ลักษณะนโยบายที่ดี


  นโยบายที่ดีควรมีลักษณะที่พึงประสงค์ดังนี้
               ๑. นโยบายที่ดีจะต้องกำหนดขึ้นจากข้อมูลที่เป็นจริง มิใช่ความคิดเห็นส่วนตัวของผู้กำหนดนโยบาย แต่ทั้งนี้ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ หรือปฏิกิริยาต่าง ๆ จาภายนอกก็ควรนำมาพิจารณาในการกำหนดนโยบายเช่นเดียวกัน
               ๒. นโยบายที่ดีจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน และสามารถที่จะช่วยให้การดำเนินงานนโยบายด้วยเช่นเดียวกัน
               ๓. นโยบายที่ดีจะต้องได้รับการกำหนดขึ้นก่อนที่จะมีการดำเนินงาน โดยการกำหนดกลวิธีในการปฏิบัติไว้กว้าง ๆ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติสามารถพิจารณาตีความแล้วนำไปปฏิบัติตามความสามารถ สอดคล้องกับสภาวการณ์ในขณะนั้นๆ แบะเหมาะสมกับสภาวการณ์ในขณะนั้นๆ และเหมาะสมกับทรัพยากรที่มีอยู่
              ๔. นโยบายที่ดีจะต้องมุ่งสนองประโยชน์ให้กับบุคคลโดยส่วนรวม และจัดลำดับตามความสำคัญและความเป็นก่อน- หลัง ในการนำไปปฏิบัติ
              ๕. นโยบายที่ดีเป็นข้อความหรือถ้อยคำที่กะทัดรัด ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย และแถลงไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้สมาชิกทุกคนและทุกระดับชั้นภายในหน่วยงานสามารถเข้าใจได้อย่างขัดเจน
              ๖. นโยบายที่ดีจะต้องอยู่ภายในขอบเขตที่มีวัตถุประสงค์และมีความยืดหยุ่น สามารถที่จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ทันต่อเหตุการณ์ใหม่ ๆ เสมอ
              ๗. นโยบายที่ดีจะต้องเป็นจุดรวมหรือศูนย์ประชาสัมพันธ์ ของหน่วยงานต่าง ๆ ภายในองค์การกล่าวคือ หน่วยงานต่าง ๆ สามารถใช้นโยบายเป็นหลักการในการปฏิบัติ ภารกิจของตน และใช้เป็นแนวทางในการประสานสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่น ซึ่งมีภารกิจที่แตกต่างกันออกไปได้ ขณะเดียวกัน ดังคำกล่าวที่ว่า “มีเอกภาพทางนโยบายแต่หลากหลานการปฏิบัติ”
             ๘. นโยบายที่ดีจะต้องครอบคลุมไปถึงสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย โดยอาศัยข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์อย่างละเอียดรอบคอบแล้ว การกำหนดนโยบายในลักษณะดังกล่าว จะช่วยให้การดำเนินงานที่เป้นอยู่ในปัจจุบัน และงานที่กำลังจะดำเนินการในระยะเวลาอันใกล้กับงานที่จะต้องดำเนินการในอนาคตมีความสอดคล้องและต่อเนื่องกัน
            ๙. นโยบายที่ดีจะต้องสอดคล้องกับปัจจัยภายนอกองค์การ กล่าวคือจะต้องสอดคล้องกับระเบียบดกหมายและข้อบังคับต่าง ๆ ของสังคมโดยส่วนร่วม คบอดจนความสนใจหรือความคิดเห็นของสาธารณชน ( Public Interests )

               สรุปได้ว่า นโยบายที่ดีจะช่วยให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกทิศทาง ง่าย และมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น ช่วยให้ผู้ปฏิบัติหรือผู้ใต้บังคับบัญชาสามารถกำหนดแนวปฏิบัติและตัดสินใจในภารกิจที่ตนเองรับผิดชอบ ได้ด้วยตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องรอการวินิจฉัยสั่งการจากผู้บังคับบัญชาเสมอไป ทั้งนี้เพราะการมีความเข้าใจในนโยบายอย่างชัดเจนแล้วนั่นเอง

หมายเลขบันทึก: 453164เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2011 20:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 16:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท