ช่าง ธรรม ตะปู


ตีตะปูแค่นี้และครับความรู้อย่างมหาศาลที่ตำราเล่มไหนก็ไม่มี

  อ่านหนังสือสอบไปมาปวดหัวอยากหลับเลยมานั่งหน้าคอมพ์ ไม่รู้จะทำอะไรนึกไปนึกมา บ่นมันทางตัวหนังสือดีกว่า ประมาณว่านึกอะไรได้ก็พิมพ์มันไป พิมพ์ถูกบ้างผิดบ้างก็ค่อยแก้กัน

  มองไปมองมาก็เห็นตะปูดอกหนึ่งมันอยู่ตรงหน้า ซึ่งตะปูมันก็เป็นของธรรมดาที่คนเราไม่คิดว่ามันจะมีอะไรพิเศษ

  ลองพิจารณากันไปอีกมองกันไปตั้งแต่ตัวตะปูเลยว่าเป็นเหล็กแน่นอนความแข็งแกร่งมีแน่นอน รูปร่างยาวเรียวเหมาะแก่การทุลุทะลวงวัสดุต่าง มีรุ่นเรียว,รุ่นอ้วนและขนาดต่างตามแต่การใช้งานงานเล็กๆไม่ต้องการความแข็งแรงมากก็แค่ 1หรือ2 นิ้ว แต่หากเป็นชิ้นงานที่ต้องการความแข็งแรงก็คงต้องใช้ 3หรือ4 นิ้วกันเลยหรือจะถึง5 นิ้วก็แล้วแต่เนื้องานอธิบายไปคนไม่เคยทำก็ไม่เข้าใจแน่

  ต่อมาการตีตะปู ช่างที่จะมาตีตะปูนั้นอย่างแรกต้องพิจารณากันก่อนถึงความเหมาะของตะปูที่จะใช้ หากไม้ใหญ่ตะปูเล็กก็ไม่แข็งแรง หากไม้เล็กตะปูใหญ่ไม้ก็แตก แล้วต้องมองไปถึงเนื้อไม้อีก เนื้ออ่อนตีตะปูเข้าเลยได้ หากไม้เนื้อแข็งอาจต้องเจาะรูก่อน

  แล้วในขณะที่จะตีนั้นก็ต้องมีสติและสมาธิในความมุ่งมั่นอย่างมากเราเองก็ทำบ่อย หากขาดสติและสมาธิแน่นอนผลเสียตามมาแน่นอน หากจับตีฆ้อนไม่ดีไม่ตรงตำแหน่งระหว่างฆ้อนและตะปู ตะปูมันก็จะงอ หากไม้เนื้ออ่อนตีแรงไม้ก็แตก ไม้เนื้อแข็งตีไม่แรงพอตะปูก็งอได้

  มองกันไปเลยตีตะปูแค่นี้และครับความรู้อย่างมหาศาลที่ตำราเล่มไหนก็ไม่มี หาซื้อกันก็ไม่ได้มันจะมีได้ก็จากการเรียนรู้ลงมือปฏิบัติมีครูอาจารย์แนะนำ

  จะเปรียบให้ฟังกับคนมาฝึกหัดในธรรมเหมือนช่างตีตะปูนั้น เราก็ต้องมองกันไปละว่าเราจะเลือกนำ บทธรรมมใดมาชี้นำการปฏิบัติของเราตามจริตของแต่บุคคล แบบไหนมันเหมาะกับใจเรา จะเน้น ทาน,ศีล,สมาธิ,ปัญญา หรือธรรมที่แตกฉานออกไปอีกประการใดก็ตามแต่ความสมดุลแห่งใจ

  มันต้องลองปฏิบัติกันดูละทีนี้ว่าอย่างไรมันจะเหมาะกับอะไร ลองปฏิบัติกันไปแล้วก็ต้องมาคิดพิจารณากันไปอีก ว่ามันใช้ได้กับการอบรมบ่มนิสัยอย่างไรมันให้ผลได้กับอะไรบ้าง มันส่งผลอย่างไรดี อย่างไรทำให้รุ่มหลงในกิเลสอีก

  แล้วเวลาปฏิบัตินั้นก็ต้องมีสติไปในแนวทางการปฏิบัติในปฏิปทาที่เราได้เลือก หากไม่มีความระมัดระวังในสติมันก็อาจาการเป็นการทำให้เรานั้น ออกนอกธรรมนั้นไปอย่างที่เราไม่พึงได้รู้ แต่หากเรามีครูบาอาจารย์แนะนำท่านก็มักจะเตือนสติเราน้ันให้รู้ถึงความจริงและผลแห่งมันแต่วิธิการเป็นอย่างไรก็แล้วแต่ครูบาอาจารย์แต่ละท่านบางคราท่านก็ปล่อยให้เรารู้ผลและเรียนรู้เอง บางคราท่านก็สอนเตือนและแก้ปัญหาให้

  แล้วพึงมีสติคิดอย่าไปฝังกับความคิดเก่าที่เรายึดติดมาแก้ตัวสติให้รู้แล้วทำให้มองเห็นนั่นจึงเป็นธรรม ที่อยู่ในตัวตน

  เอาละปัญญาหยาบๆก็มีแค่นี้ละ ตามประสาธรรมลูกกรรมกร ถูกผิดประการใดก็ละไว้ตรงนี้เลยนะอย่าได้ถือกัน

  ธรรมะกรรมกร สอนคนให้เป็นคน

หมายเลขบันทึก: 452744เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2011 23:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ปฏิบัตินั้นก็ต้องมีสติไปในแนวทางการปฏิบัติในปฏิปทาที่เราได้เลือก

นมัสการคะ
ครั้งหนึ่ง ดิฉัน เคยเป็นพุทธศาสนิกชน "ตามทะเบียนบ้าน"
ด้วยรู้สึกว่าธรรมะนั้นยากเกินเข้าถึง มีภาษาบาลี และการจำแนกอันมากมาย
แต่เมื่ออ่านบทความของท่านแล้ว รู้สึกว่าสามารถปฎิบัติได้โดยมีสติพิจารณาสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวอย่างถ่องแท้..

ขอบคุณมากคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท