รัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภา


รัฐพิธี เพิ่มความศักดิ์สิทธิและความน่าเชื่อถือแก่สมาชิกรัฐสภา

ภาย หลังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรด กระหม่อม ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฏราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินทรงปฎิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดประชุมรัฐสภา พุทธศักราช2554 ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2554

มีผู้ถามผมว่า ทำไม ต้องมีรัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภา???

 
           รัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภา ถือว่าเป็นพิธีการที่สำคัญที่สุดของรัฐสภา ได้มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 128 ว่า “พระมหากษัตริย์ทรงเรียกประชุมรัฐสภาทรงเปิดและทรงปิดประชุม ” และตามมาตรา 127 วรรคหนึ่ง “จะ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงทำรัฐพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญทั่วไปครั้งแรก คือภายในสามสิบวันนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ให้มีการเรียกประชุมรัฐสภา เพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก ด้วยพระองค์เอง หรือจะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระรัชทายาท ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว หรือผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้แทนพระองค์มาทำรัฐพิธีก็ได้”

                  และเมื่อเวลา 17.00 น. วันที่ 1 สิงหาคม ที่พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ เปิดประชุมรัฐสภา ทรงมีพระราชดำรัสใจความว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ข้าพเจ้ามาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในพิธีเปิดประชุมรัฐสภาใน วันนี้

         ควรเป็นที่พึงพอใจทั่วกัน ที่บัดนี้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เสร็จสิ้นลง และมีการเรียกประชุมรัฐสภา ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแล้ว ต่อไปจึงเป็นภาระและความรับผิดชอบโดยตรงของท่านทั้งหลายที่จะต้องร่วมกัน ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะสมาชิกของสภานี้ ให้การปกครองประเทศดำเนินไปตามระบอบประชาธิปไตย เพื่ออำนวยประโยชน์ที่พึงประสงค์ คือความเจริญมั่นคงของประเทศ และความผาสุกร่มเย็นของประชาชน เชื่อว่าทุกท่านต่างทราบเป็นอย่างดีถึงความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง และมีความสุจริตจริงใจที่จะปฏิบัติหน้าที่ทั้งนั้น ให้สำเร็จผล เป็นประโยชน์ ตามที่กล่าวด้วยความสำนึก โดยตระหนักว่าประโยชน์ส่วนรวมนั้นเป็นประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่เหนือกว่าประโยชน์ ส่วนตน หรือประโยชน์อื่นใดทั้งสิ้น ดังนั้นเรื่องราวและปัญหาใดๆ ที่เข้ามาสู่สภาแห่งนี้ จึงควรหวังได้ว่าจะมีการปรึกษาพิจารณาร่วมกันอย่างรอบคอบ และตกลงกันด้วยเหตุและผล ด้วยความสมัครสมานปรองดรอง และด้วยความเสียสละ อดทนและอดกลั้น โดยคำนึงถึงประโยชน์ ที่จะพึงเกิดมีแก่ประเทศชาติและประชาชนส่วนรวมเป็นสำคัญ

          ในพระ ปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ข้าพเจ้าขอเปิดประชุมรัฐสภาเพื่อให้ทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติตั้งแต่วาระนี้ เป็นต้นไป และขอให้ทุกๆ ท่านที่ประชุมร่วมกันอยู่ ณ ที่นี้ ประสบความสุขความสวัสดีจงทุกเมื่อทั่วกัน”

หมายเลขบันทึก: 452327เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2011 12:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อยากให้คำปฏิญาณเป็นจริง 

ใครไม่ปฏิบัติให้รับผลกรรมโดยด่วน

สวัสดีครับท่านอาจารย์โสภณ

ผมเชื่อว่าคนไทยค่อนประเทศก็มีความอยากและปรารถนาให้เป็นอย่างที่ท่านอาจารย์ว่าไว้ครับ

ขอบคุณที่มาเยือนครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท