การเรียนรู้ตลอดชีวิต


การเรียนรู้ตลอดชีวิต

(Lifelong Learning)* 

 

 

                   แนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตในฐานะที่เป็นยุทธศาสตร์การศึกษา เกิดขึ้นเมื่อประมาณกว่า 30 ปีมาแล้ว ภายใต้ความพยายามของ OECD UNESCO และสภายุโรป (Council of Europe) เป็นการสนองต่อความบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีต ในขณะที่บุคคลเรียนรู้ตลอดเวลาที่ยังมีชีวิตอยู่ โอกาสทางการศึกษามีขีดจำกัดในช่วงเริ่มแรกของชีวิต ที่ครอบงำโครงการศึกษาที่เป็นทางการ (Formal Education) จึงมีความจำเป็นที่จะให้โอกาสที่สองแก่คนที่ไม่ได้รับโอกาสทางการศึกษาในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่น

                   การเรียนรู้ตลอดชีวิตไม่เพียงหมายถึงการศึกษาผู้ใหญ่ (Adult Education) เท่านั้น แต่ยังครอบคลุมการเรียนรู้ทุกรูปแบบตลอดช่วงชีวิตอีกด้วย บทความชิ้นนี้นำเสนอความหมายเชิงนโยบายที่ตรงประเด็นของแนวคิด “การเรียนรู้ตลอดชีวิต”

 

อะไรคือคุณลักษณะพิเศษของแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต 

                   การจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตต้องมีมุมมองแบบองค์รวม (Comprehensive View) ที่ครอบคลุมกิจกรรมการเรียนรู้ทุกด้าน โดยมีเป้าหมายที่จะปรับปรุงความรู้และความสามารถในการแข่งขันของบุคคล ที่ปรารถนาเข้าร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้คุณลักษณะ 4 ประการของแนวคิดการเรียนรู้ ได้แก่

                        1. มีมุมมองอย่างเป็นระบบ สิ่งนี้คือคุณลักษณะที่พิเศษที่สุดของการเรียนรู้ตลอดชีวิต กรอบแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของอุปสงค์ (Demand) และอุปทาน (Supply) ของโอกาสการเรียนรู้      ที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบที่มีความเชื่อมโยงกัน ซึ่งครอบคลุมวงจรชีวิตทั้งหมด และประกอบด้วยรูปแบบ   ต่าง ๆ ของการเรียนรู้ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

                        2.  มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีการเปลี่ยนจากมุ่งเน้นด้านอุปทาน (Supply) เป็นศูนย์กลาง ในรูปแบบการจัดการศึกษาเชิงสถาบันที่เป็นทางการ ไปสู่ด้านอุปสงค์ (Demand) ที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนเป็นหลัก

 

 

 

                        3. มีแรงจูงใจที่จะเรียน ซึ่งเป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ที่มีความต่อเนื่องตลอดชีวิต ทั้งนี้ต้องมุ่งเน้นที่จะพัฒนาขีดความสามารถในการเรียนรู้ที่จะเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้ที่ตนเองเป็น ผู้ชี้นำ

                        4. มีวัตถุประสงค์ของนโยบายการศึกษาที่หลากหลาย มุมมองวงจรชีวิตที่ให้ความสำคัญกับเป้าหมายการศึกษาที่หลากหลาย อาทิ การพัฒนาบุคลิกภาพ การพัฒนาความรู้ วัตถุประสงค์ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และการจัดลำดับความสำคัญของวัตถุประสงค์เหล่านี้ อาจเปลี่ยนไปใน  แต่ละช่วงชีวิตของคน ๆ หนึ่ง

 

ทำไมการเรียนรู้ตลอดชีวิตจึงมีความสำคัญ 

                   พลังผลักดันที่สำคัญทางสังคม เศรษฐกิจจำนวนมากสนับสนุนแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตกระแสโลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงธรรมชาติของการทำงานและตลาดแรงงานและโครงสร้างอายุประชากร เป็นแรงผลักดันที่สำคัญต่อความจำเป็นที่จะต้องมีการยกระดับทักษะการทำงานและการใช้ชีวิตอย่างต่อเนื่อง ความต้องการก็เพื่อ Treshold ที่ยกระดับของทักษะเช่นเดียงกับการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นในธรรมชาติของทักษะ แรงกระตุ้นของกิจการเพื่อให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้นส่งผลต่อสภาพการทำงาน มีแนวโน้มที่จะมีการจ้างงานระยะสั้นในตลาดสินค้าที่เปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการของตลาดได้ง่าย และวัฎจักรสินค้าที่สั้นลง งานอาชีพลดลงและบุคคลประสบกับความเปลี่ยนแปลงในเรื่องงานดีขึ้นในช่วงชีวิตทำงาน

                   การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอย่างกว่างขวางกำลังคุกคามขั้วใหม่ระหว่างสิ่งที่ความรู้มีและสิ่งที่ความรู้ไม่มี ในทางกลับกันสิ่งนี้อาจคุกคามรากฐานของประชาธิปไตยด้วยโอกาสในการฝึกอบรมในภายหลังนั้น ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของแต่ละบุคคลที่ข้ามาสู่การจ้างงาน และโอกาสการเรียนรู้เปิดกว้างแก่ ผู้ว่างงาน ลูกจ้างในสถานประกอบการขนาดเล็ก และกลุ่มผู้ด้อยโอกาสในสังคมกลับยิ่งน้อยกว่าลูกจ้างในสถานประกอบการขนาดใหญ่มาก ความไม่เท่าเทียมกันนี้ (Disparities) สะท้อนช่องว่างรายได้ระหว่างผู้มีวุฒิการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย และผู้ที่ไม่มีวุฒิดังกล่าว และช่องว่างนั้นยิ่งกว้างขึ้นเรื่อย ๆ

                   การลงทุนในการศึกษาแะการฝึกอบรมที่จะสนองต่อยุทธศาสตร์การเรียนรู้ตลอดชีวิตก็เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางสังคมและเศรษฐกิจโดยก่อให้เกิดประโยชน์ส่วนบุคคลผู้ประกอบการ และเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาว สำหรับบุคคลแล้วการเรียนรู้ตลอดชีวิตมุ่งเน้นที่การสร้างสรรค์ การริเริ่ม และความรับผิดชอบ ซึ่งส่งผลให้เกิดการตอบสนองต่อตนเอง งานที่ดีขึ้นรายได้ที่เพิ่มขึ้น นวัตกรรมใหม่ ๆ และเพิ่มความสามารถในการผลิตมากขึ้นด้วย ทักษะและศักยภาพของแรงงานเป็นปัจจัยหลักในผลงานและความสำเร็จของสถานประกอบการ สำหรับเศรษฐกิจ  แล้วมีความสัมพันธ์ที่สนับสนุนกันระหว่างการได้รับการศึกษาและการเติบโตทางเศรษฐกิจอะไรคือผลเชิงนโยบายของแนวคิดนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าสู่และผลลัพธ์ของการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น นอกเหนือจากสิ่งที่เป็นทางการ ดังนั้นกิจกรรมการเรียนรู้ของวัยรุ่นและผู้ใหญ่จึงอยู่นอกเหนือขอบเขตที่มีการบันทึกไว้ นอกจากการวัดเชิงปริมาณแล้วประเด็นเชิงคุณภาพและความก้าวหน้าของการเรียนรู้ตลอดชีวิต ต้องมีการพิสูจน์ให้เห็นว่าระบบโครงสร้างเชิงสถาบัน เชิงกฎหมาย และเชิงนโยบาย เอื้อต่อการสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้ดีอย่างไร

 

แผนภูมิที่ 1 การมีส่วนร่วมในการศึกษาและการฝึกอบรมในช่วงชีวิตของประชากร ในกลุ่มประเทศ OECD

                   ร้อยละของประชากรที่เข้าศึกษาแบบเป็นทางการ (อายุระหว่าง 3 – 29 ปี )  และเข้าร่วมในการศึกษาผู้ใหญ่และการฝึกอบรม (อายุระหว่าง 16 – 66) ปี ใน 18 ประเทศ, 1998

 

 

 

 

 

ออสเตรเลีย เบลเยี่ยม แคนาดา สาธารณรัฐเชค เดนมาร์ก ฟินแลนด์ เยอรมัน ฮังการี ไอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ โปแลนด์ โปรตุเกส สวีเดน สวิสเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา

ที่มา: OECD Education Database and International Adult Literacy Survey Database

 

                   แผนภูมิที่ 1 แสดงให้เห็นการเข้าสู่การศึกษาที่เป็นทางการ และการมีส่วนร่วมในการศึกษาผู้ใหญ่และการฝึกอบรม (การมีส่วนร่วมบางครั้งของผู้ที่มีอายุระหว่าง 16 - 65 ปีก็มีช่วงระยะเวลากว่า 12 เดือน) แผนภูมิดังกล่าวชี้ให้เห็นผลของความพยายามของ 18 ประเทศในกลุ่ม OECD ที่ได้ทุ่มเทมาตลอด 3 ทศวรรษ ในการจัดการศึกษาและการฝึกอบรม ประชากรเกือบทั้งหมดจบการศึกษาระดับมัธยม ในจำนวนนี้ร้อยละ 50 เข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา และประชากรที่เป็นผู้ใหญ่จำนวนมากเข้าร่วมกับการศึกษาที่ไม่เป็นทางการ

                   อย่างไรก็ตามยังคงมีช่องว่างเกิดขึ้น จากการเก็บข้อมูลในช่วง 12 เดือนที่แสดงในแผนภูมิที่ 1  ชี้ให้เห็นว่า 2 ใน 3 ของประชากรที่เป็นผู้ใหญ่ในประเทศส่วนใหญ่ของ OECD ไม่ได้เข้าร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดขึ้น ช่องว่างใหญ่ที่สุดอยู่ที่ปลาย 2 ด้าน ได้แก่ เด็กเล็กและผู้ใหญ่ที่สูงวัย

                   ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศในกลุ่ม OECD นั้น น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของเด็กเล็กเข้าร่วมโครงการก่อนวัยเรียนก่อนวัย 4 ขวบ เด็กก่อนวัย 3 ขวบที่เข้ามาร่วมก็แตกต่างกันมากในแต่ละประเทศ ประเทศส่วนใหญ่ไม่สามารถจัดการศึกษาในวัยเด็กเล็กได้อย่างเหมาะสม ซึ่งยังคงต้องปรับปรุงการเข้าถึงบริการด้านการศึกษาเหล่านี้ รวมถึงการยกระดับคุณภาพ และการกำหนดแนวทางที่โครงการก่อนวัยเรียนจะอยู่ในรูปแบบของหุ้นส่วนกับครอบครัวของเด็กเหล่านี้

                   สำหรับประชากรผู้ใหญ่นอกระบบการศึกษา มีปัญหาใหญ่ในเรื่องการขาดทักษะและความสามารถของแรงงานในกลุ่มประเทศ OECD จากการสำรวจของ International Adult Literacy Suevey (IALS) 1 ใน 4 หรืออาจมากกว่านี้ของประชากรที่เป็นผู้ใหญ่ มีทักษะอยู่ในระดับต่ำสุด การเข้าถึงการฝึกอบรมเพื่อทำงานมีแนวโน้มเกิดความไม่เท่าเทียมกันในการสำเร็จการศึกษา ยิ่งกว่านั้นระบบการศึกษาที่เป็นทางการ ถ้าไม่สนับสนุนก็ไม่เอื้อต่อการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของวัยแรงงานและผู้สูงอายุ

                   มีปัญหาเกิดขึ้นในการจัดการศึกษาระดับมัธยมและอุดมศึกษาเช่นเดียวดัน ที่ระดับมัธยมนั้นกลับไม่มีความก้าวหน้าในรอบ 30 ปีที่ผ่านมาในผลการยกระดับการศึกษา ในระดับอุดมศึกษาการมีส่วนร่วมของคนหนุ่มสาวในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน ตั้งแต่ร้อยละ15 ไปจนถึงร้อยละ 30 อย่างไรก็ตามหลายประเทศตื่นตัวที่จะขยายการมีส่วนร่วมในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา

                   จากข้อมูลในแผนภูมิที่ 1 สามารถแบ่งประเทศต่างๆ ในกลุ่ม OECD ออกได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มประเทศ Nordic ที่มีการจัดการเรียนรู้ได้ยอดเยี่ยม กลุ่มประเทศคานาดา สาธารณรัฐเช็ก เยอรมัน เนเธอร์แลนด์ และนิวซีแลนด์ ที่จัดการเรียนรู้ได้ดีแต่ยังคงมีช่องว่าง กลุ่มประเทศออสเตรเลีย สวิสเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ที่จัดการเรียนรู้ได้ไม่ดีนัก และสุดท้ายกลุ่มประเทศไอร์แลนด์ ฮังการี โปรตุเกส และโปแลนด์ ที่จัดการเรียนรู้ใด้แย่มาก

 

จะนำยุทธศาสตร์การเรียนรู้ตลอดชีวิตไปสู่การปฏิบัติได้อย่างไร

                   การเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่มนั้นเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างยิ่ง ที่จะบรรลุผลได้ก็ต้องสร้างความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องและต้องใช้เวลายาวนาน ในขณะที่แนวคิดนี้ต้องได้รับการสนับสนุนและดำเนินการอย่างจริงจังจากฝ่ายการเมือง ที่จะต้องบรรจุเป็นนโยบายหลักของรัฐบาล มีหลักฐานข้อเท็จจริงน้อยมากที่ชี้ให้เห็นว่ามีความจริงใจที่จะสร้างการเรียนรู้ที่เป็นระบบ กรอบแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้ให้ทิศทางที่ชัดเจนในการปฏิรูปนโยบาย กรอบแนวคิดนี้เสนอให้มีการดำเนินการที่เป็นระบบใน 5 เรื่อง ดังนี้

                        1.  ปรับปรุงการเข้าถึง คุณภาพ และความเป็นธรรมในการเรียนรู้

                        2.  สร้างรากฐานที่มั่นคงด้านทักษะสำหรับทุกคน

                        3.  ให้ความสำคัญกับทุกรูปแบบของการเรียนรู้ ไม่เพียงเฉพาะการศึกษาที่เป็นทางการ  เท่านั้น

                        4.  จัดสรรทรัพยากร และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรจากทุกภาคส่วน สนับสนุนการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นทุกช่วงเวลาในชีวิต

                        5.  ความร่วมมือของทุกภาคส่วน

 

ปรับปรุงการเข้าถึง คุณภาพ และความเป็นธรรมในการเรียนรู้

              ช่องว่างการเข้าถึงเป็นปัญหาหลักโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเด็กเล็กและโอกาสการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ ซึ่งรวมถึงแนวคิดคุณภาพของโอกาสการเรียนรู้ ความหลากหลายของการจัดการเรียนรู้ ที่ระดับมัธยมนั้นการเพิ่มความหลากหลายและทางเลือกของวิธีการเรียนรู้ สามารถช่วยเพิ่มโอกาสสำเร็จการศึกษา และเยียวยาความบกพร่องจากชั้นประถมได้  ความหลากหลายที่เพิ่มขึ้นนี้ยังช่วยสร้างแรงจูงใจในการเรียนของเยาวชนอีกด้วย ซึ่งเป็นจุดพลิกผันสำคัญต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่ระดับอุดมศึกษาการเข้าศึกษาต่อจะเพิ่มขึ้น หากความหลากหลายของระบบอุดมศึกษามีเพิ่มขึ้น ความหลากหลายที่เพิ่มขึ้นนี้เกิดได้หลายวิธี: จัดการศึกษาที่ไม่จำกัดเฉพาะในมหาวิทยาลัย จัดหลักสูตรระดับปริญญาระยะสั้น สร้างมหาวิทยาลัยวิชาชีพ สนับสนุนมหาวิทยาลัยเอกชน ขายาโอกาสการเรียนรู้ทางไกล และจัดหลักสูตรให้มีหลายระดับ

                   เป้าหมายของการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อทุกคนนั้น ให้ความสำคัญกับการกระจายโอกาสอย่างเท่าเทียมกันในการเรียนรู้ การขยายโอกาสทางการศึกษาเพียงอย่างเดียวไม่ได้ช่วยลดความแตกต่างของอัตราการมีส่วนร่วมของกลุ่มที่มีความแตกต่างทางสังคมเศรษฐกิจโดยอัตโนมัติ มีปัจจัยที่เป็นระบบอย่างมีนัยสำคัญของความไม่เท่าเทียมกันนี้ รวมไปถึงความเสี่ยงจากช่องว่างของโลกดิจิตอล(Digital Divide) และวัฏจักรแห่งความเลวร้าย (Vicious Circle) บุคคลที่มีการศึกษาดีเป็นกลุ่มที่ได้รับประโยชน์จากการเรียนรู้ในช่วงชีวิตของพวกเขา

                   ความไม่เท่าเทียมกันเหล่านี้ต้องแก้ไขโดยเร่งด่วน การให้แต่ละคนมีการศึกษาดีนั้นเป็นสิ่งจำเป็นประการหนึ่ง ในพื้นที่ทางการศึกษาของเด็กเล็ก ภาครัฐต้องเข้ามามีบทบาทสำคัญเพื่อเป็นหลักประกันว่าเด็กเหล่านี้จะมีพื้นฐานที่ดีในการเจ้าสู่การศึกษาระดับถัดๆ ไปที่จะไม่กลายเป็นกลุ่มด้อยโอกาสต่อไป สำหรับผู้ใหญ่ในวัยแรงงานนโยบายที่เกี่ยวข้องต้องไม่มุ่งเน้นแต่เพียงโครงการฝึกอบรมพนักงานเท่านั้น แต่ต้องให้ความสำคัญกับงานและสถานประกอบการด้วย ในแนวทางที่สร้างบรรยากาศให้เกิดการพัฒนาความสามารถและการเรียนรู้ สถานที่ทำงานที่มีบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดีสร้างได้หลายวิธี: โครงสร้างที่มีการกระจายอำนาจและมีข่วงชั้นการบังคับบัญชาน้อย ในรูปขององค์กรที่แบนราบ (Flat Organisation) สนับสนุนให้พนักงานสามารถสะท้อนประสบการณ์ของตนได้ การใช้การผลิตเป็นทีม (Team-based Production) และเปิดโอกาสให้พนักงานให้ความเห็นและข้อเสนอแนะต่อปัญหาใหม่ๆ ในการผลิต ยุทธศาสตร์การเรียนรู้ตลอดชีวิตก่อให้เกิดความเป็นธรรม โดยลดอุปสรรคต่างๆ เพื่อเปิดโอกาสกว้างในการเรียนรู้ ยุทธศาสตร์นี้มีบทบาทสำคัญในการทำลายวงจรแห่งการเสียเปรียบ และเพิ่มการสนับสนุนความเข้มแข็งทางสังคม การปรับปรุงด้านความเป็นธรรมและลดต้นทุนระยะยาว ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และยังช่วยขยายการเรียนรู้ตลอดชีวิตสู่ทุกคนอีกด้วย นโยบายนี้พุ่งเป้าไปที่การเรียนรู้ตลอดชีวิต สร้างเงื่อนไขสำคัญที่ก่อให้เกิดการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ควบคู่ไปกับการสนับสนุนนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ตลาดแรงงาน สังคม และสิ่งแวดล้อม

 

สร้างรากฐานที่มั่นคงด้านทักษะสำหรับทุกคน

                   แนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตเสนอกระบวนทัศน์ที่กว้างขวางด้านการเรียนรู้ที่ลึกซึ้ง ที่ต้องการ  ทั้งการเข้าถึงที่เปิดกว้างต่อบริการการศึกษา แต่ยังต้องปรับปรุงแรงจูงใจของกลุ่มคนหนุ่มสาวเยาวชนที่จะเรียนรู้ และมีขีดความสามารถที่จะเรียนโดยอิสระ ทักษะขั้นพื้นฐาน เป็นสิ่งจำเป็นต่อทั้งเยาวชนและผู้ใหญ่

                   แรงจูงใจที่จะเรียนสร้างขึ้นได้หลายวิธีในระบบการศึกษาที่เป็นทางการ: โดยเปิดโอกาสกว้างสำหรับการเรียนรู้ชั้นมัธยมปลายในที่ทำงาน โดยโครงการอาชีวศึกษาที่หลากหลายและโอกาสรวมการเรียนในห้องเรียนกับการเรียนในที่ทำงาน โดยเสริมสร้างความร่วมมือกับสถาบันต่างๆ นอกโรงเรียน โดยการสร้างบรรยากาศการเรียนที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Learner-centered Pedagogy) โดยทำให้นักเรียนรู้สึก สนุกสนาน และมีความมั่นใจในโรงเรียน ผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่จะได้แรงจูงใจเป็นอย่างมากอย่างมากจากการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับประสบการณ์ในอดีตและชีวิตของพวกเขา เพื่อให้สอดคล้องกับปัญหาที่แท้จริง ทางเลือก และสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้ ซึ่งต้องพัฒนาวิธีการให้ความรู้ที่ปรับให้เข้ากับสิ่งที่เขาต้องการ สิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ ความยืดหยุ่นของขั้นตอนต่างๆ ซึ่งต้องปรับให้เข้ากับสภาพของผู้เรียนแต่ละคน

 

ให้ความสำคัญกับทุกรูปแบบของการเรียนรู้

                   การเรียนรู้มีหลายรูปแบบและเกิดขึ้นได้หลายวิธี จากหลักสูตรที่เป็นทางการในโรงเรียนหรือวิทยาลัย ไปจนถึงประเภทต่างๆ ของประสบการณ์ในครอบครัว ชุมชน และที่ทำงาน รูปแบบต่างๆ ของการเรียนรู้ต้องรวบรวมขึ้นมาและได้รับการพิจารณา โดยสอดคล้องกับเนื้อหาสาระ คุณภาพ และผลลัพธ์ มากกว่าเรื่องสถานที่และรูปแบบ การให้ความสำคัญต่อสิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดแรงกระตุ้นทางจิตวิทยาและเศรษฐกิจที่จะเข้าร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ ประการแรก ให้ความสำคัญยิ่งขึ้นกับการเรียนระบบที่มีการให้วุฒิ ซึ่งวุฒิบัตรเหล่านี้เป็นใบเบิกทางในการเรียนต่อและการทำงาน ประการที่สอง เส้นทางที่ดีขึ้นเป็นสิ่งที่ต้องการของสาขาการศึกษาต่างๆ เพื่อหลีกเลี่ยงทางตันในการศึกษา ประการที่สาม ผู้เรียนต้องการเครื่องมือนำทางที่ดีขึ้น ที่ให้เขาได้รับข้อมูลข่าวสารและการแนะแนวที่จำเป็น ในการได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากโอกาสการเรียนรู้ที่กว้างขวางขึ้น

                   ประการแรก คือ การให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ที่ไม่เป็นทางการ ที่สามารถลดต้นทุนการเรียนรู้ได้ โดยช่วยลดระยะเวลาการศึกษาและเพิ่มผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ  ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการมาตรฐานและผลลัพธ์ของการเรียนรู้ การเรียนรู้ดังกล่าวต้องสามารถประเมินได้ รวมถึงข้อตกลงด้านเทคนิคการประเมิน วิธีการและการให้หน่วยกิต การพัฒนาเหล่านี้ต้องอาศัยความมุ่งมั่นที่กระตือรือร้นและเข้าร่วมอย่างจริงจังของผู้มีส่วนำด้ส่วนเสียที่กว้างขวาง ในภาคส่วนต่างๆ ทางการศึกษา รวมทั้งพนักงานและสหภาพ

                   ประการที่สอง คือ การวางรากฐานที่ดีกว่าในการเรียนรู้นอกเหนือจากการศึกษาภาคบังคับและระดับมัธยมปลาย และขจัดทางตันทางการศึกษา (Educational Dead-ends) นั่นคือ การจัดการกับอุปสรรคสำคัญๆ ของการเสริมสร้างความเข้มแข็งการเชื่อมโยงต่างๆ: ระหว่างการศึกษาทั่วไปกับอาชีวศึกษาในระดับมัธยมปลาย / ระหว่างระดับมัธยมปลายก อาชีวศึกษา กับระดับอุดมศึกษา / และระหว่างสถาบันที่ไม่ใช่มหาวิทยาลัยกับมหาวิทยาลัยในระดับอุดมศึกษา

                   ประการที่สาม คือ การพัฒนาการศึกษาที่มีประสิทธิผลมากขึ้น และระบบข้อมูลข่าวสารการจ้างงานและการแนะแนว ที่ช่วยนักเรียนให้พบหนทางของตนเองควบคู่ไปกับเส้นทางการเรียน เมื่อก่อนนี้ประเทศในกลุ่ม OECD ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้ มีการโจมตีในเรื่องวัตถุประสงค์ คุณสมบัติของคนในวงการ และวิธีการจัดการเรียนการสอน ในขณะที่มีจุดอ่อนและช่องว่างอย่างชัดเจนในการให้บริการแก่ผู้ใหญ่

 

จัดสรรทรัพยากร และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรจากทุกภาคส่วน

                   หน่วยราชการที่ปรารถนาจะนำยุทธศาสตร์การเรียนรู้ตลอดชีวิตมาใช้ ต้องคำนึงถึงทรัพยากร 3 มิติ ประการแรก ความเพียงพอ มีทรัพยากรเพียงพอหรือไม่ที่จะสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตประเภทต่างๆ ในตลอดแต่ละช่วงเวลาของอายุ ประการที่สอง ประสิทธิภาพ ทรัพยากรได้ถูกใช้ไปอย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ประการที่สาม การสนับสนุนงบประมาณ หากต้องใช้ทรัพยากรเพิ่มมากขึ้น ใครเป็นผู้จ่ายเพื่อทรัพยากรเหล่านี้ และต้นทุนและผลประโยชน์ได้กระจายไปเท่าเทียมกันหรือไม่

                   การเข้าร่วมในการเรียนรู้ที่สูงขึ้น หมายถึง ต้องมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นด้วย ขึ้นอยู่กับต้นทุนต่อหน่วย ค่าใช้จ่ายส่วนเกิน ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และอื่นๆ แม้จะมีความลำบากในการประมาณการค่าใช้จ่ายสำหรับแต่ละกลุ่มเป้าหมาย แต่ทุกกลุ่มควรได้รับการเสริมสร้างความสามารถเช่นเดียวกัน

                   ประเทศในกลุ่ม OECD ใช้หลายวิธีการในการลดต้นทุนการจัดการและปรับปรุงเรียนรู้ อาทิ การลดค่าใช้จ่ายในการสอนและบุคลากร เพื่อทำให้โครงสร้างการจัดการสมเหตุสมผล เพื่อใช้เทคโนโลยี  สารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technologies: ICTs) เพิ่มมากขึ้น และเพื่อดึงภาคเอกชนเข้ามารับผิดชอบให้มากขึ้น ประเทศต่างๆ มอง ICTs ว่าเป็นหนทางที่มีประสิทธิผลสูงสุด ในการเพิ่มและขยายการเข้าร่วมในการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในขณะที่สามารถลดต้นทุนอยุ่ในระดับที่พอรับภาระได้

                   หลายประเทศใช้บทบาทของภาคเอกชนและการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น ในการสร้างโอกาสการเรียนรู้ เป็นวิธีที่ปรับปรุงประสิทธิภาพและขีดความสามารถ ในช่วงทศวรรษที่ 1990 การเข้าร่วมรับภาระในการจัดการศึกษาของภาคเอกชนเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีแรงจูงใจอันแรงกล้าในการลงทุนในต้นทุนมนุษย์ ทั้งที่เป็นบุคคลและกิจการ อย่างไรก็ตามข้อจำกัดของตลาดทุนและการจัดการเชิงสถาบันก็ค่อยๆ สลายแรงจูงใจนี้ แต่ละประเทศต่างก็ทดลองใช้กลไกทางการเงินเพื่อแก้ไขอุปสรรคเหล่านี้ ในการกระตุ้นการลงทุนทางการศึกษาของภาคเอกชน ในระดับอุดมศึกษามีกลไกใหม่ๆจำนวนมากที่ให้ความมั่นใจกับผู้เรียนและผู้ให้การสนับสนุน สำหรับผู้ใหญ่หลายประเทศกำลังทดลองตั้งสถาบันที่มีการร่วมรับภาระค่าใช้จ่ายในการลงทุนเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ระหว่างภาคเอกชน แรงงาน และภาครัฐ

 

ความร่วมมือของทุกภาคส่วน

                   เนื่องจากการเรียนรู้ตลอดชีวิตเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวนมาก นอกจากกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องแล้ว ผู้เรียนและครอบครัวของเขา สถาบันการศึกษา และภาคสังคมต่างๆ การประสานงานในการพัฒนานโยบายและนำนโยบายไปปฏิบัติเป็นสิ่งจำเป็นต่อความสำเร็จ จากการศึกษาหลายเรื่องที่เกี่ยวกับการดูแลให้การศึกษากับเด็กเล็ก ชี้ให้เห็นความสำคัญต่อการประสานนโยบายการศึกษา สาธารณสุข สังคมและครอบครัว เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กทุกคนสามารถข้าถึงบริการด้านการศึกษา และสุขภาพที่มีคุณภาพ นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นปฏิสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดของนโยบายการศึกษา การอบรม ตลาดแรงงาน และสังคม เพื่อตอบสนองความต้องการการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ รวมถึงประสบการณ์ที่ประเทศต่างๆ พยายามรับมือกับความท้าทายในด้านการประสานงาน: ระหว่างกระทรวงต่างๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ต้องทำงานร่วมกัน ระหว่างลูกจ้างแรงงาน สหภาพแรงงานและองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง กับการพัฒนานโยบายระดับชาติ รวมถึงองค์กรท้องถิ่นที่เป็นผู้ให้บริการ ระหว่างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนานโยบายท้องถิ่นและโครงการปฏิบัติต่างๆ

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 451614เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2011 13:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เนื้อหาน่าสนใจ มีประโยชน์เป็นอย่างมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท