คาบที่ ๑ ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี


            วันนี้เป็นวันที่มีความสุข  เพราะประสบผลสำเร็จในการเรียนการสอน  ทั้งของ ม.๕  และ ม.๒  ซึ่งใน ม. ๕ นั้นนาน ๆ ครั้งที่การเรียนการสอนจะประสบผลสำเร็จ เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้ที่ดี มีความสนุกสนานครึกครื้น นักเรียนแย่งชิงกันตอบ   นักเรียนสนุก  ครูสนุกและเหนื่อย
 

 

มูลเหตุและแรงจูงใจ     วันนี้ ม.๕ ต้องขึ้นหน่วยการเรียนรู้ใหม่คือ ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดกกัณฑ์มัทรี    ครูมีความมุ่งมั่นว่า ชั่วโมงนี้จะต้องออกแบบกิจกรรมที่เด็กมีส่วนร่วม ครูต้องการตรวจสอบความรู้ที่คงทนของนักเรียน  ซึ่งนักเรียน ม.๔  ได้เรียนมหาเวสสันดรชาดกมาทั้ง ๑๓ กัณฑ์แล้ว 
 

 

การเตรียมการ    ครูทบทวนความรู้ และ เตรียมประเด็นเนื้อหาที่จะให้นักเรียนแสดงความรู้เดิม
 

 

กิจกรรมการเรียนรู้  
๑.   ครูแจ้งหน่วยการเรียนรู้  กิจกรรมในการเรียนรู้  และการประเมินผล ในคาบนี้ให้นักเรียนได้รับทราบ  “ชั่วโมงนี้ ครูเก็บคะแนน ๒ คะแนน จากการแสดงความรู้เดิมในชั้น ม.๔ให้นักเรียนแสดงความรู้โดยยกมือแล้วพูดอธิบาย”

 

๒.   ครูเขียนเลขที่และประเด็นต่างๆ บนกระดาน  ใช้คำพูดชวนเชิญให้นักเรียนตอบ
“ใครมีความรู้เรื่องอะไร  ประเด็นไหนบอกมา”  

 

-“ชาดก  คืออะไร  ใครได้ยกมือ”   

 

เมื่อมีผู้ตอบ/บอกได้ครูก็ทำเครื่องหมายถูกที่หน้าเลขที่ของนักเรียน

 

- “ทศชาติ มีอะไรบ้าง”  ชาติที่๑    ชาติที่ ๒  ชาติที่...

 

   ไม่ต้องเรียงลำดับก็ได้ นักเรียนตอบชาติไหนได้ก่อน ให้คะแนน  ไล่ไปตามลำดับ 
-“พร ๑๐ ประการที่นางผุสดีขอจากพระอินทร์มีอะไรบ้างบอกมาคนละ ๑ ข้อ” 

 

-“มหาเวสสันดร  ๑๓ กัณฑ์  มีกัณฑ์อะไรบ้าง” บอกมา...

 

-“บุคคลในมหาเวสสันดรชาดกมีใครบ้าง”

 

-“เมืองที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้มีเมืองอะไรบ้าง”

 

-“ทำไมชูชกต้องมาขอสองกุมาร”  

 

-“ทำไมนางอมิตตดาต้องการให้ชูชกมาขอสองกุมาร”

 

-“ทำไมพระเวสสันดรจึงให้ทาน”

 

-“ปัจจัยนาคคือ...”

 

-“โบกขรพรรษคือ...”

 

-“เรื่องนี้แต่งด้วยคำประพันธ์ชนิดใด”
 
๓.   พยายามชี้ให้นักเรียนได้ตอบอย่างทั่วถึง คำถามใดที่นักเรียนที่ยังไม่ได้แต้มไม่ตอบเปิดโอกาสให้นักเรียนที่ได้แต้มคะแนนแล้วตอบซ้ำได้

 

๔.  ครูตรวจดูว่าใครบ้างยังไม่ได้ตอบ  พยายามกระตุ้นให้กำลังใจ  ให้นักเรียนได้พยายาม นึก คิด  หรือถามเพื่อนเพื่อจะได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม

 

๕.  ครูบันทึกคะแนน  กล่าวชื่นชมการให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
 
 
บรรยากาศในการเรียนรู้    จากการสังเกตพบว่า
๑.   นักเรียนทุกคนให้ความร่วมมือด้วยดี ต่างแย่งชิงกันตอบ  นักเรียนที่ไม่รู้ก็พยายามเปิดอ่านบทวิเคราะห์เพื่อหาคำตอบ  บ้างก็ถามเพื่อน หรือคอยเก็บคำพูดของเพื่อนมาตอบ  คนที่ตอบได้แล้วก็พยายามยกมือให้เพื่อนตอบ ให้คำตอบแก่เพื่อน

 

๒.  สีหน้าแววตามีแต่ความสนุกสนาน ไม่เบื่อหน่าย

 

๓.  กิจกรรมดำเนินไปตลอดชั่วโมงเรียน
หมายเลขบันทึก: 451970เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2011 17:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:54 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท