การประเมินโครงการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน


สัมพันธ์ชุมชน

นางไพผกา  ผิวดำ.  (2553).  การประเมินโครงการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน

โรงเรียนวัดโพธิ์แตงใต้ “ปัญญานุวัตรวิทยา”.

 

บทคัดย่อ 

การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินโครงการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียน    กับชุมชน โรงเรียนวัดโพธิ์แตงใต้ “ปัญญานุวัตรวิทยา”  ด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น         ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model ประชากรที่ใช้ประเมิน ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 7 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน นักเรียน จำนวน 33 คน และผู้ปกครอง จำนวน 71 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 118 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 3 ฉบับ มีค่าความเชื่อมั่นฉบับที่ 1 เท่ากับ 0.90 และ 0.91 ค่าความเชื่อมั่นฉบับที่ 2 เท่ากับ 0.92 ค่าความเชื่อมั่นฉบับที่ 3 เท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                ผลการประเมินโครงการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน โรงเรียนวัดโพธิ์แตงใต้ “ปัญญานุวัตรวิทยา” พบว่า

                1.  การประเมินด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ พบว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเห็นเกี่ยวกับโครงการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน โรงเรียนวัดโพธิ์แตงใต้ “ปัญญานุวัตรวิทยา”  ด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ โดยรวมมีความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีความสอดคล้อง         อันดับหนึ่ง มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน 2 รายการ คือ วัตถุประสงคของโครงการมีความสอดคล้องกับนโยบาย ของโรงเรียน และเป้าหมายของโครงการก่อให้เกิดประโยชน์ต่อนักเรียน รองลงมา คือ ผู้บริหาร ครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน และอันดับสุดท้าย คือ กิจกรรมในโครงการมีความเหมาะสมสอดคลองกับวัตถุประสงค์                      

        2.  การประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ พบว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเห็นเกี่ยวกับโครงการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน โรงเรียนวัดโพธิ์แตงใต้ “ปัญญานุวัตรวิทยา” ด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ โดยรวมมีความพร้อมของปัจจัยเบื้องต้นอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มี ความเหมาะสมอันดับหนึ่ง คือ แผนงาน/โครงการมีความเหมาะสม รองลงมา คือ กำหนดตัวบุคคลผู้รับผิดชอบแต่ละกิจกรรมไว้อย่างชัดเจน และอันดับสุดท้าย  คือ บุคลากรในการดําเนินโครงการมีความเหมาะสม

                3. การประเมินด้านกระบวนการของโครงการ  พบว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้ปกครอง มีความเห็นเกี่ยวกับโครงการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน โรงเรียนวัดโพธิ์แตงใต้ “ปัญญานุวัตรวิทยา”  ด้านกระบวนการของโครงการ โดยรวมมีความเหมาะสม  ของการดำเนินงานจัดกิจกรรมอยู่ในระดับมาก และในแต่ละกิจกรรม มีดังนี้

3.1 กิจกรรมการให้บริการชุมชน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ระดับการปฏิบัติอันดับหนึ่ง คือ การให้ชุมชนเข้ามาใช้อาคารสถานที่ เช่น ห้องประชุม สนามกีฬา  รองลงมา คือ การให้ชุมชนได้ยืมวัสดุ อุปกรณ์ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เครื่องขยายเสียง และอันดับสุดท้าย คือ การร่วมมือกับหน่วยงานสาธารณสุขเพื่อจัดบริการด้านสุขภาพอนามัยแก่ชุมชน

                     3.2 กิจกรรมการรับความช่วยเหลือสนับสนุนจากชุมชน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ระดับการปฏิบัติ อันดับหนึ่ง คือ การเชิญบุคคลในท้องถิ่นที่มีความรู้ ความสามารถในด้านต่าง ๆ มาเป็นวิทยากรให้แก่นักเรียน รองลงมา คือ การขอความช่วยเหลือสนับสนุนจากชุมชนในด้านครูอัตราจ้าง และอันดับสุดท้าย คือ การขอความช่วยเหลือสนับสนุนจากชุมชน ในด้านของขวัญ ของรางวัลเพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน

                     3.3 กิจกรรมการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนและหน่วยงานอื่น โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ระดับการปฏิบัติอันดับหนึ่ง คือ การเข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีในชุมชน เช่น งานบวชนาค ประเพณีทอดกฐิน รองลงมา คือ การประสานงานกับชุมชนและหน่วยงานอื่นโดยการเชิญเข้าร่วมกิจกรรมของโรงเรียน เช่น วันแจกประกาศนียบัตรนักเรียนที่จบการศึกษา วันแม่ วันเด็ก และอันดับสุดท้าย คือ การเข้าร่วมกิจกรรมด้านศาสนากับชุมชน  เช่น วันเข้าพรรษา วันพระ

3.4 กิจกรรมการประชาสัมพันธ์โรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ระดับการปฏิบัติอันดับหนึ่ง คือ การประชุมผู้ปกครองนักเรียนเพื่อชี้แจงนโยบายและความก้าวหน้า องโรงเรียน รองลงมา คือ การไปพบปะเยี่ยมเยียนชุมชน ผู้ปกครองนักเรียนตลอดจนบุคคลสำคัญ ในท้องถิ่น และอันดับสุดท้าย คือ การจัดทำเอกสารหรือสิ่งพิมพ์เผยแพร่ข่าวสารและกิจกรรม ของโรงเรียน 

                4. การประเมินด้านผลผลิตของโครงการ พบว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน และผู้ปกครอง มีความเห็นเกี่ยวกับโครงการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนโรงเรียน วัดโพธิ์แตงใต้ “ปัญญานุวัตรวิทยา”  ด้านผลผลิตของโครงการโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยผลผลิต ของโครงการในแต่ละด้าน มีดังนี้                                                 

4.1 ผลผลิตด้านนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ระดับความสำเร็จอันดับหนึ่ง คือ นักเรียนได้เรียนรู้จากวิทยากรด้วยวิธีการที่หลากหลาย รองลงมา คือ  นักเรียนได้รับการพัฒนาความสามารถด้านดนตรีไทย และอันดับสุดท้าย คือ นักเรียนได้รับการพัฒนาความสามารถด้านวิชาการ

4.2 ผลผลิตด้านครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ระดับความสำเร็จอันดับหนึ่ง คือ ครูเป็นที่ยอมรับของชุมชน รองลงมา คือ ครูช่วยกันจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ให้นักเรียน และอันดับสุดท้าย คือ ครูจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ให้นักเรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย

4.3 ผลผลิตด้านโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ระดับความสำเร็จอันดับหนึ่ง คือ โรงเรียนได้รับการสนับสนุนงบประมาณเป็นค่าจ้างครูอัตราจ้างจากชุมชนรองลงมา คือ โรงเรียนได้รับการสนับสนุนวิทยากรมาช่วยจัดการเรียนรู้ให้นักเรียน และอันดับสุดท้าย คือ โรงเรียนได้รับการสนับสนุนแรงงานจากชุมชน

4.4 ผลผลิตด้านชุมชน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ระดับความสำเร็จอันดับหนึ่ง คือ ชุมชนมีความเข้าใจอันดีต่อโรงเรียน รองลงมา คือ ชุมชนทราบข่าว และความเคลื่อนไหวของโรงเรียน และอันดับสุดท้าย คือ ชุมชนพอใจกับการจัดการศึกษาของโรงเรียน

 

               

 

คำสำคัญ (Tags): #โรงเรียน ชุมชน
หมายเลขบันทึก: 451544เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2011 23:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท