การเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน


การเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน (Context Based Learning)

เครือข่ายท่าศาลา - นบพิตำ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นอำเภอนำร่องในโครงการสร้างเสริมความเข้มแข็งด้านสุขภาพ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ซึ่งบทบาทหนึ่งที่เครือข่ายจะต้องดำเนินการ คือการพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและในเครือข่าย โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบ CBL = context based learning ซึ่งต้องยอมรับว่าเป็นวิธีการจัดการเรียนรู้แบบนี้เราอาจจะมีการดำเนินการมาบ้างแล้วแต่เป็นการเรียนรู้ในกล่มเล็กๆ แต่โดยภาพรวมก็ถือว่าเป็นเรื่องใหม่ ซึ่งเราก็พยายามหาวิธีการกันว่าเราจะจัดการกันแบบไหน ถึงจะสามารถเพิ่มสมรรถนะของผู้ให้บริการ ทั้งสมรรถนะทางด้านวิชาการ (Technical competency) และสมรรถนะทางสังคม (Social competency) ได้ โดยการจัดการเรียนรู้ในบริบทต่างๆ ผสมผสานไปกับกิจกรรมการให้บริการ เช่นการจัดการเรียนรู้โดยใช้โรงพยาบาลเป็นฐาน การใช้สถานบริการในชุมชนเป็นฐาน และการใช้บ้านของผู้ให้บริการ หรือชุมชนเป็นฐาน ซึ่งในการจัดการเรียนรู้เบื้องต้นเราจึงมีการสอบถามความต้องการเรื่องที่จะเรียนรู้จากบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล แล้วเริ่มกันที่การเยี่ยมบ้าน โดยการขออนุญาตครอบครัวที่จะไปเยี่ยม แล้วนำคณะเจ้าหน้าที่ประมาณ 20 ท่านไปเยี่ยมบ้านของคุณลุงที่เป็นเบาหวาน เพื่อไปเรียนรู้ ประเมินบุคคล ครอบครัว และชุมชน หลังจากนั้นจึงกลับมา conference case กันที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว จะเป็นผู้นำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสอดแทรกความรู้ด้านวิชาการเป็นระยะๆ และระดมความคิดเห็นกันในการวางแผนการดูแลครอบครัวนี้ และการวางระบบการเยี่ยมบ้านของเครือข่ายเพิ่มเติม เช่น การปรับปรุงเอกสาร การส่งต่อข้อมูล เป็นต้น หลังจากนั้นก็มีการประเมินผลการจัดการเรียนรู้ ซึ่งมีข้อเสนอแนะว่าควรจะมีวิชาชีพอื่นมาร่วมด้วย เพื่อให้ประเด็นการเรียนรู้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น  และถ้าท่านมีข้อแนะนำ ความรู้ หรือเสนอแนะเพิ่มเติมเรื่องใดๆ กรุณาแนะนำด้วยน่ะค่ะ

หมายเลขบันทึก: 452963เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2011 13:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 09:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นการเริ่มต้นที่ดีครับ ขอเอาใจช่วยให้ประสบความสำเร็จ

เรื่องแบบนี้ควรมีกรณีศึกษาอย่างน้อยๆ สัก 30 ราย ครับ ถ้าได้ 100 ก็ยิ่งดี จะทำให้น่าเชื่อถือในแง่วิชาการ (เชิงสถิติ )

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท