บันทึกสยาม๓-หม้อบ้านเชียง


ลวดลายบ้านเชียง-งานสร้างสรรค์แรกๆของมนุษย์โบราณ

 

 

                        หม้อบ้านเชียง-ลวดลายสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมระดับโลก

 

                            พื้นที่ภาคอีสานนั้นมีแหล่งโบราณคดีสำคัญหลายแห่ง   แต่ที่ที่รู้จักกันดีก็คือ บ้านเชียง ซึ่งมีการค้นพบภาชนะดินเผาอันเกิดจากฝีมือมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งมีความสำคัญมากก็ตรงที่ ภาชนะดินเผานั้นมีการเขียนสีเป็นลวดลายสวยงามจนเป็นภูมิบ้านภูมืเมืองของอุดรธานีและบริเวณใกล้เคียง  จนเรียกได้ว่า เป็นจุดเกิดของวัฒนธรรมบ้านเชียง อันหมายถึงวัฒนธรรมของเครื่องปั้นดินเผาที่เขียนลายสี  ด้วยมีการสร้างลวดลายเฉพาะท้องถิ่นได้แก่ ลายขดก้นหอย   ลายตุ๊กแก    จนพากันเรียกว่า ลายบ้านเชียง   และสามารถศึกษาได้ว่ามนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์นั้นมีการเรียนรู้วิธีผลิตสีเขียนจากวัสดุที่พบในท้องถิ่นนั้นๆ

             แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงแห่งนี้ เป็นหลักฐานที่แสดงให้รู้ว่าข้าวและโลหะสำริดนั้นได้ปรากฏขึ้นในบริเวณนี้มามากกว่า ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว ซึ่งการศึกษาเดิมนั้นได้ระบุว่าบริเวณนี้มีการเพาะปลูกและเริ่มใช้โลหะทั้งสำริดและเหล็กพร้อมๆกัน เมื่อประมาณ ๒,๕๐๐ ปี  ต่อมาได้มีโครงการโบราณคดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  จึงมีการขุดค้นและวิจัยเรื่องราวที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมก่อนประวัติศาสร์ของบ้านเชียง   จึงได้รับความรู้ ว่า

                ในช่วงแรก ระหว่าง ๔,๓๐๐–๓๐๐๐ ปีมาแล้วนั้น บ้านเชียงได้เป็นชุมชนเกษตรกรรมที่มีผู้คนอาศัยทำการเพาะปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์ โดยเลี้ยงวัวและหมู   ซึ่งพบว่าประพณีการฝังศพของมนุษย์ของชุมชนแห่งนี้มีรูปแบบต่างๆ ดังนี้ ฝังโดยวางศพในลักษณะนอนงอเข่า ฝังโดยวางศพในลักษณะนอนหงายเหยียดยาว และสำหรับศพเด็กนั้นใช้วิธีบรรจุศพใส่ในภาชนะดินเผาขนาดใหญ่แล้วนำไปฝังดิน   เป็นต้น  สรุปแล้วชุมชนแห่งนี้มีการฝังศพในระยะแรกนั้น ได้นิยมนำภาชนะดินเผาวางลงในหลุมฝังศพและมีการใช้เครื่องประดับตกแต่งร่างกายให้ผู้ตายด้วย   ภาชนะดินเผาที่ใช้ฝังไปกับศพนั้นต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ

                ระยะแรกนั้นมีการใช้ภาชนะดินเผาที่เป็นสีดำ และสีเทาเข้ม  มีเชิงหรือฐานเตี้ย  ส่วนปากสูงปลายกว้างหรือปากบานออก ตัวภาชนะส่วนบนเขียนด้วยลายขีดเป็นเส้นคดโค้ง ตกแต่งด้วยลายกดประทับเพิ่มเติมเป็นจุดหรือเส้นสั้นๆ บนพื้นที่ว่างของเส้นคดโค้ง  มีเส้นขอบตรงกลางโดยรอบ ส่วนช่วงล่างนั้นตกแต่งด้วยลายเชือกทาบที่กดประทับบนผิวด้วยเส้นเชือก

                ระยะต่อมาได้มีการใช้ภาชนะดินเผาแบบใหม่ให้มีขนาดใหญ่รูปทรงกลมยาว ก้นกลมมนขนาดใหญ่ขึ้น มีปากแคบมีทั้งแบบคอสั้นหรือคอยาว  สำหรับใช้บรรจุศพเด็กลงในภาชนะแล้วนำไปฝังดิน  ส่วนภาชนะดินเผาที่ฝังกับศพยังใช้ขนาดธรรมดาที่มีการตกแต่งพื้นส่วนบนด้วยเส้นคดโค้ง ที่เพิ่มการตกแต่งมากกว่าระยะแรกๆ   ระยะต่อมาได้มีการสร้างภาชนะรูปแบบใหม่ที่เป็นทรงกระบอกเพื่อให้มีตัวภาชนะด้านข้างตรงถึงเกือบตรง  แต่ยังมีลักษณะเป็นหม้อก้นกลม  คอภาชนะนั้นสั้นปากบานออก  เชิงสั้นตั้งตรง    ตกแต่งพื้นด้วยลายเชือกทาบตลอดทั้งใบ   และช่วงสุดท้ายนั้นได้มีการสร้างภาชนะประเภทหม้อกลม โดยมีการตกแต่งส่วนบริเวณไหล่ของภาชนะด้วยลายเส้นขีดผสมกับการระบายสีแดง  บนพื้นตัวภาชนะถัดลงมานั้นทำเป็นลายเชือกทาบ  ภาชนะแบบนี้พบมีหนาแน่นที่บ้านอ้อมแก้ว จึงเรียกว่า แบบบ้านอ้อมแก้ว

                 สรุปว่าชุมชนบ้านเชียงนี้ยังไม่มีการใช้วัตถุที่ทำจากโลหะ  เครื่องมือมีคมใช้ขว่านหินขัด ทำเครื่องประดับจจากหินและเปลือกหอย  ต่อมาราว๔,๐๐๐ ปีมาแล้วจึงได้เริ่มรู้จักใช้โลหะสำริดทำเครื่องประดับและอาวุธ ได้แก่ แหวน กำไล    หัวขวาน  ใบหอก เป็นต้น

                ในช่วงระหว่าง ๓,๐๐๐-๒,๓๐๐ ปีมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียงได้รู้จักการทำการเกษตร โดยใช้โลหะผสมมาเป็นเครื่องมือและเครื่องประดับ  คือ รู้จักทำสำริดที่ผสมระหว่างทองแดงและดีบุกเป็นหลัก  จนถึงช่วงระยะเวลา ๒,๗๐๐-๒,๕๐๐ ปี ชุมชนบ้านเชียงจึงรู้จักใช้เหล็กเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ขึ้น  สำหรับรูปแบบการฝังศพนั้นใช้ฝังโดยวางศพในลักษระนอนหงายเหยียตรง  บางศพนั้นมีการนำภาชนะดินเผาวางมากว่า ๑ ใบแต่ทุบให้แตกแล้วใช้เศษภาชนะดินเผานั้นโรยคลุมทับบนศพ  รูปแบบภาชนะในระยะนี้ได้มีการทำภาชนะขนาดใหญ่ ทรงกลมให้ส่วนไหล่นั้นหักเป็นมุมหรือโค้งมากจนเป็นมุม  ก้นภาชนะนั้นทรงกลมและก้นแหลม จนไวางกับพื้นไม่ได้ต้องวางบนที่รอง  ภาชนะบางใบมีการตกแต่งลายขีดผสมกับลายเขียนสีบริเวณปากภาชนะ  ภายหลังได้มีการตกแต่งปากภาชนะด้วยการทาสีแดง  ส่วนตัวภาชนะนั้นมีผิวนอกสีขาว

               ในช่วงระหว่าง๒,๓๐๐-๑,๘๐๐ ปีมาแล้ว ชุมชนบ้านเชียงแห่งนี้ได้มีการใช้เครื่องมือที่ทำด้วยเหล็ก  สำหรับสำริดนั้นใช้ทำเครื่องประดับที่มีลักษระประณีตและลวดลายมากขึ้น การฝังศพนั้นยังคงใช้วางนอนหงายและวางภาชนะบนทับบนศพ   ภาชนะช่วงนี้มีการเขียนลายสีแดงบนพื้นสีขาวนวลของภาชนะ และมีการเขียนลายสีแดงบนพื้นสีแดง     สุดท้ายภาชนะดินเผานี้มีมีการทาน้ำดินสีแดงแล้วทำการขัดมันขึ้น       

               ปัจจุบันบริเวณแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงนั้นได้รับการประกาศให้เป็น  มรดกโลกทางวัฒนธรรม ที่คนไทยต้องภาคภูมิใจในฐานะ เป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์แห่งนี้   

 

ข้อศึกษาท่ีน่าติดตามก็คือ

-คนกลุ่มใหนเขียนลายบนภาชนะ และสร้างแบบของตนขึ้น

-มนุษย์สร้างสรรค์ลวดลายเพื่อบอกอะไร  หรือแค่สวยงามอย่างเดียว?

-ทำไมไม่มีในภาคอื่น-พบท่ีบ้านเชียง-บ้านก้านเหลือง-และท่ีใหนอีก

-คนกลุ่มนี้อยู่บนโลกก่อนมีการสร้างสถานที่ศักดิ์สิทธิ?บนภูพระบาท 

หมายเลขบันทึก: 452235เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2011 16:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท