การจัดสรรคลื่นความถี่ (Spectrum Assignment)


การจัดสรรคลื่นความถี่ (Spectrum Assignment)

กล่าวนำ
          จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายภาครัฐฯ การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ตลอดจนการแข่งขันอย่างรุนแรงในภาคธุรกิจเอกชน ทำให้ความต้องการทรัพยากรคลื่นความถี่เป็นปัญหาที่ท้าทายเป็นอย่างยิ่ง และเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ระบบสื่อสารโทรคมนาคมในปัจจุบัน ประสบกับปัญหาการใช้ทรัพยากรคลื่นความถี่ที่มีอย่างจำกัด จนเป็นผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการจัดสรรคลื่นความถี่ให้กับหน่วยงานภาครัฐฯ เอกชน รวมทั้งในภาคประชาชน ดังนั้นจึงทำให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในการกำกับดูแลกิจการสื่อสารโทรคมนาคม ต้องพิจารณาการจัดสรรทรัพยากรคลื่นความถี่ที่มีอยู่อย่างจำกัดอย่างเป็นธรรม ให้สามารถรองรับกับความต้องการ และสอดคล้องกับตารางกำหนดคลื่นความถี่ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union : ITU) ด้วย  ด้วยเหตุผลดังกล่าวกระบวนการจัดสรรคลื่นความถี่แห่งชาติต้องออกแบบมาเพื่อ ให้แน่ใจได้ว่า ถ้าทำตามกระบวนการดังกล่าวแล้วจะทำให้การใช้งานคลื่นความถี่ใหม่ที่จะอนุญาต ให้ผู้ใช้รายใหม่ ไม่รบกวนกับผู้ใช้อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้ภายในประเทศหรือและผู้ใช้ภายนอกประเทศ 

กระบวนการจัดสรรคลื่นความถี่
          กระบวนการจัดสรรคลื่นความถี่ประกอบด้วย การวิเคราะห์ความต้องการ (Analysis of requirements) การจัดสรรคลื่นความถี่ (Assignment of frequencies) ตามแผนกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ (National frequency allocation plan) ซึ่งอาจมีความจำเป็นต้องพิจารณาข้อมูลการลงทะเบียนความถี่สากล (Master International Frequency Register : MIFR) ซึ่งสามารถหาได้จากฐานข้อมูลของ ITU (the BR International Frequency Information Circular : BR IFIC)

          ผู้ใช้ที่ต้องการความถี่ต้องยื่นเอกสารร้องใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ โดยต้องเตรียมเอกสารเพื่อแสดงถึงการบริหารคลื่นความถี่ที่จะขออนุญาตใช้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า ไม่ว่าจะเป็นแง่มุมทางด้านเทคนิค การจัดการทั่วไป แผนธุรกิจ การปฏิบัติการอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมต่างๆ เช่น คุณสมบัติเครื่องรับ-ส่ง การวิเคราะห์ด้านความสอดคล้องทางคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Compatibility : EMC) หลังจากที่จัดสรรคลื่นความถี่สำเร็จ ต่อมาจะต้องพิจารณาเงื่อนไขใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมอื่นๆ (รูปต่อไปแสดงกระบวนการทั่วไปสำหรับการจัดสรรคลื่นความถี่และการพิจารณาใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่)

 
รูปแสดงกระบวนการทั่วไปสำหรับการจัดสรรคลื่นความถี่และการพิจารณาใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่

          กระบวนการที่แสดงดังรูปนำเสนอพื้นฐานการพิจารณาการจัดสรรคลื่นความถี่ทั้งใน แง่มุมด้านเทคนิคและการบริหารจัดการ จากรูปจะการประสานงานระหว่างหน่วยงานในองค์กรควรได้รับการออกแบบเพื่อสามารถ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรคลื่นความถี่ของชาติได้ อย่างมีประสิทธิภาพ และต้องสามารถขับเคลื่อนกลยุทธ์และภารกิจขององค์กรได้อย่างประสานสอดคล้อง กับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสามารถดำเนินการบริหารจัดการได้ในระดับสากล  

กระบวนการทำงานของหน่วยงานต่างๆ
          หน่วยงานบริหารคลื่นความถี่ต้องมีการประสานกันอย่างใกล้ชิดเนื่องจากสำนัก กำหนดและจัดสรรคลื่นความถี่จะต้องนำเอายุทธศาสตร์และกรอบนโยบายที่สำนัก นโยบายและแผนคลื่นความถี่จัดทำไว้มาแปลงสู่ภาคปฏิบัติ (Strategic to action) และหน่วยงานในระดับปฏิบัติการกันเอง (สำนักกำหนดและจัดสรรคลื่นความถี่และสำนักตรวจสอบการใช้คลื่นความถี่) ต้องมีการประสานกันอย่างแน่นแฟ้นเพราะก่อนที่สำนักกำหนดและจัดสรรคลื่นความ ถี่จะทำการจัดสรรคลื่นความถี่ให้แก่ผู้ใช้รายใดรายหนึ่งนั้น สำนักกำหนดและจัดสรรคลื่นความถี่ต้องถามความเห็นจากสำนักตรวจสอบการใช้คลื่น ความถี่ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลการรบกวนของสัญญาณคลื่นความถี่ในย่านนั้นเสีย ก่อน รวมทั้งข้อมูลทางเทคนิคที่เกี่ยงข้องกับความสอดคล้องทางคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Compatibility : EMC) มาประกอบการพิจารณาให้ใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ต่อไป 

          สำนักกำหนดและจัดสรรคลื่นความถี่จะต้องประสานข้อมูลปัจจุบันให้กับสำนัก วิศวกรรมและเทคโนโลยีทราบถึงการอนุญาตให้ใช้ความถี่ผู้ใช้รายใหม่เพื่อการ เตรียมการตรวจสอบมาตรฐานอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมในย่านคลื่นความถี่ดังกล่าว ต่อไป

รูปต่อไปแสดงกระบวนการทำงานประสานสอดคล้องระหว่างหน่วยงาน

รูปแสดงกระบวนการทำงานประสานสอดคล้องระหว่างหน่วยงาน

สรุป
          คลื่นความถี่วิทยุเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ ซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด หากไม่มีการบริหารการจัดสรรความถี่ที่ดีก็จะทำให้คลื่นความถี่ไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้ใช้ในประเทศ  วัตถุประสงค์หลักของการบริหารคลื่นความถี่ (Spectrum Management) นั้นเพื่อเป็นการทำให้คลื่นความถี่มีคุณค่าสูงสุดต่อประชาชนและประเทศโดยรวม การแปลงคลื่นความถี่ให้มี “คุณค่า” สามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่ การใช้คลื่นความถี่ในรูปของการบริการเพื่อการพานิชย์ ซึ่งหมายถึง การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ และการสร้างคุณค่าโดยใช้คลื่นความถี่ในการสนับสนุน และส่งเสริมความสัมฤทธิ์ผลในด้านสังคมและวัฒนธรรม ดังนั้นการจัดสรรคลื่นความถี่ (Spectrum assignment) ที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้การใช้คลื่นความถี่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของชาติ อย่างสมดุลกัน

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
คู่มือการบริหารความถี่แห่งชาติ (Handbook of National Spectrum Management 2005) ที่จัดทำโดย Radiocommunication Group 1, ITU-R, 2005.

หมายเลขบันทึก: 452183เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2011 10:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2012 10:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท