"AI สำหรับเรื่องที่..ดูๆไปก็ธรรมดา.."


ห้องเรียนกระบวนกรตอนที่ 361

ผมสอน Appreciative Inquiry ครับ..AI เป็นศาสตร์ของการถามคำถามเชิงบวก ที่จะทำให้ได้คำตอบดีๆ เพื่อดึงเรื่องราวดีๆ มีขยายผล...

.......

ผมติดนิสัยการถามคนด้วยคำถามดีๆ..ครับ

...
มีวันหนึ่งผมถามนักศึกษาคนหนึ่ง ว่า..เขาภูมิใจอะไรที่สุด...เขาบอกว่า..."เขาภูมิใจตอนที่เขามีโอกาสช่วยโรงเรียนจัดนิทรรศการงานวิทยาศาสตร์... เขาทำงาน คิด ริเริ่มทุกอย่าง พาเพื่อนลุยด้วยตนเอง...วันจริงถึงขั้นหลับคางาน..เพราะเหนื่อย..."

...

ผมเลยบอกเขาว่า.."คุณเจ๋งนะ..นี่ไงจุดแข็งของคุณ..."

นักศึกษารายนั้นบอกว่า..".."คนอื่นๆก็ว่าเรื่องนี้ดี..แต่ผมก็มองว่ามันไม่เห็นจะสำคัญอะไร..."

.....

แต่ผมว่าสำคัญ..สองวันต่อมาก็นึกได้ว่า...มันสำคัญจริงๆ...ผมเคยสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง..ประมาณนี้เลยครับ..อะไรที่คนภูมิใจนั้นมักสอดคล้องกันครับ คือมีเงือนไขดังนี้...

"ริเริ่ม วางแผน ลุยด้วยตนเอง..ประมาณบุกเบิก...จนสำเร็จ...แล้วมาสอนคนอื่น"

....

มีเรามักภูมิใจถ้ามี "โอกาส" ได้ริเริ่ม ลุยด้วยตนเองครับ...

....

และที่ผมเจอเพิ่มเติมก็คือ..."ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงสร้างสรรค์ครับ"..

....

แต่ในระดับครอบครัว...องค์กร...เราไม่ค่อยได้ให้ "โอกาส" นั้นกับตนเอง และเปิด "โอกาส" ให้คนอื่นได้เป็นพระเอกบ้าง...ทำให้เราเจอเรื่องน่าภูมิใจไม่มาก..และการเปลี่ยนแปลงดีๆ ก็ไม่มากตามไปด้วย...

....

ถ้าคุณเห็นตามนี้แล้ว...เข้าวงจร AI ครับ...

ข้างบนนั้นคือ Discovery...

Dream...เปิดพื้นที่ให้คนได้ริเริ่มสร้างงาน...คิดงานด้วยตนเอง 

Design.....หาโจทย์ให้คิด...ด้วยตนเอง..คนละข้อ...ทำคนละเรื่องต่อปี..หาพี่เลี้ยงช่วย..เอางานที่ทำนี่แหละ...ลูกศิษย์ผม..พอขอให้คนงานคิด คนงานร้านอาหารก็ออกแบบเมนูอาหาร ที่ดึงดูดความสนใจลูกค้าได้..

Destiny ลองทำเลย..ปรับกระบวนการไปเรื่อยๆ เดี๋ยวดีเอง..

....

คุณจะเห็นความเปลี่ยนแปลง และความภาคภูมิใจ...ที่สำคัญ คุณจะเห็นความเป็น "มนุษย์" ครับ...

....

คุณล่ะ คิดอย่างไร

หมายเลขบันทึก: 452644เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2011 06:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

นึกตามที่อาจารย์เขียน

คงเป็นเพราะเหตุนี้ คนเราถึงชอบ "เรื่องเล่า" มากกว่า การบอกตรงๆ ให้ทำ 1,2,3...

เพราะเรื่องเล่า เปิดโอกาสให้คนฟังคิดตีความเอง ตั้งคำถามเอง ริเริ่มที่จะหาทางเปลี่ยนแปลงเอง

และเราก็มักเชื่อในสิ่งที่ตัวเองพูด (กับตัวเอง) มากกว่าคนอื่นพูด

ขอบคุณสำหรับบันทึกดีๆ คะ

ยินดีครับคุณหมอ ครับ..จริงอย่างที่คุณหมอพูดครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท