ตอนหนึ่ง BioMED Cluster and “ASEAN Harmonization 2015”


แม้ตลาดจะกว้างขึ้น มีโอกาสรับการลงทุนจากต่างประเทศ แต่ก็ต้องเผชิญกับการแข่งขันจากประเทศเพื่อนบ้านด้วยกัน

วันนี้ 27 ก.ค. 54 มีโอกาสร่วมประชุม “การพัฒนาเครือข่ายอุตสาหกรรมวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์และเครื่องมือด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ” จัดโดย คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม วุฒิสภา ร่วมกับอีกหลายหน่วยงาน ณ  โรงแรมโกลเด้น ทิวลิป ซอฟเฟอริน   วัตถุประสงค์ตามโครงการคือ ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในรูปเครือข่าย SMEs และเชื่อมโยงกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์  (BioMED Cluster) โดยมองถึงบริบท “ASEAN Harmonization 2015” ที่แม้ตลาดจะกว้างขึ้น มีโอกาสรับการลงทุนจากต่างประเทศ แต่ก็ต้องเผชิญกับการแข่งขันจากประเทศเพื่อนบ้านด้วยกัน 

เนื้อหาบันทึกนี้เป็นการเก็บความมาเล่าต่อโดยสรุป  ผู้ที่สนใจเนื้อหาของวิทยากรแต่ละท่านอย่างจริงจัง ลองดูที่ homepage ของหน่วยงานผู้จัด

  • ด้านโครงสร้าง ขณะนี้มีคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ (กระทรวงอุตสาหกรรม) ส่วนสำนักงาน คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติมีแผนสนับสนุนทุนวิจัยด้านเครื่องมือแพทย์และสาธารณสุข, เชื่อมโยงคณะกรรมการการวิจัยในคน (EC) 34 สถาบันโดยสามารถใช้ผลการพิจารณาร่วมกันได้ และจัดตั้ง primate center ที่สระบุรีสำหรับการวิจัยในลิงหลังจากผ่านการทดลองในสัตว์เล็กแล้ว
  • ในภาพรวม  เรานำเข้ามากกว่าส่งออก   สำหรับที่ผลิตซื้อขายในประเทศ
    (ข้อมูลปี 2552) ที่เป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ consumable products (23.1%), diagnostic (22.6%), orthopedic (15.5%) และ dental (5.3%)
  • ส่วนที่ต้องมีการพัฒนาเพิ่มเติม:  1) ด้านการผลิตและจำหน่ายได้แก่ ภาคธุรกิจ (นักประดิษฐ์) และภาคการผลิต (ผู้ประกอบการและโรงงาน)            2) ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนได้แก่ สถาบันวิชาการ (ออกแบบและบริการด้านวิชาการ/วิจัย) และหน่วยงานภาครัฐ (ประสานให้เบ็ดเสร็จครบวงจรจนได้รับการรับรอง) เช่น คณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมวัสดุอุปกรณ์การแพทย์ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
    3) ด้านการกำกับได้แก่ สถานทดสอบเพื่อการรับรอง และ อ.ย. (การออกใบรับรอง)

สำหรับหน่วยงานที่เป็น regulator หลักคือ อ.ย. ก็ต้องรับมือกับวัสดุ/เครื่องมือจากต่างประเทศหรือจากการลงทุนในประเทศของต่างชาติที่มีโอกาสไหลบ่าเข้ามามากขึ้นกว่าที่มากอยู่แล้วในปัจจุบัน ซึ่งก็เป็นการคุ้มครองผู้บริโภคในขณะเดียวกันด้วย    เครื่องมือสำคัญของ อ.ย. คือ พ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551  และจะต้องจัดทำและประกาศมาตรฐานเครื่องมือแพทย์แต่ละประเภทและพัฒนาระบบการรับรอง (Certification) เพื่อรองรับ ASEAN Medical Device Directives (AMDD) ซึ่งแต่ละประเทศจะต้องนำมาใช้ในภายในสิ้นปี 2557   (ต่อตอน 2)



ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท