสู่ระบบการจำหน่ายที่ผิดกฎหมาย

                     1.6) การวิจัยเชิงเศรษฐมิติเกี่ยวกับตัวยาสำคัญในแต่ละบริบทของภูมิภาค จังหวัด ชุมชน ท้องถิ่น

                

                 2) กลุ่มเรื่องปัญหาบริเวณพื้นที่ชายแดน  ประกอบด้วย

                     2.1) การวิจัยเกี่ยวกับพัฒนาการด้านความร่วมมือระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านใกล้ชิดในการจัดการปัญหายาเสพติดบริเวณพื้นที่ชายแดน

                     2.2) การวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาติดตามความเคลื่อนไหวและความสมดุลของการจัดการปัญหายาเสพติดกับกลุ่มคนในบริเวณพื้นที่ชายแดน

                     2.3) การวิจัยเกี่ยวกับการปรับปรุงและพัฒนาระบบ กลไกการบริหารจัดการองค์กรที่มีประสิทธิภาพเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดพื้นที่ชายแดน

 

                 3) กลุ่มเรื่องกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติ และการบังคับใช้  ประกอบด้วย

                     3.1) การวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาทบทวนและปฏิรูปกฎหมายยาเสพติดทั้งในด้านสารบัญญัติและวิธีสบัญญัติ  การนิยามศัพท์ และการปรับปรุง/จัดลำดับความสำคัญของประเภทยาเสพติดให้สอดคล้องกับสถานการณ์และแนวโน้มของปัญหาที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน

                     3.2) การวิจัยเกี่ยวกับผลและผลกระทบของการจำแนกกลุ่มเป้าหมาย  จำแนกคดียาเสพติดและคดีประเภทอื่น ด้วยวิธีการที่มีมาตรฐาน ได้คุณภาพ และเป็นที่ยอมรับของสังคมโลก

                     3.3) การวิจัยเกี่ยวกับสัดส่วนความเหมาะสมของการลงโทษคดี  ยาเสพติดกับประสิทธิภาพการยับยั้งไม่ให้กลับมากระทำผิดซ้ำ หรือหยุดพฤติการณ์การกระทำผิดที่ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง

                     3.4) การวิจัยเกี่ยวกับการเสริมสร้างการรับรู้และความเข้าใจในกระบวนทัศน์ใหม่ของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาด้านยาเสพติด

                     3.5) การวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการประสานความร่วมมือในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาด้านยาเสพติด

                     3.6) การวิจัยเกี่ยวกับการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์การนำรูปแบบและแนวปฏิบัติที่เหมาะสมตามข้อเสนอในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาด้านยาเสพติดใน 3 ขั้นตอนหลักสู่การปฏิบัติในระดับภูมิภาค จังหวัด ชุมชน ท้องถิ่น

                     3.7) การวิจัยเกี่ยวกับผลและผลกระทบต่อการยกเลิกโทษประหารชีวิตในคดียาเสพติด

 

                 4) กลุ่มเรื่องการปราบปรามยาเสพติด  ประกอบด้วย

                     4.1) การวิจัยเกี่ยวกับการศึกษานำร่องและประเมินผลสัมฤทธิ์โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ต้องโทษคดียาเสพติดที่เป็นความผิดร้ายแรงและมีโทษสูง

                     4.2) การวิจัยเกี่ยวกับระบบการนำเข้า การเคลื่อนย้าย และการตลาดของยาและสารเสพติด รวมถึงความสัมพันธ์เชิงอุปทานของตัวยาและ         สารเสพติดในระดับภูมิภาค ชุมชน ท้องถิ่น

                     4.3) การวิจัยเกี่ยวกับการจำหน่ายยาและสารเสพติด  และการเข้าถึงของผู้เกี่ยวข้องในกลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มเยาวชน กลุ่มผู้ใช้แรงงาน กลุ่มเคลื่อนย้าย และกลุ่มข้ามชาติ เป็นต้น

                     4.4) การวิจัยเกี่ยวกับการจัดการความรู้ด้านกลวิธี รูปแบบ และการพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้ในการปราบปราม   การทำลายกลุ่มเครือข่ายการค้าและนักค้ารายสำคัญ   รวมทั้งกลุ่มองค์กรอาชญากรรมยาเสพติดข้ามชาติ ที่เชื่อมโยงการ กระทำผิดกับกฎหมายระหว่างประเทศ

 

                 2 ด้านการป้องกันยาเสพติด

                  1) กลุ่มเรื่องเด็ก เยาวชน และครอบครัว  ประกอบด้วย

                     1.1) การวิจัยเกี่ยวกับการจัดการความรู้ในเรื่อง ตัวแบบ  รูปแบบและแนวปฏิบัติด้านการป้องกันยาเสพติดที่ดีและมีประสิทธิภาพ  ตลอดจนการเข้าถึงและนำสู่การใช้ประโยชน์จริงในระดับพื้นที่ ชุมชน ท้องถิ่น และประชาชน

                     1.2) การวิจัยเกี่ยวกับความเข้าใจและความชัดเจนเชิงรูปธรรมของนิยามศัพท์กลุ่มเสี่ยง และขนาดของประชากรกลุ่มเสี่ยง เพื่อพัฒนาระบบการดูแลป้องกันปัญหายาเสพติดและปัญหาที่เกี่ยวเนื่องในระดับเมือง/พื้นที่ชุมชนเมือง

                     1.3) การวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบและกระบวนการดำรงรักษาและการเพิ่มต้นทุนชีวิต เพื่อสร้างศักยภาพและเสริมความเข้มแข็งด้านภูมิคุ้มกันให้แก่เด็กและเยาวชน

                     1.4) การวิจัยเกี่ยวกับผลและผลกระทบของกระบวนการสร้างจิตอาสา การเห็นคุณค่าในความดีต่อกระบวนการจัดการปัญหายาเสพติดในเยาวชนกลุ่มเสี่ยง

                     1.5) การวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบและแนวทางการขับเคลื่อนงานเครือข่าย/แนวร่วมเยาวชนและแกนนำเยาวชนอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ ในฐานะหุ้นส่วนภาคีด้านการป้องกันและการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติด

                     1.6) การวิจัยเกี่ยวกับคุณลักษณะและรูปแบบการสร้างทักษะครอบครัว เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและภูมิคุ้มกันยาเสพติด  ที่สอดคล้องกับบริบทของแต่ละภูมิภาค ชุมชน ท้องถิ่น และกลุ่มเป้าหมาย

                     1.7) การวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิผลของมาตรการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้เข้าถึงตัวตนของกลุ่มเป้าหมายและในระดับครัวเรือน

 

                 2) กลุ่มเรื่องชุมชน ท้องถิ่น สังคม  ประกอบด้วย

                     2.1) การวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิผลของการดำเนินมาตรการ วิธีการด้านการจัดระเบียบสังคมเพื่อจัดการปัญหายาเสพติดรอบสถานศึกษา

                     2.2) ชุดโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม เพื่อจัดการปัญหายาเสพติดโดยภาคชุมชน ท้องถิ่น และประชาชนตามบริบทพื้นที่

                     2.3) การวิจัยเกี่ยวกับโครงสร้างทางสังคม วัฒนธรรม กับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในระดับชุมชน ท้องถิ่น และกลุ่มประชากรจำเพาะ

                     2.4) การวิจัยเกี่ยวกับการติดตามและประเมินผลกระทบการแก้ไขปัญหาต่างๆ เชิงบูรณา-การระดับชุมชน ท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ ครบวงจร ของชุมชนกองทุนแม่ของแผ่นดิน

                     2.5) การวิจัยเกี่ยวกับการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ของการจัดการปัญหายาเสพติดร่วมกันในชุมชน ท้องถิ่น ที่มีภาวะวิกฤติสูงและรุนแรงด้านความขัดแย้งทางความคิด

 

                 3 ด้านการแก้ไขปัญหาผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติด

                  1) กลุ่มเรื่องนโยบาย ยุทธศาสตร์ กลไกการบริหารและแก้ไขปัญหา  ประกอบด้วย

                     1.1) ชุดโครงการวิจัยเพื่อประเมินทบทวนแนวคิด แนวนโยบาย และการนำมาตรการด้านลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด ( Harm reduction )   มาใช้กับบริบทสังคมไทย

                     1.2) การวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาติดตาม และประเมินทบทวนแนวคิด แนวนโยบาย ยุทธศาสตร์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้านการบำบัดฟื้นฟู

                     1.3) การวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนางานยาเสพติดเข้าสู่ระบบบริการด้านสุขภาพเชิงบูรณาการระดับพื้นที่ ชุมชน ท้องถิ่น

                     1.4) การวิจัยเกี่ยวกับการประเมินผลสัมฤทธิ์ของการบริหารและ ขับเคลื่อนงานจัดการฐานข้อมูล บสต. เชิงบูรณาการ อย่างมีมาตรฐานและคุณภาพ

                     1.5) การวิจัยเกี่ยวกับการตัดสินใจเชิงนโยบายและกำหนดนวัตกรรมทางเลือก เพื่อการพัฒนาและจัดระบบการบำบัดฟื้นฟูเชิงบูรณาการในภาพรวมที่เหมาะสมกับบริบทสังคมไทย

                     1.6) การวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาติดตามเชิงรุก เพื่อเปรียบเทียบความคุ้มค่าของการลงทุนระหว่างค่าใช้จ่ายของการบำบัดรักษากับประสิทธิผลที่  ได้รับ

                     1.7) การวิจัยเกี่ยวกับการประเมินผลสัมฤทธิ์การบริหารและการใช้จ่ายงบประมาณของระบบบังคับบำบัดกับภาคีที่ร่วมดำเนินงาน

 

                 2) กลุ่มเรื่องการบำบัดฟื้นฟู  ตัวแบบ รูปแบบ วิธีการ 

ประกอบด้วย

                     2.1) การวิจัยเกี่ยวกับการทดสอบและพัฒนารูปแบบการเพิ่มจำนวนผู้เข้ารับการบำบัดรักษาในระบบสมัครใจ

                     2.2) การวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาทบทวนการบำบัดรักษาโรคร่วมจิตเวช

                     2.3) การวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการบำบัดฟื้นฟูโดยภูมิปัญญาชาวบ้าน วิถีชุมชน หรือกระบวนการชุมชน-สังคม

                     2.4)  ชุดโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูเชิงบูรณาการทั้ง  3 ระบบในจังหวัดนำร่อง

                     2.5) การวิจัยเกี่ยวกับการกำหนดเกณฑ์ความสำเร็จ สำหรับการวัดประสิทธิผลด้านการบำบัดฟื้นฟู

                     2.6) การวิจัยเกี่ยวกับการประเมินผลสัมฤทธิ์ความเข้มข้นของระบบการบริการ  รูปแบบ แนวทางการบำบัดของสถานบริการบำบัดแต่ละแห่ง

                     2.7) การวิจัยเกี่ยวกับการประเมินประสิทธิภาพการบำบัดฟื้นฟู โดยใช้แนวทางบ้านกึ่งวิถี

                     2.8) การวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนามิติด้านครอบครัวในกระบวนการบำบัดรักษาตามบริบทสังคมไทย

                     2.9) การวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาชุดคู่มือผลกระทบที่บุคลากรด้านการบำบัดรักษาต้องเผชิญ ตอบปัญหาและให้คำแนะนำแก่ผู้รับบริการ

                     2.10) การวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับวิถีการดำเนินชีวิตของผู้ผ่านการบำบัดรักษาที่อยู่ครบตามกำหนด เพื่อประสิทธิภาพด้านการติดตาม ดูแล ช่วยเหลือ

                     2.11) การวิจัยเกี่ยวกับผลและผลกระทบทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และเศรษฐกิจของ ผู้เสพติด ครอบครัว ชุมชน ทั้งระยะสั้นและระยะยาวตามแต่ละบริบทพื้นที่

                     2.12) การวิจัยเกี่ยวกับการติดตามพฤติกรรมการใช้ การติดยาเสพติดแต่ละชนิดของกลุ่มประชากรจำเพาะในระยะยาว

 

          4 ด้านการบริหารจัดการ 

                 1) กลุ่มเรื่องนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงานและงบประมาณในภาพรวม  ประกอบด้วย

                     1.1) การวิจัยเกี่ยวกับการสังเคราะห์งาน เพื่อพัฒนานโยบาย ยุทธศาสตร์ และระบบสนับสนุนการจัดการปัญหายาเสพติดในภาพรวมและระดับภูมิภาค

                     1.2) การวิจัยเกี่ยวกับการประเมินประสิทธิภาพ ประสิทธิผลจากนโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรการสู่การปฏิบัติจริงในภาพรวม และระดับภูมิภาค

                     1.3) การวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาผลตอบแทนความคุ้มค่าของการลงทุน เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยพิจารณาจากผลประโยชน์ที่ได้รับทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม

                     1.4) การวิจัยเกี่ยวกับสัดส่วนความเหมาะสมและการจัดสมดุลด้านการจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณเปรียบเทียบกับสถานการณ์และกระบวนการแก้ไข/จัดการปัญหายาเสพติดเชิงระบบ

 

                 2) กลุ่มเรื่องสถานการณ์  การพัฒนาระบบข้อมูล สารสนเทศ และการเฝ้าระวัง ประกอบด้วย

                     2.1) การวิจัยเกี่ยวกับการสำรวจประมาณการผู้ใช้ยาและสารเสพติด

                     2.2) การวิจัยเกี่ยวกับการกำหนดตัวบ่งชี้ หรือดัชนีชี้นำสถานการณ์ปัญหายาเสพติดระดับเมือง และภูมิภาค ชุมชน ท้องถิ่น

                     2.3) การวิจัยเกี่ยวกับการติดตามผลสัมฤทธิ์ของระบบข้อมูลและการเฝ้าระวังที่มีคุณภาพในระดับชุมชน ท้องถิ่น

 

                 3) กลุ่มเรื่องโครงสร้าง การพัฒนาองค์กรเพื่อจัดการปัญหา  ประกอบด้วย

                     3.1) การวิจัยเกี่ยวกับการติดตามผลสัมฤทธิ์และประเมินผลการพัฒนารูปแบบ โครงสร้างการแก้ไขปัญหายาเสพติดระดับภูมิภาค จังหวัด ท้องถิ่น และชุมชน

                     3.2) การวิจัยเกี่ยวกับการประเมินศักยภาพ  ความพร้อม และการเข้ามามีส่วนร่วมขององค์กรภาคีที่ไม่ใช่ภาครัฐ  องค์กรภาคีภาคประชาสังคมระดับภูมิภาค ชุมชน ท้องถิ่น  กับการจัดการปัญหายาเสพติดในแต่ละบริบทพื้นที่

                     3.3) การวิจัยเกี่ยวกับการจัดการความรู้  และการศึกษาเปรียบเทียบประสบการณ์การจัดการปัญหายาเสพติดร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคท้องถิ่น

                     3.4) การวิจัยเกี่ยวกับบทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการกำกับดูแลองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

                     3.5) การวิจัยเกี่ยวกับการกำกับดูแลและการประเมินผลสัมฤทธิ์ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น กับการจัดการปัญหายาเสพติดระดับชุมชน ท้องถิ่น ตามแต่ละบริบทพื้นที่

 

 
   
หมายเลขบันทึก: 453348เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2011 10:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท