ผู้นำที่ชอบที่สุด


พระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

 

    

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระราชสมภพ เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 5 ขึ้น 15 ค่ำ ปีขาล ฉศก จุลศักราช 1096 ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2277 ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา มีพระนามเดิมว่า สิน พระราชบิดาเป็นชาวจีนชื่อนายไหฮอง หรือ หยง แซ่แต้ เป็นนายอากรบ่อนเบี้ย มีบรรดาศักดิ์เป็นขุนพัฒน์ พระราชชนนีชื่อนางนกเอี้ยง (ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็น กรมพระเทพามาตย์) ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้กับจวนเจ้าพระยาจักรีที่สมุหนายก

เมื่อยังทรงพระเยาว์เจ้าพระยาจักรีได้ขอสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชไปเลี้ยงเป็น บุตรบุญธรรม และได้ตั้งชื่อพระองค์ท่านว่า สิน พอนายสินอายุได้ 9 ขวบ เจ้าพระยาจักรีก็นำไปฝากให้เล่าเรียนหนังสืออยู่ในสำนักของพระอาจารย์ทองดี วัดโกษาวาส ครั้นอายุได้ 13 ปี เจ้าพระยาจักรีได้นำนายสินเข้าถวายตัวรับราชการเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวบรมโกศ ตามประเพณีของการรับราชการในสมัยนั้น

ในระหว่างรับราชการเป็นมหาดเล็กนายสินได้พยายามศึกษาหาความรู้ทางด้านภาษาต่าง ประเทศหลายภาษา มีภาษาจีน ภาษาญวน และภาษาแขก จนสามารถพูดได้สามภาษาอย่างชำนิชำนาญ

ครั้นนายสินอายุได้ 21 ปี เจ้าพระยาจักรีได้ประกอบการอุปสมบทนายสินเป็นพระภิกษุสงฆ์อยู่ในสำนัก อาจารย์ทองดี ณ วัดโกษาวาส ( ปัจจุบันคือวัดเชิงท่า )

นายสินอุปสมบทอยู่ 3 พรรษา แล้วก็ลาสิกขาบทกลับมาเข้ารับราชการตามเดิม พ.ศ. 2301 สมเด็จพระบรมราชาที่ 3 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้นายสินมหาดเล็กรายงานเป็นข้าหลวงเชิญท้องตราพระราชสีห์ขึ้นไปชำระความหัวเมืองฝ่ายเหนือ ซึ่งนายสินได้ปฏิบัติราชการด้วยความวิริยะอุตสาหะและมีความดีความชอบมาก จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองตาก ช่วยราชการอยู่กับพระยาตาก ครั้นเมื่อพระยาตากถึงแก่กรรมลงก็ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้เลื่อนหลวงยกกระบัตร (สิน) เป็นพระยาตาก ปกครองเมืองตากแทน


พ.ศ. 2308 พระยาตาก (สิน) ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เข้ามาช่วยราชการสงครามเพื่อป้องกันพม่าในกรุงศรีอยุธยา พระยาตาก (สิน) มีฝีมือการรบป้องกันพระนครอย่างเข้มแข็งมีความดีความชอบมาก จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็น พระยาวชิรปราการ (สิน) สำเร็จราชการเมืองกำแพงเพชรแทนเจ้าเมืองเดิมที่ถึงแก่กรรม


พ.ศ. 2310 กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในเดือนเมษายน พระยาตากก็สามารถกอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนได้ แล้วก็คิดจะปฏิสังขรณ์กรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานีใหม่ แต่เมื่อได้ตรวจความเสียหายแล้วเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาได้รับความเสียหายเป็น อันมากยากที่จะบูรณะให้เหมือนดังเดิมได้ และประกอบกับรี้พลของเจ้าตากมีไม่พอที่จะรักษากรุงศรีอยุธยาที่เป็นเมือง ใหญ่ได้ จึงเลือกเมืองธนบุรีเป็นราชธานี และได้อพยพผู้คนลงมาตั้งมั่นที่เมืองธนบุรี

เจ้า ตากทรงทำพิธีปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ครองกรุงธนบุรี เมื่อวันพุธ เดือนอ้าย แรม 4 ค่ำ จุลศักราช 1130 ปีชวด สัมฤทธิศก ตรงกับวันที่ 28 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2311 ขณะมีพระชนมายุได้ 34 พรรษา ทรงนามว่า สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 แต่ประชาชนทั่วไปยังนิยมขนานพระนามพระองค์ว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

 


สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดากับสมเด็จพระอัครมเหษี กรมหลวงบาทบริจา และกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ รวมทั้งพระสนมต่าง ๆ รวมทั้งสิน 29 พระองค์

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสด็จสวรรคต เมื่อวันเสาร์ เดือน 5 แรม 9 ค่ำ จ.ศ. 1144 ปีขาล ตรงกับวันที่ 6 เมษายน 2325 พระชนมายุ 48 พรรษา รวมสิริราชสมบัติ 15 ปี
 
พระราชกรณียกิจ
 
ด้านการปกครอง ยังคงใช้ระบบการปกครองแบบกรุงศรีอยุธยา ส่วนด้านกฎหมาย เมื่อครั้งกรุงแตก กฎหมายบ้านเมืองกระจัดกระจายหายสูญไปมาก จึงโปรดให้ทำการสืบเสาะค้นหามารวบรวมไว้ได้ประมาณ 1 ใน 10 และโปรดให้ชำระกฎหมายเหล่านั้น ฉบับใดยังเหมาะแก่กาลสมัยก็โปรดให้คงไว้ และเป็นการแก้ไขเพื่อให้ราษฎรได้รับผลประโยชน์มากขึ้น เช่น โปรดให้แก้ไขกฎหมายว่าด้วยการพนัน ให้อำนาจการตัดสินลงโทษขึ้นแก่ศาลแทนนายตราสิทธิขาด และยังห้ามนายตรา นายบ่อนออกเงินทดรองให้ผู้เล่น เกาะกุม ผูกมัด จำจอง เร่งรัดผู้เล่น กฎหมายพิกัดภาษีอากรเกือบไม่มี เพราะผลประโยชน์แผ่นดินได้จากการค้าสำเภามากพอแล้ว กฎหมายว่าด้วยการจุกช่องล้อมวง ก็ยังไม่ตราขึ้น เปิดโอกาสให้ราษฎรได้เฝ้าตามรายทาง โดยไม่ต้องมีพนักงานตำรวจแม่นปืนคอยยิงราษฎร ซึ่งแม้แต่ชาวต่างประเทศก็ยังชื่นชมในพระราชอัธยาศัยนี้
ใน ชั้นศาล ก็ไม่โปรดให้อรรถคดีคั่งค้าง แม้ยามศึก หากคู่ความไม่ได้เข้ากองทัพหรือประจำราชการต่างเมือง ก็โปรดให้ดำเนินการพิจารณาคดีไปตามปกติ ทั้งในการฟ้องร้อง ยังโปรดให้โจทย์หาหมอความแต่งฟ้องได้เช่นเดียวกับปัจจุบันอีกด้วย วิธีพิจารณาคดีในสมัยนั้นสะท้อนให้เห็นได้แจ่มชัด ในบทละครรามเกียรติ์ตอนท้าวมาลีวราชพิพากษาความ พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี
ด้านการทหาร ทรงรวบรวมคนไทยที่แบ่งเป็นก๊กเป็นเหล่า 5 ก๊ก และปราบปรามก๊กต่าง ๆ ทำสงครามกับพม่า ขยายพระราชอาณาเขตไปยังหลวงพระบาง เวียงจันทน์ และกัมพูชา

ด้านเศรษฐกิจ เนื่องในสมัยกรุงธนบุรี เป็นระยะเวลาที่สร้างบ้านเมืองกันใหม่ การค้าเจริญรุ่งเรืองทั้งของหลวงและของราษฎร สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงทำนุบำรุงการค้าขายทางเรืออย่างเต็มที่ ทรงแต่งสำเภาหลวงออกไปค้าขายทางด้านตะวันออกไปถึงเมืองจีน ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือถึงอินเดียตอนใต้ ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการค้าของหลวงช่วยบรรเทาภาระภาษีของราษฎรไปได้มาก
สมเด็จ พระเจ้าตากสิน ฯ ทรงส่งเสริมการนำสินค้าพื้นเมืองไปขายทางเรือ ซึ่งอำนวยผลประโยชน์อย่างใหญ่หลวงต่องานสร้างชาติ ทำให้ราษฎรมีงานทำ มีรายได้ ทั้งยังฝึกให้คนไทยเชี่ยวชาญการค้าขาย ป้องกันมิให้การค้าตกไปอยู่ในมือต่างชาติ

ด้านการคมนาคม ใน ยามว่างจากศึกสงคราม จะโปรดให้ตัดถนนและขุดคลองมากขึ้น เพื่อประโยชน์ในทางค้าขาย ทรงยกเลิกความคิดแนวเก่าที่ว่าหากถนนหนทาง การคมนาคมมีมากแล้ว จะเป็นการอำนวยความสะดวกให้ข้าศึกศัตรู และพวกก่อการจลาจล แต่กลับทรงเห็นประโยชน์ในทางค้าขายมากกว่า ดังนั้นในฤดูหนาวหากว่างจากศึกสงคราม ก็จะโปรดให้ตัดถนน และขุดคลอง จะเห็นได้จากแนวถนนเก่า ๆ ในเขตธนบุรี ซึ่งมีอยู่มากสาย ส่วนการขุดชำระคลองมักมีวัตถุประสงค์เบื้องต้นเพื่อประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ เช่น คลองท่าขามจากนครศรีธรรมราชไปออกทะเล เป็นต้น

ด้านศิลปกรรม ใน สมัยนี้ แม้สมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรีจะมีการงานศึกสงครามแทบจะมิได้ว่างเว้นก็ ตาม แต่ก็ทรงหาโอกาสฟื้นฟู และบำรุงศิลปกรรมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทางด้านนาฏดุริยางค์ และวรรณกรรม ด้านนาฏดุริยางค์โปรดให้ฟื้นฟูอย่างเต็มที่ เพื่อสร้างบรรยากาศที่รื่นเริงครึกครื้นเหมือนครั้งกรุงเก่านับเป็นวิธี บำรุงขวัญที่ใกล้ตัวราษฎรที่สุด พระราชทานโอกาสให้ประชาชนทั่วไป เปิดการสอนและออกโรงเล่นได้โดยอิสระ เครื่องแต่งกายไม่ว่าจะเป็นเครื่องต้นเครื่องทรงก็แต่งกันได้ตามลักษณะ เรื่อง แม้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเองก็คงจะทรงสนพระทัยในกิจการด้านนี้มิใช่น้อย ด้วยมักจะโปรดให้มีละครและการละเล่นอย่างมโหฬารในงานสมโภชอยู่เนือง ๆ

    สมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี ทรงพระราชนิพนธ์บทละครรามเกียรติ์ไว้ 4 เล่ม สมุดไทยแบ่งเป็นตอนไว้ 4 ตอน คือ

  •     เล่ม 1 ตอนพระมงกุฎ
  •     เล่ม 2 ตอนหนุมานเกี้ยววานรินจนท้าวมาลีวราชมา
  •     เล่ม 3 ตอนท้าวมาลีวราชพิพากษา จนทศกรรฐ์เข้าเมือง
  •     เล่ม 4 ตอนทศกรรฐ์ตั้งพิธีทรายกรด, พระลักษณ์ต้องหอกกบิลพัสตร์ จนผูกผมทศกรรฐ์กับนางมณโฑ


ด้านการช่าง โปรดให้รวบรวมช่างฝีมือ และให้ฝึกงานช่างทุกแผนกเท่าที่มีครูสอน เช่น ช่างต่อเรือ ช่างก่อสร้าง ช่างรัก ช่างประดับ ช่างเขียน เป็นต้น สำหรับงานช่างต่อเรือได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะเป็นยุคที่มีการต่อเรือรบ และเรือสำเภาค้าขายเป็นจำนวนมากมาย ช่างสมัยกรุง ด้านการศึกษา ในสมัยนั้นวัดเป็นแหล่งที่ให้การศึกษา จึงโปรดให้บำรุงการศึกษาตามวัดต่างๆ และโปรดให้ตั้งหอหนังสือหลวงขึ้นเช่นเดียวกันกับสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งคงจะเทียบได้กับหอพระสมุดในระยะหลัง ส่วนตำรับตำราที่กระจัดกระจายไปเมื่อคราวกรุงแตก ก็โปรดให้สืบเสาะหามาจำลองไว้เป็นแบบฉบับ สำหรับผู้สนใจอาศัยคัดลอกกันต่อ ๆ ไป และที่แต่งใหม่ก็มี

ด้านการศาสนา โปรด ให้ปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่าง ๆ ที่รกร้างปรักหักพังตั้งแต่ครั้งพม่าเข้าเผาผลาญทำลายและกวาดต้อนทรัพย์สิน ไปพม่า แล้วโปรดให้อาราธนาพระภิกษุสงฆ์เข้าจำวัดต่าง ๆ ส่วนพระไตรปิฎกยังเหลือตกค้างอยู่ที่ใด ก็โปรดให้คัดลอกสร้างเป็นฉบับหลวง แล้วส่งคืนกลับไปที่เดิม
ด้านการศึกสงคราม

 

“เราจะตีเมืองจันทบุรีในค่ำ วันนี้ เมื่อกองทัพหุงข้าวเย็นกินเสร็จแล้วทั้งนายไพร่ให้เททิ้งอาหารที่เหลือและ ต่อยหม้อเสียให้หมด หมายไปกินข้าวเช้าด้วยกันที่ในเมืองเอาพรุ่งนี้ ถ้าตีเอาเมืองไม่ได้ในค่ำวันนี้ก็จะได้ตายเสียด้วยกันให้หมดทีเดียว”



ยกกองทัพขึ้นไป ตีค่ายพม่าที่โพธิ์สามต้น 2 ค่าย พร้อมกันในตอนเช้า สู้รบกันจนเที่ยง เจ้าตากก็เข้าค่ายพม่าได้ สุกี้ตายในที่รบ จึงถือว่า เจ้าตากได้กอบกู้เอกราชชาติไทยกลับคืนมาได้แล้ว หลังจากที่ไทยต้องสูญเสียเอกราชในครั้งนี้เพียง 7 เดือน



การสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่นมั่นคง
 
ทรงกระทำตลอดรัชกาลของพระองค์ นับตั้งแต่การปราบปรามชาวไทยที่แบ่งเป็นก๊กต่าง ๆ การปราบปรามหัวเมืองที่กระด้างกระเดื่อง ตลอดจนการทำสงครามกับพม่าทำให้พม่าลบคำดูหมิ่นไทย เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจแก่ชาวไทยที่ยังไม่หายครั่นคร้ามพม่าได้มีกำลัง ใจดีขึ้น ดังนี้

1. การปราบปรามก๊กต่าง ๆ

  • พ.ศ.2311 ยกกองทัพไปปราบกรมหมื่นเทพพิพิธได้สำเร็จ แล้วสำเร็จโทษกรมหมื่นเทพพิพิธด้วยท่อนจันทน์ ตามประเพณี
  • พ.ศ.2312 ยกทัพบกและทัพเรือไปปราบเจ้านครศรีธรรมราชได้สำเร็จ เมืองตานี และไทรบุรี ขอยอมเข้ารวมเป็นขัณฑสีมาด้วยกัน
  • พ.ศ.2313 ยกกองทัพไปตีเมืองสวางคบุรี ขณะที่เจ้าพระฝางตีได้เมืองพิษณุโลกแล้วจึงยกกองทัพเข้าล้อมเมืองพิษณุโลก เจ้าพระฝางฝ่าแนวล้อมหนีรอดไปได้

2. การทำสงครามกับพม่า
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงทำศึกกับพม่า ถึง 9 ครั้ง แต่ละครั้งแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถของพระองค์ทางด้านยุทธศาสตร์อย่างดี เยี่ยม พร้อมด้วยน้ำพระทัยที่เด็ดเดี่ยวฉับไว การทำสงครามกับพม่าสำหรับสงครามรบพม่าที่บางแก้วเมืองราชบุรี พ.ศ. 2317 เป็นสงครามที่ทำให้พม่าครั่นคร้าม และเข็ดหลาบไม่กล้ามารุกรานไทยอีกต่อไป

 

 


3. การขยายพระราชอาณาเขตไปยังหลวงพระบางและเวียงจันทน์


พ.ศ.2321 พระเจ้านครหลวงพระบางขอสวามิภักดิ์เข้ารวมในพระราชอาณาจักร ส่วนนครเวียงจันทน์ซึ่งตกเป็นเมืองขึ้นพม่าตั้งแต่ พ.ศ.2317 ได้กระทำการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยเดินทัพเข้ามาในพระราชอาณาเขต เพื่อกำจัดพระวอเสนาบดีเมืองเวียงจันทน์ ซึ่งได้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร สมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรีจึงโปรดให้กองทัพไทยยกไปตีเมืองเวียงจันทน์ ได้ เมื่อ พ.ศ.2322 โปรดให้พระยาสุโภอยู่รักษาเมือง เมื่อเสร็จสงคราม สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ได้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฎิมากร (พระแก้วมรกต) และพระบาง จากเวียงจันทน์ มาประดิษฐาน ณ กรุงธนบุรีด้วย

4. การขยายพระราชอาณาเขตไปยังกัมพูชา

พ.ศ.2312 ทรงโปรดให้ยกกองทัพไปตีกรุงกัมพูชา เนื่องจากเจ้าเมืองกัมพูชาไม่ยอมส่งเครื่องราชบรรณาการดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง ตามราชประเพณีที่เคยปฏิบัติมา ทัพไทยตีได้เมืองเสียมราฐ และพระตะบอง

พ.ศ. 2314 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงยกกองทัพไปตีกัมพูชาได้สำเร็จ สาเหตุจากขณะไทยทำศึกกับพม่าอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ สมเด็จพระนารายณ์ราชากษัตริย์กรุงกัมพูชาได้ถือโอกาสมาตีเมืองตราด และเมือง จันทบุรี เมื่อตีกัมพูชาได้แล้วทรงมอบให้นักองค์นนท์ปกครองต่อไป

พ.ศ.2323 กัมพูชาเกิดจลาจลแย่งชิงราชสมบัติกันเอง จึงเหลือนักองค์เอง ที่มีพระชนม์เพียง 4 พรรษา ปกครองโดยมีฟ้าทะละหะ (มู) ว่าราชการแทน และเอาใจออกห่างฝักใฝ่ญวน สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงโปรดให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และเจ้าพระยาสุรสีห์ไปปราบปราม และมีพระราชโองการให้อภิเษกสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์พระราชโอรสองค์ ใหญ่ขึ้นครองกัมพูชา ทัพไทยตีเมืองรายทางได้จนถึงเมืองบัณฑายเพชร พอดีกับกรุงธนบุรีเกิดจลาจลจึงเลิกทัพกลับ

อาณาเขตกรุงธนบุรีได้ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง ดังนี้

  • ทิศเหนือ   ตลอดอาณาจักรลานนา
  • ทิศใต้     ตลอดเมืองไทรบุรีและตรังกานู
  • ทิศตะวันออก     ตลอดกัมพูชาจดญวนใต้
  • ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ     ตลอดนครเวียงจันทน์ หัวเมืองพวน และนครหลวงพระบาง หัวพันทั้งห้าทั้งหก
  • ทิศตะวันออกเฉียงใต้     ตลอดเมืองพุทธไธมาศ
  • ทิศตะวันตก     ตลอดเมืองมะริด และตะนาวศรีออกมหาสมุทรอินเดีย

 

 

 

พระ เจ้าตากสินมหาราช ทรงเป็นผู้สร้างวีรกรรมกอบกู้แผ่นดิน ศาสนา ฟื้นฟูขวัญและกำลังใจของปวงชนที่สิ้นหวังให้รวมพลังเป็นปึกแผ่น สามารถปกป้องรักษาราชอาณาจักรไทยไว้ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่นี้ คณะรัฐมนตรีจึงให้ความเห็นชอบตามคำเรียกร้องของประชาชน ให้ถวายพระราชสมัญญานามว่า “ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ” เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2524

 

แนวทางการปฏิบัติงาน

                การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว ยอมเป็นผู้มีสติวิปลาสแต่ความจริงยอมสละความเป็นกษัตริย์เพื่อประโยชน์ของบ้านเมือง

                เปลี่ยนแปลงความเชื่อเดิมที่ว่าการทำให้ทางคมนาคมสะดวกเป็นสิ่งที่ข้าศึกเข้ามาได้ง่ายเป็นความสะดวกสำหรับการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ

                การทำศึกสงครามเป็นผู้นำที่รู้จักการวางแผนการรบที่ดีและการสร้างขวัญกำลังใจให้กับทหารในการต่อสู้เช่น การทุบหม้อข้าวก่อนรบ

คำสำคัญ (Tags): #ภาวะผู้นำ
หมายเลขบันทึก: 450886เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2011 00:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท