“คิดบวก” วิถีโรแมนติกท่ามกลางโลกความจริงที่ทุกข์ทนโหดร้าย


“คิดบวก” จึงเป็นวิถีแห่งการยอมรับอย่างหน้าชื่นตาบานว่า มนุษย์ไม่อาจควบคุมโลกงดงามใบนี้ให้อยู่ในกรอบที่จิตใจคับแคบของเราปรารถนาให้เป็น ทางออกที่ดีที่สุด คือ การตื่นรู้ที่จะสัมผัสทุกส่วนสัดโค้งเว้าของจักรวาลด้วยมุมมองที่หลากหลายละเอียดลึก ไม่ด่วนตัดสินเลวดีแบบฉาบฉวยหยาบกระด้าง

โดย เจริญชัย ไชยไพบูลย์วงศ์

(www.siamintelligence.com)

 



ความเครียด เปรียบประดุจ
คำสาปแช่งลี้ลับของพระเจ้าที่มีต่ออารยธรรมมนุษย์ในศตวรรษที่ 21
นอกจากเป็นจุดเริ่มต้นของมะเร็งและโรคหัวใจที่ร้ายแรงแล้ว
ยังส่งผลให้มนุษย์แปรเปลี่ยนเป็นคนอ่อนแอทุกข์โศก ไม่กล้าเผชิญโลกความจริง
ไร้ซึ่งความทะเยอทะยานเพื่อสร้างสรรค์ผลงานยิ่งใหญ่ให้สมกับที่ถือกำเนิด
เกิดมา


“คิดบวก (Positive Thinking)”
นับเป็นปรัชญาใหม่ที่ได้รับการประดิษฐ์สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นที่พึ่งทางใจ
ของมนุษยชาติ ในการรับมือความเครียดที่สับสนรุมเร้า
ท่ามกลางทุนนิยมโลกาภิวัตน์ซึ่งซับซ้อนฉ้อฉล
ขณะที่ศาสนาแบบพิธีกรรมยังคงจมปลักกับวันคืนเก่าก่อน
ไม่อาจปรับตัวให้เป็นแหล่งพักพิงได้เหมือนในอดีตที่ผ่านมา

 

ที่น่าเศร้าใจก็คือ
ปรัชญาคิดบวกที่เต็มไปด้วยศักยภาพในการพัฒนาเป็นความหวังครั้งใหม่ของมนุษย์
ในยุคนี้ ได้กลับกลายเป็นเครื่องมือของนักหลอกลวงบางกลุ่ม
ซึ่งแปรเปลี่ยนแนวคิดลึกซึ้งละเอียดอ่อนให้กลายเป็นสูตรสำเร็จที่มักง่ายใน
การเสพติด
ทำให้คนรุ่นใหม่ซึ่งรู้เท่าไม่ถึงการณ์ใช้เป็นข้ออ้างในการเกียจคร้านหลบหนี
โลก


การหมกมุ่นในตัวเองและการมองโลกในแง่ดีแบบคับแคบ
ในระยะสั้นย่อมทำให้ความเครียดในการปรับตัวเข้าสู่โลกสมัยใหม่ได้รับการผ่อน
คลายชั่วคราว โดยการกดทับไว้ในจิตใต้สำนึก
หากเมื่อเวลาผ่านไปความเครียดที่สะสมไว้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ได้รับการแก้ไข
อย่างถูกวิธี ก็ย่อมปะทุกลายเป็นปัญหาสังคม
ตั้งแต่โรคลักเล็กขโมยน้อยไปจนกระทั่งการฆ่าตัวตายเพื่อยุติชีวิตที่บัดซบ
โสมม ทิ้งไว้เพียงคราบน้ำตาของบิดามารดาที่หัวใจสลายแหลกลาญ


1. ความสร้างสรรค์ (Creativity) = ความหลากหลาย + สัมผัสตื่นรู้ + ปรับตัวต่อยอด




ความเครียดย่อมเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์รู้สึกว่าตนเองไม่สามารถควบคุมสถานการณ์
รอบตัวได้ โดยเฉพาะในโลกศตวรรษที่ 21 ซึ่งเต็มไปด้วยความหลากหลายซับซ้อน
ก็ย่อมทำให้มนุษย์มีความน่าจะเป็นของภาวะเคร่งเครียดสูงล้ำกว่ามนุษย์ในอดีต
มากมายยิ่ง


“คิดบวก” จึงเป็นวิถีแห่งการยอมรับอย่างหน้าชื่นตาบานว่า
มนุษย์ไม่อาจควบคุมโลกงดงามใบนี้ให้อยู่ในกรอบที่จิตใจคับแคบของเราปรารถนา
ให้เป็น ทางออกที่ดีที่สุด คือ
การตื่นรู้ที่จะสัมผัสทุกส่วนสัดโค้งเว้าของจักรวาลด้วยมุมมองที่หลากหลาย
ละเอียดลึก ไม่ด่วนตัดสินเลวดีแบบฉาบฉวยหยาบกระด้าง


สิ่งที่นักคิดแบบ Post-Modern ล้มเหลวก็คือ
การบูชาความหลากหลายว่าเป็นสุดยอดปรารถนาในตัวมันเอง
โดยลืมนึกไปว่าความหลากหลายที่มากเกินพอดี
ย่อมทำให้มนุษย์เปลี่ยวเหงาอย่างถึงที่สุดเพราะไม่สามารถสื่อสารกับเพื่อน
มนุษย์คนอื่นได้ถึงแก่นแท้ เนื่องจากคุณค่ารสนิยมที่มีร่วมกันได้ถูกทำลายลง


นักปรัชญาคิดบวก
จึงไม่ควรหลงทางในกับดักของการต่อต้านหรือบูชาความหลากหลายอย่างงมงาย
หากต้องเฉียบแหลมในการเชื่อมโยงความหลากหลายเพื่อสังเคราะห์เป็นความสร้าง
สรรค์ (Creativity)
ที่จะปลดปล่อยโลกนี้จากความตึงเครียดซึ่งเกิดจากความไร้ประสิทธิภาพในการ
บริหารจัดการความหลากหลาย
ขณะเดียวกันก็ต้องไม่ตกอยู่ใต้ลัทธิบูชาความหลากหลายที่ทำให้มนุษย์หมกมุ่น
พียงตัวเองเท่านั้น


Creative Economy ที่กำลังจะกลายเป็น “เศรษฐกิจแนวใหม่” ของประเทศไทย
จึงต้องเริ่มต้นจากปรัชญาการมองโลกแบบคิดบวก
เพื่อที่จะกล้าหาญในการเผชิญรับความไม่แน่นอนของชีวิต
เสพซ่านความสุขจากการลิ้มรสและเรียนรู้โลกที่เต็มไปด้วยความหลากหลาย
ในขณะเดียวกันก็ไม่หวาดหวั่นที่จะแสวงหาคุณค่าร่วมกับเพื่อนมนุษย์คนอื่น
ละเลิกหวาดระแวงว่าความคิดของตัวเราจะไปครอบงำและทำลายความหลากหลายของผู้
อื่น หรือความคิดของผู้อื่นจะมามีอิทธิพลเหนือความสร้างสรรค์ของตัวเรา


2. ล้มเหลวอย่างรวดเร็ว 100 ครั้ง = สำเร็จอย่างยั่งยืน 1 ครั้ง


ความสมบูรณ์แบบ (Perfectionism) ไม่เคยเกิดขึ้นจริงบนโลกใบนี้
การเฝ้ารอให้ทุกสิ่งพร้อมมูลแล้วจึงกล้าลงมือทำ
ย่อมเป็นเพียงความเพ้อฝันของคนคิดลบที่ขยาดกลัวที่จะต่อสู้ท้าทายกับความล้ม
เหลวนั่นเอง


ความบกพร่องของโลก นับเป็นโอกาสชั้นเลิศของคนคิดบวก
ซึ่งปรารถนาดีในการเติมเต็มคุณค่าให้มวลมนุษยชาติ
โดยมิพักต้องพรั่นพรึงว่าหยาดเหงื่อแรงงานที่ทุ่มเทลงไปจะกลายเป็นเพียงเศษ
ซากชำรุดแห่งประวัติศาสตร์


สิ่งที่น่ากลัวยิ่งกว่าความล้มเหลว ก็คือ การสูญสิ้น “ทรัพยากร”
สำหรับการล้มเหลวในครั้งต่อไป เพราะนั่นหมายความว่า การล้มเหลว 99
ครั้งที่ผ่านมา จะไม่สามารถต่อยอดไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ได้เลย


นักปรัชญาคิดบวกจึงต้องมีสายตากว้างไกลในการบริหารจัดการทรัพยากร
ตั้งแต่การชักจูงโน้มน้าวนักธุรกิจที่มีวิสัยทัศน์เพื่อสนับสนุนทุนรอนทาง
การเงิน การรังสรรค์ทีมงานอัจฉริยะ (Talent Ecology)
เพื่อแสวงหาบทเรียนจากความล้มเหลวแต่ละครั้ง
พลิกแพลงต่อยอดไปสู่กลยุทธ์แบบใหม่ที่สิ้นเปลืองทรัพยากรน้อยกว่าในการล้ม
เหลวครั้งถัดไป จนกระทั่งความสำเร็จผุดปรากฏขึ้นมาให้ชื่นอกชื่นใจ


3. ความรัก = Less is More = ที่ว่าง + เติมเต็ม


Kahlil Gibran มหากวีแห่งศตวรรษที่ 20 เคยกล่าวไว้ว่า


จงเติมถ้วยของกันและกัน แต่อย่าดื่มจากถ้วยเดียวกัน

จงให้ขนมปังแก่กัน แต่อย่ากัดกินจากก้อนเดียวกัน

จงร้องและเริงรำด้วยกัน และจงมีความบันเทิง

แต่ขอให้แต่ละคน ได้มีโอกาสอยู่โดดเดี่ยว

ดังเช่นสายพิณนั้น ต่างอยู่โดดเดี่ยว

แต่ว่าสั่นสะเทือนด้วยทำนองดนตรีเดียวกัน


มนุษย์เป็นสิ่งซับซ้อน เป็นสัตว์สังคมที่ชื่นชมยินดีที่ได้อยู่ร่วมกัน
หากทว่า มนุษย์ก็ปรารถนาเร่าร้อนในการเผยแสดงเอกลักษณ์เฉพาะตัว
โหยหาความเงียบสงบแห่งการครุ่นคิดเพียงลำพัง


นักปรัชญาคิดบวก จึงไม่ต้องแบกโลกเพียงผู้เดียว ไม่พึงเชื่อถือว่าโลกจะอยู่ไม่รอดหากไม่มีตัวเรา หากทว่าควรรักโลกอย่างที่โลกเป็น


ความตาย นับเป็นความรู้สึกที่หลอกหลอนมนุษยชาติล้ำลึก วิธีรับมือที่ดี
คือ การละทิ้งเรื่องราวไร้สาระ
เพื่อทุ่มเทให้กับการทำงานที่รักและอยู่กับคนที่รักอย่างหวานชื่นเข้มข้น
โดยไม่ต้องสำนึกเสียใจเมื่อโมงยามสุดท้ายของชีวิตได้เยี่ยมกรายเข้ามาอย่าง
มิทันเจริญสติภาวนา


มนุษย์ที่หลงใหลวิถีชีวิตแบบ “ชาล้นถ้วย”
ไม่ว่าจะเติมเต็มความรักอย่างถึงที่สุดเพียงใด
ก็ยังรู้สึกว่ามีสิ่งใดขาดหายตกพร่องไป
วิธีที่ดีกว่าในการรับมือกับความรักและความตายก็คือ ที่ว่างและการปล่อยวาง
เปรียบประดุจผลงานศิลปะชั้นเลิศ ที่ไม่จำเป็นต้องล้นเกินด้วยสีสันในทุกอณู
หากปล่อยให้ผู้เสพรับได้ตีความคำตอบที่หลงเหลือเพียงลำพัง
ในชายขอบมุมหนึ่งของจักรวาลที่สุขสงบลึก



Kafka ผู้ประพันธ์นวนิยายที่เขียนไม่จบ ดังเช่น The Trial, The Castleและ Amerika ก็กลับได้รับยกย่องว่าเป็น “1 ใน 3 นักเขียนที่ดีที่สุดแห่งศตวรรษที่ 20” ในขณะที่นักเขียนซึ่งมีผลงานดีเลิศและจบสมบูรณ์หลากหลายเล่ม กลับไม่ได้รับเกียรติที่ยิ่งใหญ่นี้


นวนิยายของ Kafka อาจเขียนไม่จบเพราะผู้เขียนเสียชีวิตในปี 1924
ขณะที่มีอายุเพียง 41 ปี หรือแท้จริงแล้ว
ผู้เขียนหยั่งรู้ว่านวนิยายหลากหลายเล่มนี้ไม่มีวันขีดเขียนให้จบสิ้นได้


ผู้อ่านจึงได้รับการปลดปล่อยให้ดื่มด่ำกับ “ความขาดห้วง” ของเรื่องเล่าที่ไม่รู้จบนี้เพียงลำพัง


การคิดบวก
ทำให้เราสามารถปล่อยวางให้สรรพสิ่งสามารถเติบโตตามแนวทางของมัน
ไม่ต้องกังวลว่างานที่ทำคั่งค้างในวันนี้
จะกลายเป็นความสูญเปล่าเมื่อผู้สร้างสรรค์ได้จากลาโลกนี้ไปตลอดกาล



หมายเลขบันทึก: 451944เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2011 14:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 20:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณทุกท่านที่ให้ "กำลังใจ" นะครับ

รู้สึกมีพลังไฟในการผลิตผลงานอย่างไม่หยุดยั้งเลยทีเดียวครับ

สวัสดีค่ะ

มาติดตามอ่านและมาเป็นกำลังใจให้ค่ะ ^_^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท