คนอุทัย
นาง นางชรินรัตน์ สิม จันทบุตร

โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์


การเรียนวิชาภาษาไทย

  การเรียนวิชาภาษาไทย

การเรียนการสอนวิชาภาษาไทยเป็นเรื่องยากสำหรับนักรียนในปัจจุบัน  เพราะนักเรียนส่วนมากไม่ค่อยชอบวิชาภาษาไทย  แต่ก็ต้องเรียนเพราะเป็นภาษาของเราเอง  เราต้องเก่งภาษาของเราก่อน  ก่อนอื่นก็ต้องเรียนเสียงในภาษาไทยก่อน

เสียงในภาษา
เสียงในภาษา หมายถึง เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมา เพื่อสื่อความหมายระหว่างมนุษย์ด้วยกัน และ เพื่อสนองความต้องการต่าง ๆ เช่น ขอความช่วยเหลือ แสดงความรู้สึกรัก เกลียด โกรธ ชอบ ไม่ชอบ พอใจ ไม่พอใจ ฯลฯ

เสียงในภาษา มี 3 ชนิด คือ
1. เสียงสระ
2. เสียงพยัญชนะ
3. เสียงวรรณยุกต์
เสียงสระ
เสียงสระ คือ เสียงที่เปล่งออกมาจากลำคอโดยตรง ไม่ถูกสกัดกั้น ณ ที่ใดที่หนึ่งในช่องทางเดินของลมเลย แล้วกระทบเส้นเสียงทั้งสองข้าง เกิดเป็นเสียงสั่นสะเทือน มีเสียงก้องกังวาน และออกเสียงได้ยาวนานกว่าเสียงพยัญชนะ
เสียงสระ มี 24 เสียง แบ่งได้ 2 ชนิด คือ 1. สระแท้ 2. สระประสม

เสียงพยัญชนะ
เสียงพยัญชนะ หมายถึง เสียงที่เปล่งออกมาจากลำคอ แล้วกระทบกับอวัยวะต่าง ๆ ภายในช่องปากหรือช่องจมูก ลมอาจถูกสกัดกั้นไว้ทั้งหมดหรือเป็นบางส่วน จึงทำให้เกิดเสียงพยัญชนะต่าง ๆ
เสียงพยัญชนะ มี 21 เสียง ได้แก่
เสียงพยัญชนะไทย (21 เสียง) รูปพยัญชนะไทย (44 รูป)

เสียงวรรณยุกต์
เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงที่มีระดับสูงต่ำแตกต่างกันไป นับว่าสำคัญมาก เพราะทำให้ความหมายของคำเปลี่ยนไปด้วย
เสียงวรรณยุกต์ มี 5 เสียง

หมายเลขบันทึก: 452483เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2011 12:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มีนาคม 2012 16:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สู้ต่อไปนะเพื่ออนาคตลูกๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท